Description
Q1: เจ้ากรรมนายเวรในที่ทำงาน
A: การกระทบกระทั่งกันระหว่างบุคคลเป็นเรื่องธรรมดาในวัฏฏะสงสาร
“ทำกรรมอย่างไร จะได้รับ 'กรรม' อย่างนั้น” เช่น ตบยุง แล้วจะเกิดเป็นยุงโดนตบ-อันนี้ไม่ถูก เป็นมิจฉาทิฏฐิ
“ทำกรรมอย่างไร จะได้รับ 'ผลของกรรม' นั้น" เช่น ตบยุง ทำให้มีโรคภัยไข้เจ็บมาก-อันนี้ถูก เป็นสัมมาทิฏฐิ
- ในทางพระพุทธศาสนา กรรมดีมี กรรมชั่วมี การผูกเวรมี แต่ความเป็นเจ้าของไม่มี คำว่า “เจ้ากรรมนายเวร” หมายถึง กรรมไม่ดีกำลังให้ผล เป็นความทุกข์ ความเผ็ดร้อน อยู่ตอนนี้
- เหตุของความสุข ความทุกข์ ไม่ได้เกิดจากกรรมเก่าเพียงอย่างเดียว อาจเกิดจากเหตุอื่นได้ เช่น การถูกทำร้าย สุขภาพร่างกาย สภาพดินฟ้าอากาศ การเตรียมตัวไม่สม่ำเสมอในชาตินี้ ไม่ใช่เรื่องกรรมเก่าจากชาติที่แล้ว
- ในกรณีทุกขเวทนาที่เกิดจากกรรมเก่า มีวิธีแก้โดยการทำความดีให้มากขึ้น แม้ความชั่วที่เคยทำไว้ไม่ได้ลดลง แต่ผลของความชั่วนั้นจะเบาบางลง การทำความดีทำให้เกิดความสบายใจ ความสบายใจนี้ทำให้ความร้อนใจจากกรรมชั่วเบาบางลง เปรียบกับการเจือจางน้ำเค็มจากเกลือด้วยน้ำที่มากขึ้น ปริมาณเกลือเท่าเดิม แต่น้ำที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความเค็มเจือจางลง
Q2: ผลจากการสาปแช่งผู้อื่น
A: การกระทำให้ผลเป็นสุขหรือทุกข์ อุปมาอุปไมยได้ 4 กรณี
1. กินเครื่องดื่มที่หอมหวาน สีสวย รสชาติดี แต่เจือด้วยยาพิษ-ทำไม่ดี ตอนทำได้สุข แต่จะได้รับทุกข์ในภายหลัง
2. กินบวบขม กลิ่นไม่ดี เจือด้วยยาพิษ-ทำไม่ดี ได้ทุกข์ทันที
3. กินยาดองน้ำมูตรเน่า รสขม ฝาด ไม่หวาน แต่กินแล้วจะได้ผลดีภายหลัง หายเจ็บป่วย-ทำดีแต่กลับได้ทุกข์ แต่เมื่อสถานการณ์ผ่านไป จะได้รับสุขในภายหลัง ต้องใช้ความอดทน
4. กินน้ำผึ