Description
Q1: วิธีรับมือมิจฉาชีพออนไลน์
A: คนที่ตั้งใจหลอกลวงเอาทรัพย์ผู้อื่น เป็นการเบียดเบียน เป็นบาป
เมื่อเจอคนไม่ดี
1. ต้องมี “สติสัมปชัญญะ”: ไม่คล้อยไปตามเสียง รูป คำพูดของเขา
2. ต้อง “โยนิโสมนสิการ”: ใช้ปัญญาไตร่ตรองโดยแยบคาย รอบคอบ คิดเป็นระบบว่า
- อะไรที่จะได้มาโดยง่ายไม่มี - ความสุข ความสำเร็จ เป็นสิ่งที่ได้มาโดยยาก โดยลำบาก
- สิ่งที่ได้รับฟังมา ทนต่อการเพ่งพิสูจน์หรือไม่ - หากเราโดนหลอกครั้งแรก ก็อย่าให้โดนหลอกอีกในครั้งต่อไป
- แม้ถูกหลอกไปแล้ว ก็ไม่ต้องเสียใจ คนที่หลอกจะได้รับผลไม่ดีอย่างแน่นอน แต่ตัวเราต้องไม่ทำสิ่งไม่ดีต่อ เช่น เสียใจ เศร้าโศก เป็นอกุศลกรรม เงินทองเป็นของนอกกาย หาใหม่ได้ หากเรายังมีจิตใจ มีปัญญาที่สามารถพัฒนาให้เกิดความเข้าใจ มีความกรุณา อุเบกขา ได้ ให้เรามีอุเบกขา อย่าไปคิดโกรธเคือง จะเป็นบาปแก่เรา
Q2: การโพสต์ข้อความในโลกออนไลน์กระทบผู้อื่น
A: กรรมทางใจ (มโนกรรม) สำคัญกว่ากรรมทางกาย (กายกรรม)
- ถ้าเราเจตนาโพสต์ให้กระทบคนอื่น ก็เป็นมโนกรรม
- หากเขาทำไม่ดี ความไม่ดีของเขา เคลือบคลานมาถึงตัวเราแล้ว เราก็ไม่ควรทำไม่ดีตอบ ให้ใช้ “อุเบกขา” เพื่อแก้การผูกเวร
- การโพสต์ข้อความในโลกออนไลน์ แม้ไม่มีเจตนาให้กระทบผู้อื่น แต่การเบียดเบียนเกิดขึ้นแล้ว มีกรรมเกิดขึ้นแล้ว มีบาปเกิดขึ้นแล้ว แต่ไม่ผิดศีลเพราะว่าไม่มีเจตนา เมื่อไม่ผิดศีลแล้ว ก็ไม่ต้องกังวลใจ เพราะความร้อนใจควรจะเกิดขึ้นจากการผิดศีล เปรียบเทียบกับ พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนธรรมะ ก็มีผู้ที่ไม่ชอบใจในคำสอนของพระพุทธเจ้า เกิดความขัดเคืองใจ การเบียดเบียนเกิดขึ้นแล้ว แต่เป็นการเบียดเบียนความชั่วด้วยความดี มีลักษณะขูดเกลา บ