ธรรมของผู้ปรารถนา [6526-6t]
Listen now
Description
ธัมมราชาสูตร #ข้อ133 เปรียบเทียบการปกครองโดยธรรมของพระเจ้าจักรพรรดิกับพระศาสดา ใน กาย วาจา ใจ อาชีพ บ้านและนิคม แบบไหนควรและไม่ควรประพฤติ ยัสสังทิสังสูตร #ข้อ134 เปรียบเทียบทิศที่ใช้ประทับของกษัตริย์กับภิกษุผู้มีศีล เป็นพหูสูต ปรารภความเพียร มีปัญญา และวิมุตติที่มีธรรม 4 ประการ ไม่ว่าจะอยู่ ณ ทิศใดๆ ก็เป็นผู้มีจิตหลุดพ้น ปฐมปัตถนาสูตร #ข้อ135 โอรสผู้สืบทอดบัลลังก์ ที่มีคุณสมบัติที่ดี ย่อมปรารถนาราชสมบัติได้ เปรียบมาในภิกษุผู้มีศรัทธา อาพาธน้อย ไม่โอ้อวด ปรารภความเพียร มีปัญญา ย่อมปรารถนาความสิ้นอาสวะได้ฉันนั้นเหมือนกัน ทุติยปัตถนาสูตร #ข้อ136 เหมือน #ข้อ135 มีไส้ในที่ต่างออกมา คือ เป็นที่รักของกองทัพ เป็นบัณฑิต ในส่วนของภิกษุ คือ เป็นผู้มีศีล เป็นพหูสูต มีสติปัฏฐาน 4 อัปปังสุปติสูตร #ข้อ137 บุคคล 5 ประเภท ที่นอนน้อย ตื่นมาก คือ สตรี บุรุษ โจร (เพราะกาม) พระราชา (ทรงงาน) และภิกษุ ทำความเพียรเพื่อสิ้นอาสวะ #ข้อ138-#ข้อ140 ว่าด้วยช้างต้นที่ยังฝึกไม่สำเร็จและสำเร็จแล้ว เปรียบมาในภิกษุที่เป็นเนื้อนาบุญ ใน ภัตตาทกสูตร #ข้อ138 คือ ไม่อดทน ต่อ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อักขมสูตร #ข้อ139 เหมือน #ข้อ138 เพิ่มเติมมาคืออดทนได้ และ โสตสูตร #ข้อ140 เปรียบช้างต้นกับภิกษุ รู้ฟัง รู้ประหาร รู้รักษา รู้อดทน รู้ไป พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต คิลานวรรค ราชวรรค
More Episodes
การได้พบหรือได้ไปเยี่ยมเยียนพระสงฆ์นั้น จะเป็นทางมาแห่งกุศลบุญหลายประการ ทำให้มีโอกาสได้กราบไหว้ ถวายทานในพระสงฆ์ ได้ฟังธรรมและสอบถามธรรมะ โดยในข้อที่ #29_ทุติยปริหานิสูตร ข้อที่ #30_วิปัตติสูตร และ ข้อที่ #31_ปราภวสูตร มีนัยยะทิศทางเดียวกัน คือ...
Published 04/12/24
เมื่อเราลองพิจารณาดูธรรมทั้งหลาย (สิ่งทั้งหลาย) ที่เรารับรู้ได้นั้น ล้วนต่างอาศัยเหตุปัจจัยในการเกิดขึ้น มีอยู่ และดับไปของสิ่งเหล่านั้น เมื่อธรรมทั้งหลายไม่เที่ยงมีสภาพแปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัยจึงว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน คือตกอยู่ภายใต้กฏของ “ไตรลักษณ์” “อปริหานิยธรรม และ ปริหานิยธรรม”...
Published 04/05/24