Episodes
"นักปฏิบัติส่วนใหญ่เวลาทำกรรมฐาน จิตจะไปแช่ไปเพ่งกับอารมณ์กรรมฐาน เพราะไม่เห็นจิตตัวเอง ไม่เห็นจิตที่เพ่ง ไม่เห็นสภาวะ จิตก็เลยไม่ตื่นออกมา พอจิตไม่ตื่น ไม่มีสัมมาสมาธิ จะเดินปัญญาก็เดินไม่ได้ ให้เราไปฝึกสติของเราให้ดี ๆ หัดดูนามธรรม ดูจิตที่มีความโลภ ความโกรธ ความหลง หรือดูร่างกายเคลื่อนไหวหยุดนิ่ง ให้สติมันเกิด แล้วเราฝึกสติไว ๆ ต่อไปใจลอยหรือว่าหลงไป ใจจะรู้ทัน หรือว่ารู้ทันสภาวะจิตที่ไหลไปเพ่ง จิตจะตื่นออกมา เป็นสภาวะของจิตที่มีสัมมาสมาธิ" --พระอาจารย์สมชาย (อ๊า) กิตฺติญาโณ คอร์สชอบธรรม 8...
Published 01/12/24
"การปลีกตัวอยู่กับตัวเอง มันช่วยได้เยอะ อย่างน้อยเราไม่ต้องไปฟุ้งกับเรื่องที่มากระทบมาก ๆ ในชีวิตประจำวัน ก็จะมีความสงบอยู่ระดับนึง และอีกส่วนนึงที่ช่วย ก็คือ ที่จิตใจมันสงบ มันจะมีความสุขแบบเงียบ ๆ และความสุขตัวนี้มันทำให้จิตใจเราไม่แส่ส่ายมากนัก เวลามันสงบระงับได้ในระดับนึง เวลามันเคลื่อนไหว เวลามีผัสสะ เวลามีอะไรเข้ามากระทบ มันจะเห็นได้ชัด" --คุณกิตติยา ผลเกิด คอร์สจีนออนไลน์ ครั้งที่ 5 5 ตุลาคม 2565
Published 11/03/23
"เราไม่ต้องกลัวอกุศล ให้เรามองอกุศลทั้งหลายเป็นเครื่องมือที่จะให้เราพัฒนา ให้เรามีสติที่เข้มแข็งมากขึ้น ถ้าไม่หลงก็จะไม่รู้ รักษาหรือเพ่งไว้ก็ไม่รู้เหมือนกัน ฉะนั้นไม่ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล เราก็เอาเป็นเครื่องมือ เป็นครูสอนให้เราพัฒนาสติ สมาธิ ปัญญา ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ขณะที่เกิดอกุศลแล้วมีสติเกิดขึ้น ตรงนั้นเป็นกุศล แล้วถ้าเกิดสติบ่อย ๆ จนเป็นสติที่เป็นอัตโนมัติ เกิดขึ้นเองโดยไม่มีเจตนา ขณะนั้นก็มีศีล กิเลสจะดับ กิเลสครอบงำใจไม่ได้ ก็เท่ากับรักษาศีลได้อัตโนมัติ" --คุณนิติยา เพ็ชรไพบูลย์...
Published 11/02/23
"เอาใจที่เป็นปกติ แล้วเรียนรู้ความเป็นปกติของมัน แล้วเราจะเห็นความจริงที่มันเป็นปกติอยู่แล้ว ว่าทุกสภาวะ ล้วนแต่แสดงไตรลักษณ์ทั้งสิ้น และทุกสภาวะ ก็ไม่ใช่เรา ค่อย ๆ ดูไปนะ" --คุณนิติยา เพ็ชรไพบูลย์ คอร์สคนลาว 16-18 มิถุนายน 2566
Published 11/01/23
"จิตใจมันสุดโต่งสองฝั่งอยู่แล้ว เราเรียนเป็นคู่ ๆ ไป กล้า ๆ เรียนทั้งดีและไม่ดี ทั้งดีและไม่ดีก็สอนธรรมะเราได้ และพบว่าทั้งดีและไม่ดี มันตกอยู่ใต้หลักสามัญลักษณะ คือมันเป็นไตรลักษณ์ ดีก็เกิดดับ ไม่ดีก็เกิดดับ" --คุณซอง ณพัทธ์พล คุณาธนะเศรษฐ์ คอร์สคนลาว 16-18 มิถุนายน 2566
Published 10/31/23
"กิเลสอะไรที่เกิดบ่อย ทุกครั้งที่มันเกิดขึ้นมา คอยรู้ทัน ถ้าเรารู้ทันบ่อย ๆ ถึงแม้ไม่ได้อยู่ใกล้ครูบาอาจารย์ เราก็ขัดเกลาตัวเองได้ ถ้าเราอยากขัดเกลาตัวเอง เช่น เราเห็นอะไรที่เราไม่อยากทำ ถ้าเป็นกิเลส เราขัดเกลาตัวเองโดยการลงไปทำ ทุกครั้งที่เราทำ เราจะได้กำลังขึ้นมา กำลังของใจที่พร้อมจะสู้กับกิเลส แล้วใจจะเข้มแข็ง นักภาวนาจะมาตายตรงนี้ส่วนหนึ่งคือ ภาวนาแล้วไม่ได้ขัดเกลากิเลสตนเอง การขัดเกลากิเลสตนเองอยู่ในองค์มรรค คือสัมมาวายามะ มุ่งขัดเกลาบาปอุศลในใจ มุ่งรักษาไม่ให้ใจตกลงไปในอกุศล...
Published 10/30/23
"ปัญญาไม่ใช่เรื่องลึกลับซับซ้อน มันคือการเห็นสภาวะของจริง ปัญญาคือการเห็นสภาวะที่เกิดดับ มันไม่มีคำพูด ไม่มีการพากษ์ แต่คือความเข้าใจ ตัวอย่างเช่น กิเลสเกิดแล้วดับ สิ่งไหนที่เกิดที่ดับ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของเรา แต่ไหนแต่ไร จะมีเราโกรธ เราโลภ เราหลง แต่พอมีจิตตั้งมั่นขึ้นมา เริ่มเห็นว่าจิตมันโกรธ ความโกรธมันแทรกเข้ามา ไม่ใช่เราโกรธ การเรียนรู้สภาวะต่าง ๆ ว่าไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ตัวนี้เรียกว่าการเดินปัญญา" --คุณซอง ณพัทธ์พล คุณาธนะเศรษฐ์ คอร์สคนลาว 16-18 มิถุนายน 2566
Published 10/29/23
"คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นเสมือนแผนที่ให้เราเดิน จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เป็นแผนที่เพื่อความพ้นทุกข์ เป็นเส้นทางของมรรค เราฟังธรรมะแล้วเข้าใจ ก็ค่อย ๆ กลับไปฝึก เราค่อย ๆ เดินไป เดินไปทีละก้าว ๆ ไม่หยุด มันจะค่อย ๆ สะสมความรู้ความเข้าใจมากขึ้น แต่สักพักหนึ่ง บางทีมันก็ลืมนะ เพราะในสังสารวัฏเราสะสมมิจฉาทิฏฐิมาตลอด มันก็อดไม่ได้ที่จะกลับไปเข้าใจแบบเดิม ๆ ฉะนั้นเราก็ต้องหมั่นกลับมาฟังธรรม ฟังแผนที่ของการปฏิบัติ ฟังบ่อย ๆ แล้วค่อย ๆ เอาไปปฏิบัติ จะค่อย ๆ เห็นเอง แล้วก็จะได้เข้าใจ" --คุณนิติยา...
Published 10/29/23
"กรรมฐานไหนทำแล้วเกิดสมาธิบ่อยให้ใช้อันนั้น เริ่มต้นก็ค่อย ๆ ฝึกให้เข้าใจ พอผ่านไปเมื่อเริ่มรู้ทันจิตเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นกรรมฐานไหนถ้าทำถูก คือรู้ทันจิต ก็ใช้ได้หมด เพราะรูปแบบเป็นแค่เปลือก การสวดมนต์ เคลื่อนไหว ทำจังหวะ ร่างกายเคลื่อนไหว ก็ให้กลับมารู้ทันจิต ไม่ได้บอกว่าทำอันไหนดีกว่าอันไหน แต่มันอยู่ที่ว่าทำแล้วรู้ทันจิตไหม และกรรมฐานไม่ควรมีเกินสองอย่าง ถ้ามีเครื่องอยู่หลายแบบจะงง ทำอันไหนที่มันตรงจริตนิสัย สติเกิดได้บ่อยสมาธิเกิดได้ง่าย ทำอันนั้น" --คุณนิติยา เพ็ชรไพบูลย์ คอร์สคนลาว...
Published 10/29/23
"บางคนใจร้อน รู้สึกว่าต้องรีบเจริญปัญญาถึงจะเข้าใจได้ธรรมะ ก็พยายามคิดนำ ขณะที่คิดขณะนั้นคือหลง ไม่ได้รู้หรอกว่าหลงไปคิด แล้วเวลาที่เจริญปัญญาเห็นไตรลักษณ์ของรูปนามกายใจ มันแค่รู้สึกขึ้นมา ไม่ได้เป็นคำพูดยาว มันแค่เห็นเหมือนเรามีสติแล้วเห็นสภาวะ ขณะที่มีสติเห็นสภาวะ ขณะนั้นมีสมาธิเกิดขึ้น และมีกำลังมากพอมีจิตตั้งมั่น เป็นผู้รู้ผู้ดู ขนาดนั้นจะเห็นความจริงว่าทุกสภาวะล้วนเกิดแล้วดับ นี่ก็เจริญปัญญาเหมือนกัน" --คุณนิติยา เพ็ชรไพบูลย์ คอร์สคนลาว 17 มิถุนายน 2566
Published 10/28/23
"อะไรที่มันผิดน่ะ เราไปแก้มันยาก ต่อให้แก้สำเร็จ ก็ไม่ใช่ว่า นี่คือแก้สำเร็จนะ อันนี้คือล้างใหม่ แล้วค่อยรู้ใหม่ รู้อารมณ์กรรมฐานด้วยใจที่สบาย รู้ใหม่เลยมันง่ายกว่า ล้างกระดานใหม่บ่อยๆ ไม่ต้องกลัว ที่มันตั้งแล้วล้ม ๆ เพราะว่าเราภาวนาเป็นขณะอยู่แล้ว" --คุณซอง ณพัทธ์พล คุณาธนะเศรษฐ์ คอร์สคนลาว 16-18 มิถุนายน 2566
Published 10/27/23
"พอเรียนรู้ตัวเองมากเข้า ๆ เราจะเห็นเลยว่า ทุกคนก็รักสุขเกลียดทุกข์ ทุกคนก็มีโลภ โกรธ หลงทั้งสิ้น ทุกคนก็อยากดี อยากเป็นที่ยอมรับของผู้อื่น พอเราเห็นความจริงในกายในใจนี้ เราก็เห็นว่า เราไม่ได้แตกต่างจากคนอื่นเลย เมื่อก่อนเรารู้สึกว่าตัวเองดีมาก เป็นคนดี มีเมตตา แต่จริง ๆ ขี้อิจฉา เป็นต้น เราจะเห็นว่า ที่คนอื่นเขามีกิเลสเยอะแยะ เราก็กิเลสเยอะเหมือนกัน ดูคนอื่นดูง่าย ดูตัวเองมันยาก" --คุณนิติยา เพ็ชรไพบูลย์ คอร์สคนลาว 16-18 มิถุนายน 2566
Published 10/27/23
"เห็นจิตที่เคลื่อนไปเคลื่อนมา เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตรงนี้จะได้สมาธิอีกแบบนึง ที่ไม่ใช่สมาธิตั้งแช่ หรือจมแช่อยู่กับลมหายใจอย่างเดียว แต่มันจะรู้เนื้อ รู้ตัวอยู่ ได้สมาธิตรงนี้แล้ว ก็ดูร่างกาย ดูจิตใจ ที่มันทำงานไป" --คุณนิติยา เพ็ชรไพบูลย์ คอร์สคนลาว 16-18 มิถุนายน 2566
Published 10/26/23
"เราภาวนาไปเรื่อย ๆ เห็นสภาวะล้วนแต่เปลี่ยนแปลง เดี๋ยวเกิด เดี๋ยวดับ บังคับอะไรไม่ได้เลย บางสภาวะก็ชอบ บางสภาวะก็ไม่ชอบ ชอบก็อยากรักษาไว้ ไม่ชอบก็อยากผลักไสมัน บางทีก็อยากแก้ไขมัน ที่ว่ามาทั้งหมดคำที่ว่า 'อยาก' ก็เป็นสภาวธรรม ให้เรารู้ลงไป แล้วเราจะเห็นเลย ว่าไม่ว่าสภาวธรรมอะไรก็ตาม มันล้วนแต่ชั่วคราว เพราะมันไม่ใช่เรา มันไม่สามารถเป็นไปได้ตามใจสั่ง หรือใจอยาก นี่คือความจริง เป็นสัจจะ" --คุณนิติยา เพ็ชรไพบูลย์ คอร์จิตหนึ่ง 4 สิงหาคม 2566
Published 10/25/23
"ถ้าเราไม่มีสัมมาสติ ไม่มีสัมมาสมาธินะ อย่าเพิ่งไปดูเรื่องเดินปัญญา มันจะได้ปัญญาปลอม ไม่ได้ปัญญาของแท้ เราฝึกไปนะ ยืน เดิน นั่ง นอน คอยรู้สึกนะ กิน ดื่ม ทำ พูด คิด เรารู้สึกไป เวทนาอะไรเกิดขึ้น ความสุข ความทุกข์ ความเฉย ๆ หรือว่ากิเลสอะไรเกิดขึ้น คอยรู้สึกไปเรื่อย ๆ ถ้าเรารู้สึกไปได้บ่อย ๆ นะ รู้สึกไป ร้อยครั้ง พันครั้ง หมื่นครั้ง แสนครั้ง รู้สึกไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวมันก็ค่อยจำสภาวะได้เอง" --พระอาจารย์สมชาย (อ๊า) กิตฺติญาโณ คอร์สจิตหนึ่ง 3 สิงหาคม 2566
Published 10/24/23
"การทำในรูปแบบคือการฝึกหัดฝึกซ้อม เพราะสติและสัมมาสมาธิไม่ได้เกิดลอย ๆ ต้องเกิดจากการฝึกฝน ใจที่มีสัมมาสมาธิ เห็นร่างกายจิตใจที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง มันก็จะเก็บข้อมูลไปเรื่อย ๆ เป็นการเก็บข้อมูลด้วยใจ ความเข้าใจในทางศาสนาพุทธ ต้องเรียนรู้ด้วยใจ ใช้ใจรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงในกายในใจเรา ไม่ได้ใช้เหตุผลทางสมอง ไม่ได้ใช้ตรรกะคิดเอา ใจจะยอมรับได้ จะต้องเห็นสภาวะตามความเป็นจริงไปเรื่อย ๆ ซ้อมทุกวัน ดูทุกวัน เราสะสมข้อมูลไปเรื่อย ๆ จิตใจก็เติบโตขึ้นมาเอง...
Published 10/23/23
"นักปฏิบัติเวลาภาวนาอยากให้จิตพัฒนาดีขึ้นไปเรื่อย ๆ อันนี้เป็นความเข้าใจผิด ธรรมชาติของจิต เวลาภาวนาเจริญช่วงหนึ่งแล้วก็จะเสื่อม ถ้าใจเราเป็นกลาง เห็นมันเสื่อมก็รู้ว่ามันเสื่อม หรือว่าจิตดีก็รู้ว่ามันดี บางช่วงก็สติดี บางช่วงสติก็ไม่ดี บางช่วงใจก็ฟุ้งซ่านเยอะ เราก็มีหน้าที่แค่รู้ทัน รู้ทันไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องแก้ จิตดีก็ภาวนา จิตไม่ดีก็ภาวนาไปเหมือนเดิม เพราะว่าเราต้องการเรียนรู้นะว่าจิตใจทั้งหลายทั้งปวง มันบังคับไม่ได้ มันเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของมัน เช่น...
Published 10/22/23
"ทำกรรมฐานของเราไปอย่างหนึ่ง แล้วคอยสังเกตใจเรา ถ้าทำแล้วใจแน่น รู้ทัน ทำแล้วใจหลงไป รู้ทัน ใจเป็นอย่างไรคอยรู้ทัน ยังไม่ต้องรีบเดินปัญญา เราฝึกให้เกิดสติเยอะ ๆ ก่อน ถ้าเรารีบเดินปัญญา ใจจะดิ้นรนมาก เพราะทำไปด้วยความอยาก เหมือนอย่างคนภาวนาถูกแล้ว แล้วอยากได้ของดีก็ไปเร่งภาวนา คราวนี้เสียนานเลย เพราะใจมีแต่ความโลภอยากจะได้ จริง ๆ ความอยากเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เราทำไปด้วยความอยาก ไม่มีทางพ้นทุกข์หรอก ทำกรรมฐานแล้วคอยสังเกตใจไป ถ้าทำไปแล้วใจเบื่อ รู้ทัน ทำแล้วใจสงบ รู้ทัน ทำแล้วใจหลง รู้ทัน...
Published 10/21/23
"ถ้าเราดูจิต ก่อนรู้ อย่าตั้งใจรู้ รู้แล้ว อย่าถลำ รู้แล้ว จิตนั้น ยินดียินร้าย ให้รู้ตาม ก็คือ ชอบ ไม่ชอบ ให้รู้ตาม ก่อนรู้ อย่าตั้งใจรู้ ถ้าไปดักรู้ พวกนี้ก็คือเพ่ง รู้แล้วอย่าถลำ" --คุณมาลี ปาละวงศ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 30 กรกฎาคม 2566
Published 10/19/23
"มีสติ รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง" สติตรงนี้ หมายถึงสติปัฏฐาน4 ไม่ใช่สติที่พวกเราใช้อยู่กับโลก สิ่งที่แตกต่าง 2 อย่างนี้ คือ สติที่เราใช้อยู่กับโลก เป็นสติที่เรารู้ข้างนอกหมดเลย รู้เรื่องราวข้างนอก รู้สิ่งข้างนอก รู้คนข้างนอก ยกเว้นกายกับใจของเรา แต่ถ้าสติบัฏฐาน 4 เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับตัวของเราทั่งสิ้น ตัวของเรา ประกอบด้วยอะไรล่ะ กายกับใจ เพราะฉะนั้น ที่เรียนของเรา ห้องเรียนของเรา อยู่ที่ไหน ก็อยู่ที่นี่แหละ" --คุณมาลี ปาละวงศ์ บ้านจิตสบาย 1 เมษายน 2566
Published 10/18/23
"ทุกวันนี้เราปฏิเสธมือถือไม่ได้ เพราะทุกอย่างอยู่ในนี้หมด แต่เอาให้พอดี พอดีของใครไม่เท่ากัน ต้องบริหารด้วยตัวเอง อยู่ที่เราเลือกที่จะเสพ เสพอันไหนแล้วเป็นประโยชน์ เสพอันไหนแล้วการภาวนาเราไม่ย่อหย่อน เสพอันไหนแล้วเรามีความสันโดดพอเพียง มักน้อย สันโดด ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร บางคนบอกฉันไม่ได้คลุกคลี แต่ไถมือถือ แสดงความคิดความเห็น โพสได้ตลอด อันนี้ไม่ใช่แล้ว รูปแบบของการคลุกคลีมีการเปลี่ยนแปลงไป ปรารภความเพียร ไม่ได้หมายความว่าต้องเดินจงกรมวันละหนึ่งชั่วโมง นั่งสมาธิวันละหนึ่งชั่วโมง...
Published 10/17/23