Description
กัลยาณมิตร VS ปาปมิตร
“กัลยาณมิตร” มี 4 ลักษณะ
1. มิตรมีอุปการะ = คอยให้ประโยชน์ คอยเตือนเรารักษาเราเมื่อประมาทประพฤติไม่ดี คอยรักษาทรัพย์ให้เราเมื่อเราประมาท เมื่อมีภัยจะเป็นที่พึ่งพำนักได้ ในยามมีเหตุจำเป็นเดือดร้อนต่าง ๆ ยิ่งเป็นที่พึ่งได้เป็นสองเท่าจากที่เคยออกปากไว้
2. มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข = มิตรที่บอกความลับของตนแก่เพื่อน ปิดความลับของเพื่อน ไม่ละทิ้งในยามอันตราย แม้ชีวิตก็สละให้กันได้
3. มิตรแนะประโยชน์ = ห้ามจากความชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี ให้ฟังในสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง บอกทางสวรรค์ให้
4. มิตรมีความรักใคร่ = ไม่ยินดีในความเสื่อมของเพื่อน ยินดีในความเจริญของเพื่อน ห้ามคนที่กล่าวโทษเพื่อน สนับสนุนคนที่สรรเสริญเพื่อน
“ปาปมิตร” มี 4 ลักษณะ
1. ปอกลอก = คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว เวลาจะเสียให้นิดเดียว แต่เวลาจะเอา เอามาก ไม่ช่วยงาน
2. ดีแต่พูด = เอาสิ่งที่ล่วงไปแล้วมาพูด อ้างสิ่งที่ยังมาไม่ถึงจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ให้ สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้ เมื่อมีกิจเกิดขึ้นแสดงความขัดข้อง
3. คนหัวประจบ = จะทำดี ก็คล้อยตาม จะทำชั่ว ก็คล้อยตาม ต่อหน้าสรรเสริญ ลับหลังนินทา
4. ชักชวนไปในทางชิบหาย = ชวนดื่มเหล้า ชวนให้ไปเที่ยวตามครอกซอกซอยในเวลากลางคืน ชวนให้ไปดูมหรสพ ชวนให้เล่นการพนัน
Q1: เพื่อนร่วมงานที่ถือความคิดตนเป็นใหญ่
A: ให้เราทำตัวเป็นมิตรแนะประโยชน์ 1. ไม่ทำตนเป็นคนไม่ดีเสียเอง 2. แนะนำให้เขาทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี 3. ทำตนให้เป็นเพื่อนที่ดีสำหรับเขา เขาก็จะมีศรัทธาในตัวเรา พูดแนะนำอะไรไปเขาก็จะรับฟัง
- หากเราไม่ได้ต้องการเกี่ยวข้องกับเขามาก ก็ต่างคนต่างอยู่ก็ได้ เพราะเขาไม่ได้เป็นคนไม่ดี
- ทั้งนี้