เหตุของคำถาม และการกล่าวโจทก์ [6532-6t]
Listen now
Description
ถ้าเราทราบเหตุของคำถาม เราจะมีวิธีที่จะตอบ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ และเมื่อถูกกล่าวโจทก์เราควรตั้งอยู่ในความจริงและไม่โกรธ ปัญหาปุจฉาสูตร #ข้อ165 การถามปัญหาด้วยเหตุ 5 ประการ คือ 1. เพราะโง่เขลา 2. ถูกความปรารถนาชั่วครอบงำ 3. ดูหมิ่น 4. ประสงค์จะรู้ จึงถาม 5. ถามเพื่อที่จะทำคำตอบให้ชัดเจน ให้เราเลือกใช้วิธีตอบปัญหาพยากรณ์ 4 อย่างของพระพุทธเจ้า นิโรธสูตร #ข้อ166 ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวถึง ผู้ที่ถึงพร้อมด้วย ศีล สมาธิ ปํญญา และฌาน 9 ถ้าไม่ได้อรหัตผลในปัจจุบัน ก็เป็นไปได้ที่จะเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นกามภพ แต่ถูกท่านพระอุทายีคัดค้านถึง 2 วาระ (6 ครั้ง) พระพุทธเจ้าท่านทรงมารับรองคำของท่านพระสารีบุตร แล้วกล่าวกับพระอานนท์ว่า “ทำไมถึงปล่อยให้พระเถระถูกเบียดเบียน” เป็นเหตุให้ได้กล่าวถามธรรมกับท่านอุปวานะ ถึงธรรมที่เป็นที่รักเคารพ คือ เป็นผู้มีศีล เป็นพหูสูต มีวาจางาม ได้ฌาน 4 มีเจโตและปัญญาวิมุตติ โจทนาสูตร #ข้อ167 ผู้ประสงค์จะโจทก์ผู้อื่น ควรกล่าวในกาลอันควร กล่าวถ้อยคำจริง อ่อนหวาน ประกอบด้วยประโยชน์ มีเมตตาจิตไม่เพ่งโทษกล่าว พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อาฆาตวรรค
More Episodes
การได้พบหรือได้ไปเยี่ยมเยียนพระสงฆ์นั้น จะเป็นทางมาแห่งกุศลบุญหลายประการ ทำให้มีโอกาสได้กราบไหว้ ถวายทานในพระสงฆ์ ได้ฟังธรรมและสอบถามธรรมะ โดยในข้อที่ #29_ทุติยปริหานิสูตร ข้อที่ #30_วิปัตติสูตร และ ข้อที่ #31_ปราภวสูตร มีนัยยะทิศทางเดียวกัน คือ...
Published 04/12/24
เมื่อเราลองพิจารณาดูธรรมทั้งหลาย (สิ่งทั้งหลาย) ที่เรารับรู้ได้นั้น ล้วนต่างอาศัยเหตุปัจจัยในการเกิดขึ้น มีอยู่ และดับไปของสิ่งเหล่านั้น เมื่อธรรมทั้งหลายไม่เที่ยงมีสภาพแปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัยจึงว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน คือตกอยู่ภายใต้กฏของ “ไตรลักษณ์” “อปริหานิยธรรม และ ปริหานิยธรรม”...
Published 04/05/24