Episodes
ไฟป่า ถือเป็นสาเหตุหลักของการเกิดปัญหาฝุ่นควันในพื้นที่ภาคเหนือ ของประเทศไทย ในแต่ละปีพบว่าพื้นที่ภาคเหนือมีคุณภาพอากาศแย่ที่สุด ติดอันดับ 1 ของโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ปัญหานี้ยังไม่สามารถแก้ไขได้ เพราะมีปัจจัยเรื่องภูมิศาสตร์ การเผาป่าโดยประเทศเพื่อนบ้าน หรือแม้แต่วิถีปฏิบัติเรื่องการทำมาหากินของชาวบ้านที่จำเป็นต้องเผาเพื่อทำการเกษตรในแต่ละปีนั้นเอง
Published 03/13/21
ขงจื้อในสมัยสมัยราชวงศ์ซาง ได้บัญญัติแนวคิดความกตัญญูตามแบบฉบับจีนโบราณขึ้นมา เพื่อส่งเสริมให้เคารพรักบุพการี ตอบแทนบุญคุณ เชื่อฟังคำสอน อ่อนโอน ไม่ขัดใจผู้มีพระคุณโดยเฉพาะบุพการี  ซึ่งความกตัญญูนี้ส่งผลให้คนจีนมีนิสัยทะเยอทยาน  ขยันทำมาหากิน เพื่อให้ตัวเองประสบความสำเร็จมากที่สุด เพื่อประโยชน์แก่ครอบครัวและเป็นหน้าเป็นตาให้แก่ตระกูลได้  ปัจจุบันวิถีชีวิตคนจีนเปลี่ยนไป ผู้คนทำงานไกลบ้าน ไม่มีเวลากลับบ้านไปเยี่ยมหรือเลี้ยงดูพ่อแม่ได้เหมือนเมื่อก่อน จึงทำให้รัฐบาลออก "กฎหมายกตัญญู"...
Published 03/06/21
พระพุทธศาสนาในประเทศไทยและเมียนมามีความคล้ายคลึงกันอยู่บ้าง แต่ก็แตกต่างกันเล็กน้อยตามหลักปฏิบัติของแต่ละประเทศ สถาปัตยกรรมที่งดงามหรือโบราณสถานอันยิ่งใหญ่ ถือเป็นร่องรอยที่ทำให้เราได้เห็นถึงแรงศรัทธาที่มีต่อพระพุทธศาสนาในประเทศเมียนมา
Published 02/27/21
“คุก” สถานที่คุมขังนักโทษ เชื่อว่าหลายคนคงมีภาพจำเกี่ยวกับที่สถานที่แห่งนี้แตกต่างกันออกไป บางคนมองว่าน่ากลัว เศร้าหมอง สิ้นหวัง แท้จริงแล้วสถานที่นี้คือพื้นที่แห่งการทบทวนเพื่อเปลี่ยนแปลงตนเอง คุกไม่ได้มีไว้แค่คุมขังเท่านั้น แต่ยังให้โอกาส สร้างแรงบันดาลใจ และมอบทักษะอาชีพให้กับผู้ต้องขังสามารถนำไปใช้ได้เมื่อพวกเขาพ้นโทษและกลับสู่สังคมในอนาคต
Published 02/13/21
อนุสรณ์และพิพิธภัณฑ์ค่ายกักกันเอาชวิทซ์-เบียเคอเนา ในประเทศโปแลนด์ ที่นี่เรียกได้ว่าเป็นค่ายมรณะที่มีการสังหารหมู่โหดร้ายที่สุดในโลก ประโยคหนึ่งที่สลักอยู่บนหลุมศพของเหยื่อเขียนเอาไว้ว่า “ให้สถานที่แห่งนี้เป็นเสียงร่ำไห้แห่งความสิ้นหวัง เป็นคำเตือนต่อมนุษยชาติถึงเหตุการณ์ที่นาซีสังหาร บุรุษ สตรี และเด็กกว่า 1.5 ล้านคน โดยเฉพาะชาวยิวจากหลายประเทศในยุโรป” สรวง สิทธิสมาน จะพาไปสัมผัสเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่โหดร้ายและปวดร้าวของชาวยิวในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง
Published 02/06/21
ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ.2521 ประเทศจีนออกนโยบายลูกคนเดียว แก้ไขปัญหาประชากรล้นเมือง ต่อมากลับส่งผลต่อความสมดุลของประชากรในประเทศ เนื่องจากมีผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เมื่อมีลูกได้เพียงคนเดียว เด็กที่เกิดมาส่วนใหญ่จึงเป็นลูกชายตามค่านิยมของคนจีน ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางเพศ และมีปัญหาเรื่องการทำแท้งเมื่อรู้ว่าลูกที่เกิดมาเป็นผู้หญิง
Published 01/30/21
แต่ละประเทศมีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง มีวิถีชีวิต ความเชื่อ และค่านิยมที่แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้อาจจะทำให้เกิดความขัดแย้ง ที่นำไปสู่ปัญหาความไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน หากเรายอมรับและเปิดใจเรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่าง เราจะเห็นแง่งามของวัฒนธรรมอื่น ๆ และทำให้เราเข้าใจมนุษย์โลกมากขึ้น
Published 01/23/21
การเดินทางไปเรียนยังต่างประเทศของสรวง สิทธิสมาน ที่ East China Normal University ประเทศจีน เขามีเพื่อนหลากหลายเชื้อชาติ ทำให้เขาได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ได้เห็นมุมมองต่าง ๆ ที่ชาวต่างชาติมองมาที่ประเทศไทย   สรวงจะเล่าประสบการณ์ที่เกี่ยวกับมุมมองของเพื่อนต่างชาติ ว่าพวกเขามองประเทศไทยอย่างไร มีทั้งเรื่องน่าชื่นชมต่อวัฒนธรรมของไทย แต่ขณะเดียวกันก็ตั้งคำถามกับประเด็นเรื่องความหลากหลายทางเพศที่มีในประเทศไทยด้วยเหมือนกัน
Published 01/16/21
ประสบการณ์การศึกษาต่อในต่างประเทศของสรวง สิทธิสมาน ที่ East China Normal University ประเทศจีน การใช้ชีวิตด้วยตนเองคนเดียว กับสถานที่หรือวัฒนธรรมที่ไม่คุ้นเคย ทำให้เขาได้เรียนรู้อะไรบ้างในรั้วมหาวิทยาลัยไปติดตามกัน
Published 01/09/21
ใครบอกเที่ยวคนเดียวคือ "คนเหงา" แท้จริงแล้วอาจมีเหตุปัจจัยบางอย่างที่ทำให้นักท่องเที่ยวเลือกเดินทางคนเดียว สรวง สิทธิสมานเองก็เป็นอีกคนที่เดินทางท่องเที่ยงเองคนเดียวอยู่บ่อยครั้ง และพบว่าเขาได้เรียนรู้หลาย จึงอยากแชร์ประสบการณ์ว่าเที่ยวคนเดียว ดีอย่างไร?
Published 01/02/21
ประสบการณ์การขึ้นสังเวียนมวย ทำให้สรวงได้เรียนรู้ว่า กีฬานี้ใม่ได้ส่งเสริมความรุนแรงหรือแข่งขันกับใคร แต่เป็นกีฬาที่ท้าทายตัวเอง และต้องเอาชนะตัวเองให้ได้ ทั้งร่างกายและจิตใจ และเขาค้นพบว่า "มวยคือกีฬาสำหรับคนใจเย็น" จริง ๆ
Published 12/26/20
โครงการแยกขยะภาคบังคับในเซี่ยงไฮ้ ทำขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาขยะล้นเมืองของประเทศจีน และถือเป็นหนึ่งในหน้าที่พลเรือน "เพื่อชาติ”  พวกเขาดำเนินการอย่างจริงจัง เจ้าหน้าที่ให้ความรู้เรื่องการแยกขยะถึงบ้าน ติดตั้งถังขยะไว้เป็นจุด หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับ เพียงแค่ 2 เดือนเท่านั้น ก็สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชนเรื่องแยกขยะได้แล้ว
Published 12/19/20
“การสังหารหมู่ที่นานกิง” ประวัติศาสตร์สงครามระหว่างจีน-ญี่ปุ่น ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ความโหดร้ายทารุณที่ชาวจีนไม่มีวันลืม และเป็นบทเรียนที่ทำให้จีนมีเป้าหมายร่วมกันคือ พวกเขาจะไม่อ่อนแอ และจะกลับมารุ่งเรือง เพื่อเป็นประเทศมหาอำนาจอีกครั้ง
Published 12/12/20