อนุสัย - กิเลสความเคยชินของจิต [6652-6t]
Listen now
Description
อนุสัย หมายถึง ความเคยชิน เป็นกิเลสอย่างละเอียดที่ตกตะกอนนอนแนบนิ่งอยู่ในจิต คือทุกครั้งที่จิตของเราเกิดกิเลสขึ้น มันจะทิ้งคราบคือความเคยชินไว้ให้เสมอ พอมีอะไรมากระทบอารมณ์มันจะแสดงตัวออกมาทันที ยิ่งถ้าเกิดกิเลสขึ้นมาบ่อยๆก็จะยิ่งมีอนุสัยมากขึ้น    ข้อที่ #10_มัจฉริยสูตร สังโยชน์ หมายถึง สิ่งที่ผูกจิตให้ติดอยู่ในภพ ได้แก่ สังโยชน์ คือ ความยินดี, ความยินร้าย, ความเห็นผิด ความลังเลสงสัย, ความถือตัว, ความริษยา (ตนเองไม่มี-แต่คนอื่นมี), ความตระหนี่ (ตนเองมี-แต่ไม่ให้)   ข้อที่ #11-12_ปฐม-ทุติยอนุสยสูตร อนุสัย คือ กิเลสที่นองเนื่องในสันดาน ได้แก่ อนุสัย คือ ความกำหนัดในกาม, ความยินร้าย, ความเห็นผิด, ความลังเลสงสัย, ความถือตัว, ความติดใจในภพ, ความไม่รู้แจ้ง   *กิเลสที่ทำให้เกิดอนุสัย 7 และ สังโยชน์ 7 นี้ สังเกตเห็นได้ว่า เป็นกิเลสอย่างละเอียดชนิดเดียวกัน เมื่อเกิดสะสมอยู่ในจิตแล้วผลคือ ผูกจิตให้ติดอยู่ในภพ สามารถละได้ด้วยศีล สมาธิ ปัญญาอย่างละเอียด   ข้อที่#13_กุลสูตร ตระกูลที่ประด้วยองค์ประกอบต่อไปนี้ ภิกษุควรเข้าไปหา (ไว้ใช้พิจารณาการเข้าสู่ตระกูล) คือ มีการลุกขึ้นต้อนรับ-ไหว้-ให้อาสนะด้วยความเต็มใจ, ไม่ปกปิดของที่มีอยู่, มีของมาก ก็ถวายมาก, มีของประณีต ก็ถวายของประณีต, ถวายโดยเคารพ    ข้อ#14_ปุคคลสูตร บุคคลผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย (อริยบุคคล)    พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต อนุสยวรรค Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
More Episodes
การไม่ให้จิตตกไปตามอำนาจของกิเลสแต่จะให้มาอยู่ในอำนาจของมรรค 8 ได้นั้น ต่างต้องอาศัยเหตุปัจจัย ซึ่งเหตุปัจจัยหลักนั้นก็คือการมี “สติ” คือจะต้องมีสติสัมปชัญญะเห็นเหตุปัจจัยแห่งการเกิดขึ้น ดำรงอยู่ และดับไปของสมาธิในขั้นต่าง ๆ กล่าวคือจะต้องเป็นผู้ฉลาดในสมาธิและกระทำสมาธิโดยชำนาญในทุกอริยบถ...
Published 05/03/24
คำว่า “มิตรแท้ หรือ กัลยาณมิตร” มีความสำคัญและมีคุณค่ายิ่ง “มิตร” ที่เรามีอยู่เป็นแบบไหน และเราควรจะปฏิบัติตนหรือเลือกคบมิตรแบบใด    ในข้อที่ #36_ปฐมมิตตสูตร และ #37_ทุติยมิตตสูตร ว่าด้วยองค์แห่งมิตร 7 ประการ คือ บุคคลที่ประกอบด้วยฐานะ 7 ประการนี้ ควรเข้าไปคบหาเป็นมิตรด้วย โดยในปฐมมิตตสูตร...
Published 04/26/24