Description
มื่อเป็นฆราวาสเขาเรียกว่า ฆราวาสธรรม ปฏิบัติธรรมของตนให้แน่ นอนอย่าให้คลาดเคลื่อนเรียกว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน
เริ่มต้นทีเดียว ต้องปฏิบัติอยู่ในกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ ทอดทิ้งอกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ประการเสีย ละอกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ประการเสีย
ประกอบกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ประการ
ให้เกิดมีกายบริสุทธิ์ ๓
เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
เว้นขาดจากการลักทรัพย์สมบัติของผู้อื่น
เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ๓ ละ
เว้นจากวจีกรรม เว้นจากการพูดปด ไม่จริง หลอกลวงต่างๆ
เว้นจากกล่าวคำส่อเสียด ให้เขาแตกร้าวจากกัน ให้สมัครสมานอยู่ ให้มีกับตน
เว้นจากกล่าวคำหยาบช้าทารุณ ด่าชาติ ด่าตระกูล
เว้นจากกล่าวคำเหลวไหลปราศจากประโยชน์ หาหลักฐานไม่ได้ ไม่มีเหตุผล กล่าวเลอะเทอะๆ
อย่างนี้ นี่เรียกว่า วจีกรรมบริสุทธิ์
แล้วเว้นจากการโลภอยากได้ของเขา
เว้นจากโกรธประทุษร้ายเขา
เว้นจากเห็นผิดจากคลองธรรม ได้ชื่อว่า ใจบริสุทธิ์
กายบริสุทธิ์ ๓ วาจาบริสุทธิ์ ๔ ใจบริสุทธิ์ ๓
รวมเป็นบริสุทธิ์ ๑๐ คือ กาย ๓ วจี ๔ ใจ ๓ รวมเข้าเป็น ๑๐ นี้ เรียกว่า กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ
ตัวเองบริสุทธิ์ ดังนี้แล้ว ตั้งใจให้แน่วแน่ เรียกว่า ธรรมานุธรรมปฏิบัติ
ชวนบุคคลผู้อื่นให้บริสุทธิ์เหมือนกับตนเอง บริสุทธิ์ ๑๐ อย่างชักชวนบุคคลผู้อื่นให้บริสุทธิ์ ๑๐ อย่างเหมือนกันบ้าง ชักชวนบุคคลผู้อื่นอีก ๑๐ เป็น ๒๐ ละ
ยินดีพวกบริสุทธิ์ กาย วาจา ใจ เช่นนั้น อีก ๑๐ นั้นแหละเป็น ๓๐
สรรเสริญพวกบริสุทธิ์ด้วยกาย วาจา ใจ เช่นนั้น เป็น ๔๐ นี่เขาเรียกว่า กุศลกรรมบถวิภาค แยกออกจาก ๑๐ ไปเป็น ๒๐ ๓๐ ๔๐ ให้แน่นอนอย่าให้คลาดเคลื่อนเชียว นี่เขาเรียกว่า ฆราวาสธรรม
ธรรมของฆราวาสให้แน่นอนอย่าง