Episodes
ข้อที่ #28_ปัญจังคิกสูตร ว่าด้วยการเจริญสัมมาสมาธิด้วยองค์ 5 ประการ คือ การไล่มาตามลำดับของการได้มาซึ่งฌานทั้ง 4 และปัจจเวกขณนิมิต จะได้ทราบอุปมาอุปไมยของการได้มาซึ่งฌานนั้น ๆ การเห็นอะไรจึงจะเลื่อนขึ้นในฌานที่สูงขึ้นไปละเอียดลงไปได้ ก็ต้องขจัดความหยาบของฌานที่ได้อยู่แล้วจึงจะพัฒนาต่อไปได้ เมื่อได้ฌานทั้ง 4 บวกกับปัจจเวกขณนิมิต คือ ญาณในการรู้ว่าเรามีเราละอะไรได้ จะทำให้ละเอียดขึ้นได้อย่างไร และการเห็นองค์ประกอบต่าง ๆ ในฌานต่าง ๆ ได้ชัดเจน จิตใจของคนเราถ้ามีสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ 5...
Published 04/19/24
การได้พบหรือได้ไปเยี่ยมเยียนพระสงฆ์นั้น จะเป็นทางมาแห่งกุศลบุญหลายประการ ทำให้มีโอกาสได้กราบไหว้ ถวายทานในพระสงฆ์ ได้ฟังธรรมและสอบถามธรรมะ โดยในข้อที่ #29_ทุติยปริหานิสูตร ข้อที่ #30_วิปัตติสูตร และ ข้อที่ #31_ปราภวสูตร มีนัยยะทิศทางเดียวกัน คือ ธรรมที่เป็นเหตุแห่งความไม่เสื่อมโดยเน้นมาที่อุบาสกและอุบาสิกา ได้แก่ ไม่ละเลยการเยี่ยมเยียนพระสงฆ์ การฟังธรรมโดยไม่คิดเพ่งโทษ ศึกษาในอธิศีล ได้ให้ทานและมีความเลื่อมใส่ในสงฆ์    ข้อที่ 32-33-34-35...
Published 04/12/24
เมื่อเราลองพิจารณาดูธรรมทั้งหลาย (สิ่งทั้งหลาย) ที่เรารับรู้ได้นั้น ล้วนต่างอาศัยเหตุปัจจัยในการเกิดขึ้น มีอยู่ และดับไปของสิ่งเหล่านั้น เมื่อธรรมทั้งหลายไม่เที่ยงมีสภาพแปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัยจึงว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน คือตกอยู่ภายใต้กฏของ “ไตรลักษณ์” “อปริหานิยธรรม และ ปริหานิยธรรม” ก็เช่นเดียวกัน ล้วนต่างมีเหตุที่ทำให้เจริญและเหตุที่ทำให้เสื่อม ว่าให้เข้าใจได้โดยง่ายคือ ต่างอาศัยเหตุปัจจัยในการมีอยู่และดับไปนั่นเอง   ข้อที่ #27_สัญญาสูตร ว่าด้วยสัญญาที่เป็นอปริหานิยธรรม กล่าวคือ สัญญา...
Published 04/05/24
สิ่งดีงามต่างๆ ถ้าได้ไปอยู่ในมือของผู้ที่มีความเห็นที่ถูกต้อง เป็น “สัมมาทิฏฐิ” สิ่งนั้นจะเป็นไป “เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข เพื่อประโยชน์กับตนเองและผู้อื่น”  และในสิ่งดีงามที่มีอยู่เช่นเดิม ถ้าไปอยู่ในมือของผู้ที่มีความเห็นผิด เป็น “มิจฉาทิฏฐิ” สิ่งนั้นจะ “เป็นทุกข์ ไม่เกื้อกูล ไม่เป็นประโยชน์กับตนเองและผู้อื่น”    ปฏิสัมภิทาปัตตสูตร #ข้อ 86 ผู้ที่ประกอบด้วย ปฏิสัมภิทา 4 (ได้แก่ 1. ปัญญาแตกฉานใน อรรถ, 2.ธรรม, 3. นิรุตติ, 4.ปฏิภาณ) และ มีความขยัน ไม่เกียจคร้าน “ย่อมเป็นที่รัก...
Published 03/29/24
ทบทวน #ข้อ 215 - #ข้อ 126 ว่าด้วยความไม่อดทน โดยได้ยกเอา เวปจิตติสูตร มาอธิบายเสริมทำความแจ่มแจ้งในเรื่องของการวางจิตในความอดทนเพื่อให้เป็นปัญญา “ผู้ใดแล.. เป็นคนมีกำลัง อดกลั้นต่อคนพาลไว้ได้ ความอดกลั้นของผู้นั้น บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เป็นขันติอย่างยิ่ง” ปฐม-ทุติยอปาสาทิกสูตร #ข้อ 217 - 218 โทษของบุคคลผู้ไม่น่าเลื่อมใส(ทำผิดวินัย) สูตร 1-2 คือ แม้ตนก็ติเตียนตนเอง ผู้รู้ติเตียน ชื่อสียงไม่ดีกระฉ่อนไป หลงลืมสติตาย ตายแล้วไปเกิดในอบาย คนที่ยังไม่เลื่อมใสย่อมไม่เลื่อมใส...
Published 03/22/24
อวชานาติสูตร #ข้อ141 บุคคล 5 จำพวก (ปุถุชน) มีปรากฏอยู่ คือ 1) บุคคลให้แล้วดูหมิ่นผู้รับ 2) อยู่ร่วมกันแล้วดูหมิ่นในศีล 3) เป็นคนเชื่อง่าย หูเบา 4) เป็นคนโลเล ศรัทธาหัวเต่า และ 5) ผู้เขลา ไม่รู้จักธรรมดำธรรมขาว   อารภติสูตร #ข้อ142 บุคคล 5 จำพวก คือ บุคคลจำพวกที่ 1-4 มี ศีล สมาธิ สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์บ้าง และมีปัญญาพอประมาณ เมื่อละอาสวะที่เกิดจากการต้องอาบัติและวิปปฏิสาร และเจริญซึ่งสมถะกับวิปัสสนา ก็จะทัดเทียมจำพวกที่ 5 คือ อรหันต์   สารันททสูตร #ข้อ143 เจ้าลิจฉวี ได้สนทนากันเรื่อง “แก้ว 5...
Published 03/15/24
อปริหานิยธรรม 7 ประการ ของภิกษุ หรือ ภิกขุปริหานิยธรรม 7 (ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียวสำหรับภิกษุทั้งหลาย) ซึ่งได้แสดงจำแนกไว้หลายนัยยะ ข้อที่ 23_ปฐมสัตตกสูตร (สูตรที่ ๑) หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์  พร้อมเพรียงกันประชุม - เลิกประชุม - ทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงบัญญัติ ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายตามที่บัญญัติไว้ เคารพนับถือภิกษุผู้เป็นผู้ใหญ่...
Published 03/08/24
#25_อนุสสติฏฐานสูตร เมื่อตามระลึกถึงอนุสสติฏฐาน 6 ประการนี้แล้ว จิตย่อมไม่ถูกกิเลสกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรง ทำจิตบริสุทธิ์ขึ้นมาได้ อันได้แก่ 1) พุทธานุสสติ 2) ธัมมานุสสติ 3) สังฆานุสสติ 4) สีลานุสสติ 5) จาคานุสสติ 6) เทวตานุสสติ #26_มหากัจจานสูตร พระมหากัจจานะได้ปรารภการ “บรรลุช่องว่างในที่คับแคบ” ซึ่งหมายถึง อนุสสติฏฐาน 6 ที่ประกอบด้วยจิตอันไพบูลย์เป็นมหัคคตะ คือ ไม่ว่าเราจะถูกบีบคั้นจากอายตนะ 6 อย่างไร ถ้าเราจัดการจิตเราได้อย่างถูกต้องย่อมบรรลุถึงนิพพานได้ #27_#28_ปฐม_ทุติยสมยสูตร...
Published 03/01/24
อปริหานิยธรรม (ราชอปริหานิยธรรม) 7 ประการ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสแสดงแก่เจ้าวัชชีทั้งหลายผู้ปกครองรัฐโดยระบอบสามัคคีธรรม ซึ่งรัฐคู่อริ (แคว้นมคธ) ยอมรับว่า เมื่อชาววัชชียังปฏิบัติตามหลักธรรมนี้ จะเอาชนะด้วยการรบไม่ได้ นอกจากจะใช้การเกลี้ยกล่อมทางการฑูตหรือยุแยกให้แตกสามัคคีกัน    #22_วัสสการสูตร พระเจ้าอชาตศัตรู มีพระประสงค์จะโค่นล้มพวกเจ้าลิจฉวีจึงรับสั่งให้ วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์ ไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อกราบทูลถาม..ฯ...
Published 02/23/24
#21_สามกสูตร พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่วิหารโปกขรณีย์ ใกล้หมู่บ้านสามะ ทรงปรารภเทวดาที่มาเข้าเฝ้ากราบทูลถึงธรรมที่เป็นไปเพื่อความเสื่อม 3 ประการ คือ 1) เป็นผู้ชอบการงาน 2) ชอบการพูดคุย 3) ชอบการนอนหลับ และพระองค์ทรงแสดงปริหานิยธรรมเพิ่มอีก 3 ประการ ให้แก่ภิกษุทั้งหลาย คิอ 4) ชอบคลุกคลีด้วยหมู่ 5) เป็นผู้ว่ายาก 6) มีปาปมิตร (มิตรชั่ว) #22_อปริหานิยสูตร อปริหานิยธรรม (ธรรมที่ไม่เป็นเหตุแห่งความเสื่อม) คือ ยกเอาธรรมในข้อ #21 ทั้ง 6 ประการ มากล่าวถึงในทางตรงข้ามกัน #23_ภยสูตร คำว่า ‘ภัย...
Published 02/16/24
จิตที่ไม่นุ่มนวล เพราะถูกกิเลสรัดตรึงไว้ จิตจะไม่ก้าวหน้า ให้เราเอาเครื่องขวางนี้ออก จิตของเราจะมีการพัฒนา บรรลุธรรมได้    กิมพิลสูตร #ข้อ 201 ท่านกิมพิละได้ทูลถามพระพุทธเจ้าถึงเหตุปัจจัยให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้ไม่นานเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว นั่นก็คือพุทธบริษัท 4 นี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระรัตนตรัย ในสิกขา และ ในกันและกัน   ธัมมัสสวนสูตร #ข้อ 202 การฟังธรรมจะมีอานิสงส์ 5 ประการ คือ ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว บรรเทาความสงสัยเสียได้ ทำให้มีความเห็นตรง...
Published 02/09/24
มุณฑราชวรรค หมวดว่าด้วยพระเจ้ามุณฑราช เริ่มด้วยข้อที่ 42 สัปปุริสสูตร เพราะมีความเกี่ยวเนื่องด้วยข้อที่ 40 ไส้ในเหมือนกัน หัวข้อและอุปมาต่างกัน ในข้อที่ 42 นี้คือ คนดีเกิดมาเพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก คนดีดูได้ที่ ศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา ท่านอุปมาเฆฆฝนที่ตั้งขึ้นย่อมมีคุณต่อชาวนาในการเพาะปลูก   ข้อที่ 41 อาทิยสูตร บุคคลที่มีโภคทรัพย์แล้ว ควรถือประโยชน์จากทรัพย์นั้นให้ครบทั้ง 5 ประการ เพราะแต่ละข้อให้ประโยชน์แตกต่างกัน ควรจะขวนขวายเอาให้หมดจากเงินแม้น้อยหรือมากที่เรามีก็ตาม...
Published 02/02/24
“อปริหานิยธรรม” หมายถึง ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดความเจริญโดยส่วนเดียวไม่มีความเสื่อมเลย ความเจริญ ในที่นี้หมายถึงความเจริญด้วยคุณธรรมมีศีลเป็นต้น ซึ่งในข้อที่ 21 และข้อที่ 22 ได้แสดงถึงอปริหานิยธรรม 7 ประการที่เหมือนกัน และมีเนื้อหาที่สัมพันธ์กัน เป็นเรื่องราวของพวกชาววัชชี โดยในข้อที่ #21_สารันททสูตร พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอปริหานิยธรรมแก่พวกเจ้าลิจฉวี และข้อที่ #22_วัสสการสูตร พระเจ้าอชาตศัตรู มีพระประสงค์จะโค่นล้มพวกเจ้าลิจฉวีจึงรับสั่งให้ วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์...
Published 01/26/24
Q: ประสบปัญหาสูญเสียดวงตา เคยคิดฆ่าตัวตายแต่ไม่กล้า / คาถา “อะทาสิ เม อะกาสิ เม” ที่ใช้สวดในงานศพมีความหมายอย่างไร? A: ผู้ที่ประสบปัญหาแล้วแต่มีความกล้าหาญที่จะเผชิญหน้ากับปัญหานั้น เราเรียกความกล้าหาญของผู้นี้ว่า "เป็นผู้ที่มีดวงตาเห็นธรรม” / “อะทาสิ เม อะกาสิ เม” แปลได้ว่า “ทานที่ให้แล้ว บุญที่กระทำแล้วมีผล” หมายความว่า ทาน ศีล ภาวนา ที่เราได้กระทำไว้ไม่สูญเปล่าย่อมส่งผลทั้งในโลกนี้และโลกหน้า Q: เมื่อประสบความทุกข์อยู่ต่อหน้าอะไรคือทางออก? A: สติคือทางออกอย่างแรกเลย...
Published 01/20/24
การที่เราจะมาพิจารณาเห็นความเป็นสุขในนิพพานได้นั้น ต้องอาศัยการลงมือปฏิบัติตามอริยมรรค เพื่อให้เข้าใจทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ และปัญญาที่จะเห็นแจ้งในการดับทุกข์ ซึ่งในข้อที่ #19_นิพพานสูตร ได้เน้นถึงการมีสัญญาเห็นอยู่บ่อย ๆ ใน “ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา” ในสังขารทั้งหลายและการดับลงแห่งสังขารทั้งหลายของอนาคามีและอรหันต์ 7 จำพวกซึ่งเป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวายฯลฯ.. เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก *การมีสติตั้งมั่นในสติปัฏฐาน 4 จะทำให้เราเห็นแจ้งตามความเป็นจริงในสังขารทั้งหลาย...
Published 01/12/24
ขยายความในข้อที่ 14 ให้เห็นถึงลักษณะของโสดาบันในสไตล์การบรรลุที่ต่างกัน ไล่มาตั้งแต่โสดาปัตติมรรคคือธัมมานุสารีและสัทธานุสารีนี้เป็นมรรคให้เกิดผลในกายสักขี ทิฏฐิปัตตะ สัทธาวิมุตติ ส่วนในสองข้อแรกคืออรหันต์ ต่อมาในข้อที่ 15 เปรียบด้วยบุคคลผู้ตกน้ำ เป็นอุปมาอุปไมยการท่วมทับจากกามจนจมน้ำ จนถึงกายแห้งขึ้นบกคืออรหันต์ โดยมีอินทรีย์ 5 เป็นตัววัดในการพัฒนาของบุคคลทั้ง 7 ประเภทนี้ คือ 1) จมแล้ว จมเลย=ดำมืด ไม่มีกุศลธรรม 2) โผล่แล้ว จมลงอีก=มีอยู่แต่ไม่คงที่ 3) โผล่แล้ว หยุดอยู่=คงที่ 4) โผล่แล้ว...
Published 01/05/24
อนุสัย หมายถึง ความเคยชิน เป็นกิเลสอย่างละเอียดที่ตกตะกอนนอนแนบนิ่งอยู่ในจิต คือทุกครั้งที่จิตของเราเกิดกิเลสขึ้น มันจะทิ้งคราบคือความเคยชินไว้ให้เสมอ พอมีอะไรมากระทบอารมณ์มันจะแสดงตัวออกมาทันที ยิ่งถ้าเกิดกิเลสขึ้นมาบ่อยๆก็จะยิ่งมีอนุสัยมากขึ้น    ข้อที่ #10_มัจฉริยสูตร สังโยชน์ หมายถึง สิ่งที่ผูกจิตให้ติดอยู่ในภพ ได้แก่ สังโยชน์ คือ ความยินดี, ความยินร้าย, ความเห็นผิด ความลังเลสงสัย, ความถือตัว, ความริษยา (ตนเองไม่มี-แต่คนอื่นมี), ความตระหนี่ (ตนเองมี-แต่ไม่ให้)   ข้อที่...
Published 12/29/23
ข้อที่ #7_อุคคสูตร เป็นเรื่องราวของอุคคมหาอำมาตย์ที่ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงความเป็นผู้มีทรัพย์มากของมิคารเศรษฐีผู้เป็นหลานของโรหณเศรษฐี พระผู้มีพระภาคจึงทรงได้แสดงถึงทรัพย์เหล่านั้นว่า เป็นของสาธารณะทั่วไป แล้วได้ทรงแสดงถึง “อริยทรัพย์ 7 ประการ” ได้แก่ ทรัพย์คือ ศรัทธา, ศีล, หิริ, โอตตัปปะ, สุตะ, จาคะ และปัญญา ที่ไม่ใช่ของสาธารณะกับบุคคลอื่น ยิ่งใช้ยิ่งเพิ่ม และนำติดตัวข้ามภพชาติไปด้วยได้ *อริยทรัพย์นี้เมื่อเจริญให้มากก็ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์อันมากด้วยเช่นกัน...
Published 12/22/23
ข้อธรรมะ 7 ประการในหมวดธนวรรค ที่ว่าด้วยอริยทรัพย์ คือ ทรัพย์อันประเสริฐที่เมื่อมีอยู่ในจิตใจของผู้ใดแล้วจะทำให้ผู้นั้นเป็นบุคคลประเสริฐขึ้นมาได้อย่างแท้จริง ทรัพย์ในที่นี้จึงหมายถึงธรรมะที่ทำให้ผู้นั้นเป็นคนประเสริฐหรืออริยบุคคลได้แก่ ข้อ#1 และ ข้อ#2 ธรรมที่เป็นเหตุให้เป็นที่รักที่พอใจเป็นที่น่าเคารพยกย่อง ได้แก่ 1. เป็นผู้ไม่มุ่งลาภ (สิ่งของ,เงินทอง) 2. ไม่มุ่งสักการะ (ยกย่อง) 3. ไม่มุ่งชื่อเสียง (มีหน้ามีตา) 4. เป็นผู้มีหิริ (ละอายบาป) 5. มีโอตตัปปะ (กลัวบาป) 6. มักน้อย (ไม่โอ้วอวด) /...
Published 12/15/23
มาในพลวรรค ข้อที่ 11 - 14 อธิบายโดยรวมได้ดังนี้ พละ 5 เป็นธรรมที่องอาจ เป็นการบันลือสีหนาทของพระพุทธเจ้า ทำให้เราได้ฟังได้ยินในสิ่งที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน พละ คือ กำลัง มี 5 อย่าง ได้แก่ ศรัทธา คือ ความมั่นใจความเลื่อมใส ความลงใจในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า แม้เอ่ยเพียงหนึ่งแต่ให้เข้าใจว่ารวมทั้งหมด “พุทธ ธรรม สงฆ์” เป็นศรัทธาที่ไม่เศร้าหมอง เพราะศรัทธาในสัมมาสัมพุทโธ มีศรัทธาแล้วจะทำให้ไม่ลังเลที่จะทำจริงแน่วแน่จริงมีความกล้าในการเผชิญหน้ากับทุกข์ (วิริยะ) เห็นตามจริง สติเกิดขึ้น...
Published 12/08/23
ข้อที่ #119-139 ได้กล่าวถึงคุณธรรมของอริยบุคคลขั้นผลของคหบดี 20 ท่าน โดยใน 10 ท่านแรกเป็นอุบาสกผู้เลิศ (เอตทัคคะ) ซึ่งคุณธรรมที่จะทำให้เป็นผู้เชื่อมั่นในตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งอมตธรรม มีอยู่ 6 ประการ คือ มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธ (๑) พระธรรม (๒) พระสงฆ์ (๓) อริยศีล (๔) อริยญาณ (๕) และ อริยวิมุตติ (๖) *ความเลี่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หมายถึง ความเชื่อมั่นในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เชื่อมั่นในธรรมข้อปฏิบัติ (อริยศีล) ที่เมื่อปฏิบัติตามแล้วจะเป็นผู้ที่มีปัญญา...
Published 12/01/23
มหาวรรคหมวดว่าด้วยเรื่องใหญ่ พระสูตรที่น่าสนใจ คือ # 193_ภัททิยสูตร: มนต์ใดที่พระพุทธเจ้ากล่าวแล้วทำให้ภัททิยะเปลี่ยนไป ตั้งใจจะมาถามแต่เกรงโดนมนต์เปลี่ยนใจ มนต์นั้นเป็นความจริงหรือ พระพุทธเจ้าได้ตอบให้คิดกลับว่า ในความเชื่อ 10 อย่างที่เขาเชื่อกันอยู่นั้น ให้ละเสีย แล้วให้พิจารณาจากสิ่งใดที่ทำแล้วสามารถละโลภะ โทสะ โมหะ และสารัมภะได้ ควรทำ เพราะจะทำให้เกิดกุศล สิ่งใดที่ทำแล้วก่อให้เกิดโลภะ โทสะ โมหะ หรือสารัมภะ สิ่งนั้นก่อให้เกิดอกุศลธรรมบท 10 อย่าอ้างในนามของความดี ฉันขอทำความชั่ว...
Published 11/24/23
การมาศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อให้เกิดผลที่ดีงามนั้น ควรจะศึกษาด้วยการปฏิบัติ (สิกขา) คือ ปริยัติและปฏิบัติจะต้องควบคู่กันไป ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติของเรานั้น มีความละเอียดลึกซึ้งขึ้นมาได้ #116_อุทธัจจสูตร ว่าด้วยความฟุ้งซ่าน •ควรเจริญสมถะ (ความสงบแห่งจิต) เพื่อละ อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) - ความคิดในหลายๆ เรื่องที่เป็นอกุศล •ควรเจริญสังวร (ความสำรวม) เพื่อละ อสังวร (ความไม่สำรวม) •ควรเจริญอัปปมาทะ (ความไม่ประมาท) เพื่อละ ปมาทะ (ความประมาท) *การที่จะให้เกิดความสงบในจิตขึ้นมาได้นั้น...
Published 11/17/23
ในติกวรรคนี้แบ่งธรรมออกเป็น 2 หมวด หมวดละ 3 ข้อ โดยใน 3 ข้อแรกจะเป็นฝ่าย “อกุศล” และธรรม 3 ข้อหลังจะแสดงเพื่อละธรรมใน 3 ข้อแรกนั้น #114_สันตุฏฐิตาสูตร ว่าด้วย ความสันโดษ ธรรมในหมวดนี้ คือ อสันตุฏฐิตา (ความไม่สันโดษ) / อสัมปัชชัญญะ (ความไม่มีสัมปชัญญะ) / มหิจฉตา (ความปรารถนามาก)  • ควรเจริญสันตุฏฐิตา (ความสันโดษ) เพื่อละอสันตุฏฐิตา  • ควรเจริญสัมปชัญญะ (มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม) เพื่อละอสัมปัชชัญญะ • ควรเจริญอัปปิจฉตา (ความปรารถนาน้อย) เพื่อละมหิจฉตา *สันโดษ มักน้อย มักจะเป็นวลีที่มาคู่กันเสมอ...
Published 11/10/23