35 episodes

ธรรมละนิด

ธรรมละนิ‪ด‬ พระอาจารย์ชยสาโร

    • Religion & Spirituality

ธรรมละนิด

    ธรรมละนิด : ธรรมะของนักการเมือง

    ธรรมละนิด : ธรรมะของนักการเมือง

    นักการเมืองควรจะปฏิบัติตามธรรมะหมวดใด จึงจะช่วยให้บ้านเมืองสงบสุข?


    มันไม่มีนักการเมือง มันไม่มี มันมีแต่มนุษย์ คนที่เป็นนักการเมืองในชีวิตของเขา ช่วงหนึ่ง หรือหลายช่วง หลายปี เขาก็ไม่แตกต่างจากคนอื่นเท่าไหร่ เขาก็มีกิเลสเหมือนคนอื่น


    ฉะนั้นในทางพุทธธรรม ก็ถือว่า ทาน ศีล ภาวนา หรือว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นหลักดำเนินชีวิตที่เหมาะสมกับคนทุกคน เพียงแต่ว่าในอาชีพไหน หรือว่าในบริบทไหนที่ใครมีอำนาจ อำนาจเป็นยาเสพติดที่น่ากลัว แล้วก็ต้องมีการป้องกัน การควบคุมการใช้อำนาจ ไม่ให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อน เพราะว่าเมื่อมีอำนาจผู้ที่ขาดธรรมะอยู่ในใจมักจะหลง พอหลงแล้วก็ทำให้เกิดปัญหาได้มากมายก่ายกอง


    ฉะนั้นนักการเมืองก็เป็นคน ก็ไม่ต่างกับคนอื่นเท่าไหร่ เพียงแต่ว่าเขาอยู่ในที่เขาสามารถสร้างประโยชน์ และสร้างสิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์กับคนอื่นมาก เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ที่ต้องมีการกลั่นกรอง หรือว่ามีมาตรฐาน ที่จะป้องกันปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นให้มากที่สุด


    ทั้งๆที่เราก็ต้องยอมรับว่าไม่มีระบบการปกครองที่ไหน ที่จะป้องกันไม่ให้มีคนเอาเปรียบ แต่เราพยายามให้สร้างระบบที่ให้มีปัญหาให้น้อยที่สุด แล้วก็มีการให้เกียรติ ให้กำลังใจ ให้รางวัล กับคนที่ทำงานเพื่อประเทศชาติให้มากที่สุด หรือว่ามันไม่มีดีจริงนี่ก็ทำให้มีความเลวให้น้อยที่สุด


    พระอาจารย์ชยสาโร

    • 3 min
    ธรรมละนิด : กำลังใจในการปฏิบัติ

    ธรรมละนิด : กำลังใจในการปฏิบัติ

    หากมีงานหรือภาระหน้าที่มาก ไม่สามารถปลีกตัวไปปฏิบัติธรรมในรูปแบบต่อเนื่องนานๆ ได้ หรือถ้ามีโอกาสปฏิบัติก็ฟุ้งซ่าน ไม่สามารถเข้าสมาธิได้ จะมีวิธีให้กำลังใจตัวเองอย่างไรให้ไม่เลิกปฏิบัติไปเสียก่อน?


    การปฏิบัติธรรมไม่ได้จำกัดอยู่ที่อิริยาบถหรือสถานที่ การนั่งสมาธิ การเดินจงกรม คือ การปฏิบัติในรูปแบบที่เราสามารถจัดสรรสิ่งแวดล้อมให้เอื้อที่สุดต่อการภาวนา แต่ในชีวิตประจำวันเราต้องฉลาด เราต้องเก่งในการปรับการปฏิบัติให้เหมาะสมกับบริบท กับสิ่งแวดล้อม กับภาระหน้าที่ของเรา โดยถือหลักสัมมาวายามะ ความเพียรชอบ คือ ดูแลกาย ดูแลใจ ในลักษณะที่ไม่ให้หรือว่าป้องกันไม่ให้สิ่งที่เป็นบาปเป็นอกุศลได้ครอบงำจิตใจ หรือว่าถ้าเผลอไปมันครอบงำไปแล้วก็ปฏิบัติในการปล่อยวาง เป็นโอกาสเสริมสร้างคุณงามความดีที่ยังไม่มีหรือมีน้อยให้เจริญงอกงาม อย่างเช่นการถือว่า โอ้นี่... โอกาสนี้มันจะสงบระงับเหมือนนั่งสมาธิไม่ได้แน่นอน แต่เป็นโอกาสฝึกสัมมาวาจา ฝึกสิ่งที่เป็นจริง เป็นประโยชน์ถูกกาลเทศะ พูดด้วยความสุภาพอ่อนน้อมอย่างมีเมตตาหวังดีต่อเขา เป็นต้น


    ถือว่าการปฏิบัติธรรมในรูปแบบก็มีโอกาสอยู่บ้าง ทำในรูปแบบอยู่ที่บ้าน แต่ในชีวิตประจำวันเราต้องฝึกในการปรับการปฏิบัติให้เหมาะสม เพื่อจะมีความรู้สึกว่าต่อเนื่อง สมมุติว่าเราได้ทำสมาธิตอนเช้า ตอนเย็น ตอนกลางวัน ต้องมีความรู้สึกว่ามันต่อเนื่อง ไม่ใช่ว่ามานั่งตอนเย็นมันเริ่มต้นจากศูนย์ ก็ควรจะมีสติรู้กาย รู้ใจ ระมัดระวัง ถ้าจิตฟุ้งซ่านวุ่นวายก็เป็นสัญญาณบอกว่า เราไม่ได้ดูแลจิตใจเท่าที่ควร ไม่ได้สำรวม บางทีก็อ่านฟังอะไรที่มันไร้สาระมากเกินไป มันก็ธรร

    • 3 min
    ธรรมละนิด : คนดี

    ธรรมละนิด : คนดี

    คนดีในความหมายของพุทธศาสนาคืออะไร?

    ที่จริงแล้วไม่ค่อยอยากใช้คำว่า 'คนดี' เพราะว่า 'ความดี' ก็มีเกิดขึ้น ดับไป วันหนึ่งหลายครั้ง อาจจะมี 'ความไม่ดี' เกิดขึ้น ดับไป วันหนึ่งหลายครั้ง ในแต่ละคน เพราะฉะนั้นอาจจะบอกว่า ชาวพุทธเราพยายามให้มีความดีมากขึ้นๆ ให้ความไม่ดีน้อยลงๆ

    อย่างไรก็ตามคำว่า 'ดี' จะเข้าใจความหมาย ในเมื่อโยงไปถึงสิ่งที่เราถือว่าดีที่สุด มันอาจจะสับสนเหมือนอย่างที่เขาบอกว่า ทุกศาสนาหรือว่าทุกลัทธิสอนให้เราดี นี่มันแปลว่าอะไร มันคืออะไร เพราะว่าในความดีของแต่ละลัทธิแต่ละศาสนา มันไม่ใช่ว่าจะตรงกันทีเดียว มีบางส่วนที่ตรงกัน บางส่วนที่ไม่ตรงกัน

    บางสิ่งที่บางศาสนาสอนว่าดี ชาวพุทธเราอาจจะไม่ยอมรับว่าดี แล้วบางสิ่งบางอย่างที่ชาวพุทธเราว่าดี บางศาสนาอาจจะไม่ถือว่าดีก็ได้ ฉะนั้นเราจะเข้าใจคำว่าดี โยงไปถึงดีที่สุด ดีที่สุดของเราก็คือ ไม่มีโลภ ไม่มีโกรธ ไม่มีหลง ดีที่สุดของเราคือถึงพร้อมด้วยปัญญา ด้วยความเมตตากรุณา ด้วยความบริสุทธิ์

    ฉะนั้นในความดีของเรา เราทำอะไร พูดอะไร คิดอะไร ที่ทำให้สิ่งไม่ดีในจิตใจเราน้อยลง เรียกว่าดี ที่ทำให้เรามีปัญญามากขึ้น มีความเมตตากรุณามากขึ้นเป็นนิสัย ละจากกิเลสมากขึ้น ก็ถือว่าดี ก็สรุป ดีคือสิ่งที่เอื้อต่อสิ่งที่ดีที่สุด

    พระอาจารย์ชยสาโร

    • 2 min
    ธรรมละนิด : อานิสงค์ ศีล ๘

    ธรรมละนิด : อานิสงค์ ศีล ๘

    อานิสงส์ของศีล ๘ คืออะไร?

    อานิสงส์แปลว่า ข้อดี หรือว่าประโยชน์ ถ้าเราเปรียบเทียบระหว่างศีล ๕ ศีล ๘ จะสังเกตว่า ศีล ๕ เกี่ยวกับความดีความชั่วโดยตรง ศีล ๘ นี่ท่านเพิ่มจาก ๕ เป็น ๘ โดยเปลี่ยนข้อ ๓ เป็น อพฺรหฺมจริยา นั้น ก็ไม่ได้มุ่งที่จะป้องกันความชั่วโดยตรง อย่างเช่น การทานอาหารหลังเที่ยง ก็ไม่ได้เกี่ยวกับความดีความชั่ว แต่เหตุผลของการเพิ่มจากศีล ๕ เป็น ศีล ๘ ก็เพื่อเอื้อต่อการภาวนา เอื้อต่อการปฏิบัติ เพราะเป็นศีลของผู้ออกจากเรือน

    ฉะนั้นเราถือว่าเราเป็น อนาคาริก อนาคาริกา ผู้ออกจากเรือนชั่วคราว ถ้าวันพระเราถือศีล ๘ ก็มีเวลาที่จะไม่ต้องยุ่งกับการทำกับข้าว การกินข้าว การย่อยอาหาร มีเวลาอ่านหนังสือธรรมะ ฟังธรรมะ นั่งสมาธิ เดินจงกรม ซึ่งในวันธรรมดาอาจจะไม่ค่อยมีเวลา ไม่ได้ฟังเพลง ไม่ได้ดูข่าว ไม่ได้เล่นไลน์ คืองดจากสิ่งเหล่านี้ เพื่อจิตจะไม่ฟุ้งซ่าน เพื่อเราจะมีเวลาปฏิบัติธรรมมากขึ้น

    ทีนี้พระพุทธองค์ก็เคยตรัสไว้ว่า ผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้ว จิตใจหลุดพ้นแล้ว จะรักษาศีล ๘ ข้อนี้ โดยธรรมชาติ คือไม่มีเจตนางดเว้น แต่ว่าจิตใจของท่านไม่มีความคิดที่จะละเมิดเลยใน ๘ ข้อ เพราะฉะนั้นเราอาจจะเรียกได้ว่า การถือศีล ๘ นี้เหมือนกับเป็นการฝึกซ้อมเป็นพระอรหันต์ หรือว่าเป็นพระอริยเจ้า เพราะด้วยกาย ด้วยวาจา เรากำลังประพฤติตัวเหมือนผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ก็เป็นการทำความคุ้นเคยกับจิตใจ หรือว่าโดยกิริยาของผู้ที่มีจิตใจบริสุทธิ์ ก็จึง ถือว่ามันเป็นบุญเป็นกุศลอย่างมาก

    พระอาจารย์ชยสาโร

    • 3 min
    ธรรมละนิด : คำสอนของพระพุทธเจ้า

    ธรรมละนิด : คำสอนของพระพุทธเจ้า

    เราจะรู้ได้อย่างไรว่าคำสอนของพระพุทธเจ้ามีผลจริง?

    เริ่มด้วยพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ที่เรามีโอกาสได้กราบ ได้ไหว้ ได้สนทนาด้วย หรือได้ฟังธรรมด้วย เมื่อเราได้สังเกตท่านนานๆ แล้วรู้สึกว่า โอ้...ถ้าเปรียบเทียบกับคนธรรมดานี่ ความโลภ ความเห็นแก่ตัว ความโกรธ ความแค้น ทำไมแทบจะมองไม่เห็นหรือไม่เห็นเลย แล้วสิ่งดีงามทั้งหลายเห็นในตัวท่านนี่เยอะ แล้วท่านก็ยืนยันว่า ที่ท่านเป็นอย่างนี้มันไม่ใช่ว่าเกิดมาอย่างนี้ เกิดมาเพราะท่านปฏิบัติธรรม อันนี้ก็ท่านเป็นตัวอย่างเป็นพยาน ที่ทำให้เราเกิดศรัทธา ความเชื่อมั่นในเบื้องต้น

    แต่จากนั้นเราก็ต้องเอาคำสอนของพระพุทธเจ้ามาปฏิบัติ แล้วก็ต้องคอยประเมินผลในชีวิตของเรา ถ้าเมื่อเราปฏิบัติธรรมแล้วก็รู้สึกว่า สิ่งที่ไม่ดีในตัวเราลดน้อยลง สิ่งที่ดีงามเพิ่มมากขึ้น เราก็มั่นใจว่า ถ้าไม่ได้เจอพุทธศาสนา ไม่ได้เจอคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็คงไม่เป็นอย่างนี้ เราก็คอยพิสูจน์ด้วยประสบการณ์ของตัวเอง

    พระอาจารย์ชยสาโร

    • 2 min
    ธรรมละนิด : 'ปฏิบัติธรรม' หมายถึงอะไร

    ธรรมละนิด : 'ปฏิบัติธรรม' หมายถึงอะไร

    ‘ปฏิบัติธรรม’ หมายถึงอะไร?

    คำว่า 'ธรรม' หรือ 'ธรรมะ' มีความหมายหลายนัยเหมือนกัน ฉะนั้นการปฏิบัติธรรมก็คือ ธรรมที่เราได้เรียนมาได้ศึกษามาแล้ว ก็เป็นแค่ความทรงจำ พอเราได้อ่าน ได้ฟัง ได้เรียนแล้ว ต้องนำไปปฏิบัติ พอเป็นการนำไปปฏิบัติ คำสั่งสอนในทางการพัฒนาชีวิตของพระพุทธเจ้า นี่ก็เป็นการปฏิบัติธรรม

    แต่ธรรมก็ยังมีความหมายที่เรียกได้ว่ากว้างที่สุด คือคำว่า 'ธรรม' แปลว่า 'สิ่ง' ธรรมทั้งหลายคือสิ่งทั้งหลาย ถ้ามองในแง่นี้ การปฏิบัติธรรมคือการปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลาย ในทางที่ดีที่สุดหรือทางที่ถูกต้อง

    เพราะฉะนั้นในชีวิตประจำวันเราต้องมีความเพียร ความพยายามที่จะป้องกันไม่ให้สิ่งที่ไม่ดีหรือว่าอกุศลธรรม เข้ามาในจิตใจเราได้ จะต้องวางกาย วางวาจา วางใจอย่างไร เพื่อจะป้องกันไม่ให้สิ่งไม่ดีเกิดขึ้น แต่ในเมื่อเราพลาดไป มันก็โกรธเสียแล้ว เครียดเสียแล้ว กังวลเสียแล้ว แล้วการปฏิบัติธรรมตรงนี้ก็คือ ทำอย่างไรเราจึงจะได้ปล่อยวางสิ่งเหล่านี้

    นอกจากนั้นแล้วการปฏิบัติต่อสิ่งที่ดี ที่เรียกว่ากุศลธรรม ทำอย่างไรเราจึงจะน้อมนำสิ่งที่ดี เข้ามาสู่จิตใจของเราในชีวิตประจำวัน แล้วเมื่อสิ่งที่ดี สิ่งที่เป็นกุศลธรรมเริ่มปรากฏ เราจะปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านี้อย่างไร เราจึงจะได้เจริญงอกงาม

    นี่ก็คือชีวิตแห่งความเพียร ที่เรียกว่า 'สัมมาวายามะ' ความเพียรชอบ ในอริยมรรคมีองค์แปดที่เรานำไปใช้ในชีวิตประจำวัน แม้แต่ในเวลาเรานั่งสมาธิภาวนา หรือปฏิบัติในรูปแบบ ก็เป็นเรื่องของความเพียร ๔ อย่างเหมือนกัน เช่น เราอยู่กับลมหายใจอย่างไร นิวรณ์หรือกิเลสจะไม่เกิด ถ้ากิเลสเกิดขึ้นแล้วจะจัดการอย่างไร ทำอย่างไรโพชฌงค์ สิ่งด

    • 3 min

Top Podcasts In Religion & Spirituality

The Bible in a Year (with Fr. Mike Schmitz)
Ascension
The Bible Recap
Tara-Leigh Cobble
Girls Gone Bible
Girls Gone Bible
BibleProject
BibleProject Podcast
WHOA That's Good Podcast
Sadie Robertson Huff
In Totality with Megan Ashley
Megan Ashley

You Might Also Like