เหตุที่ทำให้คนเปลี่ยนไป [6736-7q]
Listen now
Description
Q : อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้คนเราเปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ (เปลี่ยนไปในทางไม่ดีเป็นอกุศล)? A : เมื่อมีผัสสะที่เข้ามากระตุ้น เช่น ลาภ ยศ เงินทอง หากเราไม่มีหิริโอตตัปปะ ไม่ฝึกใจ ไม่มีความเกรงกลัวละอายต่อบาป เมื่อเห็นช่องที่จะทำไม่ดีได้ ที่จะโกงได้ ทำชั่วได้ ก็จะทำสิ่งที่ชั่วสิ่งที่เป็นอกุศลได้    Q : อุปมาเปรียบกับสะใภ้ใหม่ที่มีหิริโอตตัปปะ A : ท่านเปรียบดังหญิงสะใภ้ใหม่ เมื่อเข้ามาอยู่บ้านสามี แล้วมีหิริโอตตัปปะ มีความละอาย มีความเกรงกลัวต่อบาป เกรงกลัวพ่อและแม่สามี แต่พออยู่นานเข้า หิริโอตตัปปะลดลง ไม่ฝึกสติ ไม่ฝึกใจ จึงทำให้ทำเรื่องไม่ดี ทำสิ่งที่เป็นอกุศลได้ Q : ปัจจัยที่จะมากระตุ้นให้เกิดจุดเปลี่ยน A : มี 2 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยภายใน คือ ตัวเรามีหิริโอตตัปปะหรือไม่ ถ้ามี มีมากหรือน้อย ถ้ามีน้อย โอกาสให้ทำชั่วก็จะมาก ถ้ามีมาก รู้จักหักห้ามใจ มีสติ พอถึงจุดที่มีโอกาสจะทำชั่ว เราจะไม่ทำ และ 2) ปัจจัยภายนอก คือ ผัสสะที่เข้ามากระทบ ซึ่งปัจจัยภายนอกจะกระตุ้นให้เกิดกิเลสได้หรือไม่ ปัจจัยภายในจึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด หากคุณมีหิริโอตตัปปะคู่กันกับสติสัมปชัญญะ เหตุปัจจัยภายนอกจะไม่มามีผลกับเรา    Q : จะรู้ได้อย่างไรว่าเราเปลี่ยนไปในทางไม่ดีแล้ว? A : เราต้องตรวจสอบตนเองเป็นประจำ เปรียบเทียบการทำความดีความชั่วของตน ด้วยการใช้เกณฑ์ของกุศลกับอกุศลมาวัด ตรงไหนที่เราทำผิดก็ให้เราแก้ตรงนั้น พอเราทำถูก ศีล สมาธิ ปัญญาของเราก็จะเพิ่ม เราจะตั้งอยู่ในกุศลได้   Q : อะไรที่จะเป็นเครื่องเตือนสติในศรัทธาที่ตั้งไว้ผิดที่ A : ท่านให้มีศรัทธาไว้ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คือเป็นศรัทธาอยู่ในจิตใจของเรา ไม่ได้อยู่ภา
More Episodes
Q : ลอยกระทงกับศาสนา  A : ลอยกระทงเป็นประเพณีวัฒนธรรมเกี่ยวข้องกับแนวทางคำสอน คือท่านได้บัญญัติการจำพรรษาของพระภิกษุจะมี 2 ห้วงเวลา คือ 3 เดือนแรกของสี่เดือนฤดูฝน เริ่มจากวันเข้าพรรษาถึงวันออกพรรษา หรือ 3 เดือนท้ายของสี่เดือนฤดูฝน เริ่มจากหนึ่งเดือนหลังจากเข้าพรรษาถึงวันลอยกระทง...
Published 11/16/24
Q : ความหมายและความต่างระหว่างโลกวัชชะและปัณณัตติวัชชะ A : เป็นอาบัติเหมือนกัน ต่างกันตรงที่ “โลกวัชชะ” คือ อาบัติที่เมื่อทำผิดพระวินัยแล้วจะเกิดอกุศลในจิตแน่นอน ส่วน “ปัณณัตติวัชชะ” คือ อาบัติทางพระบัญญัติ ที่อยู่ที่จิตขณะนั้น หากจิตขณะนั้นเป็นอกุศลจึงจะมีโทษ   Q : ความหมายของ...
Published 11/09/24