Description
ต่อแต่นี้ไปเมื่อไปเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา
ศีลของภิกษุนะเป็น อปริยันตปาริสุทธิศีล ไม่มีที่สุด ศีลของภิกษุ ไม่มีที่สุด
ศีลของภิกษุ ๒๒๗ สิกขาบทมาในพระปาฏิโมกข์
ในวิสุทธิมรรค ๓ ล้าน ๑๐๐ กว่าสิกขาบท
มาในพระไตรปิฎก ที่เรียกว่าวินัยปิฎกนี้ ๒๑,๐๐๐ กัณฑ์ เป็นสิกขาบทหลายข้อ
ถ้าจะนับสิกขาบทภิกษุ ศีลไม่มีที่สุด ศีลไม่มีที่สุดทีเดียว เรียกว่า อปริยันตปาริสุทธิศีล ขึ้นสู่พระปาฏิโมกข์นิดเดียว ๒๒๗ สิกขาบทข้อสำคัญๆ ทั้งนั้น ที่ข้อลดหย่อนกว่านั้น ยังอยู่อีกมากมาย ไม่มีที่สุด
เมื่อภิกษุจะรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ในศีลไม่มีที่สุดเช่นนั้น จะรักษาอย่างไร? ภิกษุต้องเป็นภิกษุจริงๆ
ภิกษุเขาแปลว่าผู้ศึกษา ตั้งใจศึกษาในศีล
สีลมฺหิ สิกฺขติ ศึกษาในศีล
จิตฺตมฺปิ สิกฺขติ ศึกษาในจิต
ปญฺญมฺปิ สิกฺขติ ศึกษาในปัญญา
อธิสีลมฺปิ สิกฺขติ ศึกษาในศีล สมาธิ ปัญญา เข้าใจแล้วให้สูงขึ้นไปอีก
อธิสีลมฺปิ สิกฺขติ ศึกษาในอธิศีล
ศึกษาในอธิจิต
ศึกษาในอธิปัญญา
แล้วก็ค้นคว้าในศีล สมาธิ ปัญญา ให้เข้าใจ แล้วรู้จักหนทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ไปได้อย่างไร ไปแนวไหนให้รู้จักชัดแน่นอน ในการศึกษาของตัวอย่างนี้
เมื่อตั้งใจศึกษาอยู่เช่นนี้ละก็ได้ชื่อว่าภิกษุนั้นเป็นผู้ที่มั่นแล้ว ในศีล สมาธิ ปัญญา ในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
แล้วก็เอาใจไปจรดอยู่ในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ต้องรักษาศีลไว้ให้มั่นคง อยู่ในสมาธิให้มั่นคงไว้ อยู่ในปัญญาให้มั่นคง จึงรวมในทางมรรคผลสืบต่อไปนั้น
ดั่งนี้ได้ชื่อว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ของภิกษุ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม จะให้ตรงแน่วละ
จากการปฏิบัติของตนนั้น มนุษย์มาฆ่าเสียก็ฆ่าไปเถอะ เป็นไม่ยอมกันเด็ดขาดเชียวเ