Episodes
หมวดธรรมติกวรรคนี้ แบ่งธรรมออกเป็นหมวดละ 3 ข้อ โดยยกธรรม 3 ข้อแรกขึ้นมาแสดง แล้วตามด้วยธรรม 3 ข้อหลังเพื่อการละธรรม 3 ข้อแรกนั้น   #107_ราคสูตร ว่าด้วย ราคะ โทสะ โมหะ 1. ควรเจริญอสุภะ (ความเป็นของไม่งาม-ปฏิกูล) เพื่อละ ราคะ 2. เจริญเมตตา เพื่อละ โทสะ - ลักษณะของเมตตาที่เป็นไปเพื่อละโทสะ คือ 1. ไม่มีเงื่อนไข 2. ไม่มีประมาณ 3. ไม่มียกเว้นใคร 3. เจริญปัญญา เพื่อละ โมหะ - ปัจจัยส่งเสริมให้เกิดปัญญา คือ กัลยาณมิตร (มีพระรัตนตรัยเป็นสรณะ และเลือกคบคนดี) และการโยนิโสมนสิการ #108_ทุจจริตสูตร ว่าด้วย...
Published 10/27/23
#17_โสปปสูตร พระผู้มีพระภาคทรงตรัสกับพวกภิกษุผู้บวชใหม่ โดยทรงชี้ให้เห็นโทษของ “ผู้ที่หาความสุขจากการนอน” โดยได้ยกตัวอย่างบุคคล 6 ประเภทขึ้นมาเปรียบอุปไมยกับภิกษุ แล้วทรงชี้ให้เห็นคุณของ “การสำรวมอินทรีย์ รู้ประมาณในการบริโภค หมั่นประกอบในธรรมอันเป็นเครื่องตื่น ให้เห็นแจ้งในกุศลธรรมทั้งหลาย และเพียรเจริญโพธิปักขิยธรรม” ซึ่งจะทำให้ถึงความสิ้นอาสวะได้  #18_มัจฉพันธสูตร พระผู้มีพระภาคทรงปรารภเรื่อง “การเลี้ยงชีพด้วยการฆ่าเพื่อขาย” ของ คนฆ่าปลา ฆ่าโค ฆ่าแกะ ฆ่าสุกร พรานนก และพรานเนื้อ...
Published 10/20/23
การมาเห็นสังขารทั้งหลาย (ขันธ์ 5) เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วเห็นอย่างไม่จำกัดขอบเขต จะเกิดอานิสงส์อย่างมาก จิตน้อมไปสู่กระแสนิพพาน “อนุโลมิกขันติ” จะหยั่งลงสู่ระบบความเห็นที่ถูกต้อง คือ “สัมมัตตนิยาม” และจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ข้อที่ 102-104 ว่าด้วย เรื่องอานิสงส์ 6 ประการ ที่เกิดขึ้นจากเห็น “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” ในสังขารทั้งหลาย เป็นการเห็นอย่างไม่มีขอบเขต #102_อนวัฏฐิตสูตร เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง “อนิจจสัญญา” อานิสงส์ คือ เมื่อเห็นความไม่เที่ยงแล้ว จิตจะไม่ยินดี...
Published 10/13/23
“อนุโลมิกขันติ” คือ กระแสแห่งธรรมที่เป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพาน ผู้ที่เข้าถึงกระแสนี้แล้ว ย่อมเห็นความกฏไตรลักษณ์ในสังขารทั้งหลาย เป็นผู้ที่มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า   #96_ปาตุภาวสูตร การปรากฏขึ้นของเหตุ 6 ประการนี้ หาได้ยากในโลก ได้แก่ 1.      การปรากฏขึ้นของพระพุทธเจ้า 2.      บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ 3.      ผู้เกิดในถิ่นที่มีคำสอนของพระพุทธเจ้า 4.      ความมีอินทรีย์ไม่บกพร่อง คือ มีความปกติทางกายและจิตใจ (อินทรีย์ 5) 5.      ไม่โง่เขลา 6.      พอใจในกุศลธรรม #97_อานิสังสสูตร...
Published 10/06/23
อริยบุคคล คือ บุคคลผู้ประเสริฐ ผู้เข้าถึงกระแสแห่งพระนิพพาน มี 8 จำพวก แบ่งได้เป็น 4 คู่ ซึ่งในแต่ละคู่นั้น แบ่งออกเป็นขั้นอริยมรรค และขั้นอริยผล โสดาบัน คือ อริยบุคคลพวกแรกที่เข้าถึงกระแสแห่งพระนิพพาน ประเภทของโสดาบัน แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ เอกพีชี, โกลังโกละ, สัตตักขัตตุงปรมะ คุณสมบัติที่ทำให้เป็นโสดาบันทั้งในขั้นมรรคและขั้นผลนั้น ก็จะประกอบไปด้วย โสตาปัตติยังคะ 4 (ผู้มีศรัทธาหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัย และมีศีลบริบูรณ์) และในขั้นผลก็จะละสังโยชน์เบื้องต่ำ 3 ประการแรกได้ (สักกายทิฏฐิ...
Published 09/29/23
ในอริยบุคคลนั้น จะประกอบด้วยขั้นมรรคและขั้นผล ผู้ที่ได้อริยบุคคลขั้นผลแล้ว ก็ต้องผ่านการทำเหตุมาก่อน คือ ผ่านขั้นมรรคมาก่อน “มรรค” จึงเป็นทางดำเนิน (แนวทางการปฏิบัติ) ให้ไปสู่ความเป็นอริยบุคคลขั้นผลในระดับต่างๆ ข้อ 89-91 เป็นธรรมที่มีไส้ในทั้ง 6 ประการที่เหมือนกัน แต่มีนัยยะหัวข้อที่เกี่ยวเนื่องด้วยเรื่องของโสดาบันที่แตกต่างกันออกไป โดยธรรม 6 ประการนี้ คือ 1. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นอัตตา) คือ เห็นขันธ์ 5 เป็นตัวตน เที่ยงแท้ ยังยืน จีรัง ถาวร *ตรงข้ามกับ “สัมมาทิฏฐิ” 2. วิจิกิจฉา คือ...
Published 09/22/23
“สัมมัตตนิยาม” หมายถึง ระบบความเห็นที่ถูกต้อง คือ อริยมรรคมีองค์ 8 หรือ ความเป็นโสดาบันขั้นมรรคหรือผล ชึ่งในพระสูตรข้อที่ 86–88 นี้ เป็นธรรมที่มีหัวข้อเหมือนกัน เปรียบเทียบคู่ตรงข้ามของธรรม 6 ประการ ที่เมื่อบุคคลแม้ฟังธรรมอยู่ จะก้าวลงสู่ระบบความเห็นที่ถูกต้อง คือ สัมมัตตนิยาม จะได้หรือไม่ได้นั้น มีธรรมอะไรบ้าง #86_อาวรณตาสูตร 1. เป็นผู้ไม่มีกรรมเป็นเครื่องกั้น - ไม่ได้ทำอนันตริยกรรม 5 (ฆ่ามารดา บิดา พระอรหันต์ ทำพระพุทธเจ้าให้ห้อเลือด ทำสงฆ์ให้แตกกัน) 2. เป็นผู้ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องกั้น -...
Published 09/15/23
#83_ อัคคธัมมสูตร (เป็นธรรมคู่ตรงข้าม-ทำให้แจ้งหรือไม่แจ้งอรหัตผล) ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้ เป็นผู้อาจทำให้แจ้งอรหัตผล คือ 1. เป็นผู้มีศรัทธา-ศรัทธาในพระรัตนตรัย (ระดับของศรัทธา คือ “อมูลิกาศรัทธา” เชื่อแบบงมงาย ไม่มีมูลเหตุผล, “อาการวตีศรัทธา” ประกอบด้วยปัญญา เข้าใจเหตุผล-เหตุปัจจัย, “อจลศรัทธา” โสดาบัน ไม่หวั่นไหว) 2. เป็นผู้มีหิริ (ละอาย) 3. โอตตัปปะ (เกรงกลัวต่อบาป) 4. เป็นผู้ปรารภความเพียร-ทำจริงแน่วแน่จริง อกุศลลดลง-กุศลเพิ่มขึ้น 5. เป็นผู้มีปัญญา-3 ระดับ (สุตมยปัญญา...
Published 09/08/23
ทบทวนข้อ #79_อธิคมสูตร เป็นธรรมคู่ตรงข้าม หลักธรรมข้อนี้เป็นการสร้างนิสัยที่ดี และกำจัดนิสัยที่ไม่ดีในชีวิตประจำวัน 1. เป็นผู้ฉลาดในความเจริญ (เหตุทำให้เกิดกุศลธรรม) 2. เป็นผู้ฉลาดในความเสื่อม (เหตุทำให้เกิดอกุศลธรรม) 3. เป็นผู้ฉลาดในอุบาย (วิธีการ / ทางแก้) 4. สร้างฉันทะเพื่อบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ (ความพอใจในการทำกุศลธรรม) 5. รักษากุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้ว 6. ทำกุศลธรรมให้ถึงพร้อมด้วยการทำติดต่อ (ทำให้ติดต่อต่อเนื่องกันไป)   #80_มหัตตสูตร ผู้ประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้ ไม่นานนัก...
Published 09/01/23
#78_สุขโสมนัสสสูตร ผู้ประกอบด้วยธรรม 6 การนี้ จะเป็นเหตุให้มีสุขโสมนัส (เนกขัมมะสุข คือ สุขที่เกิดจากการออกจากกาม) และถึงความสิ้นอาสวะ ได้แก่ 1.      เป็นผู้ยินดีในธรรม 2.      เป็นผู้ยินดีในภาวนา (ทำให้เจริญ / พัฒนา) 3.      เป็นผู้ยินดีในการละ (ละสิ่งที่เป็นอกุศลธรรมทั้งหลาย) 4.      เป็นผู้ยินดีในปวิเวก (สงัดจากเสียงและการคลุกคลีด้วยหมู่) 5.      เป็นผู้ยินดีในความไม่พยาบาท (คิดปองร้ายเพ่งไปที่ภายนอก) เริ่มจากความไม่เพลินไปในปฏิฆะ (ความขัดเคือง) -> โกรธ (คิดอยู่ภายใน) -> พยาบาท...
Published 08/25/23
#75_ทุกขสูตร ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เร่าร้อน หลังจากตายแล้ว พึงหวังได้ทุคติ คือ คิดตริตรึกหมายรู้ไปในกาม พยาบาท และเบียดเบียน (วิหิงสา) และธรรมคู่ต่างกันที่เมื่อประกอบแล้วย่อมอยู่เป็นสุข คือ คิดตริตรึกหมายรู้ออกจากกาม พยาบาท และเบียดเบียน *วิหิงสา นอกจะมีความหมายว่าเบียดเบียนแล้ว อาจจะมีความหมายได้อีกว่า เป็นการกระทำที่ไร้ผล เปล่าประโยชน์ #76_อรหัตตสูตร ผู้ที่ละธรรม 6 ประการนี้ได้ หรือ ไม่ได้ ย่อมทำให้แจ้ง หรือมิอาจแจ้งซึ่งอรหัตผลได้ คือ มานะ (ความถือตัวว่ามีตัวตน...
Published 08/18/23
อุปสรรคที่จะมาเป็นเครื่องกั้นเครื่องขวางทำให้เราเข้าฌานสมาธิไม่ค่อยได้ นอกจากข้อใดข้อหนึ่งในนิวรณ์ 5 แล้ว ยังมีเหตุอะไรอีกบ้าง ที่เป็นเหตุทำให้ได้บรรลุหรือมิอาจบรรลุปฐมฌานได้ ปฐม-ทุติยตัชฌานสูตร เป็นธรรมคู่ตรงข้าม ที่เมื่อละธรรม 6 ประการนี้ได้ หรือยังละไม่ได้ จะเป็นเหตุให้บรรลุ หรือมิอาจบรรลุปฐมฌาน   #73_ปฐมตัชฌานสูตร 1. กามฉันทะ คือ ความพอใจ กำหนัด ยินดีในวัตถุกามที่ทำให้เกิดกามสัญญา และกามวิตกตามมา 2. พยาบาท คือ ความคิดร้าย เริ่มจากความขัดเคืองเล็กน้อยกลายเป็น -> ความโกรธ...
Published 08/11/23
#69_เทวตาสูตร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุทั้งหลาย ทรงปรารภถึงเทวดาตนหนึ่งที่เข้ามากราบทูลเรื่องธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม คือ ความเป็นผู้เคารพในพระพุทธ, พระธรรม, พระสงฆ์, สิกขา, เป็นผู้ว่าง่าย, ความเป็นผู้มีมิตรดี เมื่อท่านพระสารีบุตรได้ฟังจบแล้วก็ได้ทำความละเอียดในธรรมอีก 4 อย่างแต่ละหัวข้อ คือ ตัวเองเป็นเอง / สรรเสริญคนที่เป็น / ชักชวนผู้อื่นให้มาเป็น / ประกาศคุณของผู้ที่ทำได้ขึ้นมา #70_ สมาธิสูตร ว่าด้วยสมาธิที่มีความสงบ ปราณีต ระงับ เป็นหนึ่ง เป็นผลให้ได้วิชชา 6 คือ...
Published 08/04/23
#64_สีหนาทสูตร กำลังของตถาคต 6 ประการ เป็นเหตุให้บรรลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท คือ 1.      รู้ชัดฐานะ (สิ่งที่มีได้ เป็นได้) และอฐานะ (เป็นไปไม่ได้ มีขึ้นไม่ได้) ในโลกนี้ตามความเป็นจริง 2.      รู้เรื่องกรรมและผลของกรรม 3.      สามารถเข้า-ออกฌานวิโมกข์ สมาธิ สมาบัติได้อย่างคล่องแคล่ว 4.      ระลึกชาติได้หลายชาติ (ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ) 5.      เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย (จุตูปปาตญาณ) 6.      ญาณหยั่งรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ...
Published 07/28/23
พระไตรปิฎกสากลอักษรโรมัน – ปาฬิภาสาที่จัดทำขึ้นโดยมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล ได้ทำการตรวจทานเทียบเคียงกับพระไตรปิฎกถึง 13 ฉบับด้วยกัน มีการแบ่งพยางค์และการใช้โน้ตเสียงเข้ามาเพื่อการออกเสียงที่ถูกต้อง ถือได้ว่าเป็นฉบับที่สมบูรณ์ที่สุดชุดแรกของโลก ............ #63_นิพเพธิกสูตร ว่าด้วยธรรมบรรยายที่เป็นเหตุชำแรกกิเลส พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลายโดยให้ทำความรอบรู้-รู้แจ้งในธรรม 6 ประการ ได้แก่ กาม / เวทนา / สัญญา / อาสวะ / กรรม / ทุกข์ และในแต่ละประการก็มีรายละเอียดอีก 6 อย่าง ได้แก่ ลักษณะ /...
Published 07/21/23
สิ่งดี ๆ ที่บุคคลนั้น มีอยู่ เป็นอยู่ หรือที่เราเห็นอยู่ว่าดี เขาอาจจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นไม่ดีหรืออาจจะดีกว่าเดิมยิ่ง ๆ ขึ้นไปก็ได้ และสิ่งไม่ดีที่บุคคลนั้น มีอยู่ เป็นอยู่ ก็อาจจะพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปเป็นดีได้เช่นกัน จึงไม่อาจดูรู้ได้เพียงผิวเผินว่า “ข้างในจิตใจ เขาเป็นอย่างไร” นอกเสียจากเรามีญาณเครื่องรู้เห็นในจิตใจของเขาว่า จิตใจของเขามันจะเจริญขึ้น หรือเสื่อมลงจากสิ่งทึ่เราเห็นอยู่ภายนอก   #62_ปุริสินทริยญาณสูตร พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่ท่านพระอานนท์ ทรงปรารภเรื่องการพยากรณ์พระเทวทัตว่า...
Published 07/14/23
#60_หัตถิสารีปุตตสูตร ท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตรได้พูดสอดขึ้นในระหว่างการสนทนาธรรม จนเป็นเหตุให้ท่านพระมหาโกฏฐิกะได้กล่าวถึงผู้ที่มีคุณสมบัติ 6 ประการแต่หากยังคลุกคลีด้วยหมู่จะเป็นเหตุให้เสื่อมจากธรรมนั้น   #61_มัชเฌสูตร หมู่ภิกษุผู้เป็นเถระได้นั่งประชุมสนทนาธรรมเรื่อง “ติสสเมตเตยยปัญหานิทเทส” โดยแต่ละท่านก็ได้แสดงตามความคิดของตนได้ 6 นัยยะ ได้พากันไปเข้าเฝ้าเพื่อกราบทูลถามพระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงตรัสตอบว่า “ผัสสะเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง เหตุเกิดผัสสะเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง...
Published 07/07/23
#58_อาสวสูตร ผู้ประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ธรรม 6 ประการ คือ อาสวะที่พึงละได้ด้วยการสังวร (การสำรวมอินทรีย์) ด้วยการใช้สอย (พิจารณาปัจจัย 4) ด้วยความอดกลั้น (อดทนด้วยความเข้าใจ) ด้วยการเว้น (หลีกเลี่ยงที่ “อโคจร”) การบรรเทา (ละอกุศลธรรม) และการเจริญ (ทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ 7)   #59_ทารุกัมมิกสูตร พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่ทารุกัมมิกะคหบดี ทรงปรารภเรื่องการทำทานในเนื้อนาบุญ...
Published 06/30/23
พระไตรปิฏกสากล ฉบับสัชฌายะ ถือเป็นพระไตรปิฎก(เสียง)สากลฉบับแรกของโลก โดยมีต้นฉบับจากพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436 โดยตระหนักถึงการออกเสียงปาฬิอย่างถูกต้องก็เพื่อจะรักษาคำสอนเอาไว้ให้สมบูรณ์ที่สุด ซี่งมี 2 ชุด ได้แก่   ชุด ภ.ป.ร. (ต้นฉบับปาฬิภาสา) พ.ศ. 2559 พิมพ์ด้วยอักขระเสียงปาฬิ ซึ่งเป็นนวัตกรรมสัททะอักขะระ-ปาฬิ เป็นการเขียนเสียงที่ละเอียดแม่นตรง   ชุด ส.ก. (โน้ตเสียงปาฬิ) พ.ศ. 2560 พิมพ์ด้วยโน้ตเสียงปาฬิ ซึ่งเป็นชุดสัททสัญลักษณ์ที่เป็นสากลที่สามารถกำหนดจังหวะการแบ่งพยางค์...
Published 06/23/23
พระไตรปิฏกสากล พ.ศ. 2548 “ปาฬิภาสา อักษรโรมัน” (ฉบับมหาสังคีติ) เป็นพระไตรปิฏกฉบับที่จัดทำขึ้นให้มีเนื้อหาที่ถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด โดยนำเอาต้นฉบับมาจากการสังคายนาพระไตรปิฎกนานาชาติ พ.ศ. 2500 (ฉบับฉัฏฐสังคีติ) ในประเทศพม่า ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ทรงเป็นหนึ่งในผู้แทนคณะสงฆ์ไทยที่ได้ร่วมทำการสังคายนาในครั้งนั้นด้วย มาขยายผลตรวจทานแก้ไขจุดบกพร่อง โดยมีการคิดค้นระบบอ้างอิง เพื่อที่จะอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่มาได้ถูกต้อง และการที่เราถอดอักษร (Transliteration)...
Published 06/16/23
พระไตรปิฎก เดิมเรียกว่า “พระธรรมวินัย” (คือ พระธรรม กับพระวินัย) และสาเหตุของการสังคายนาพระไตรปิฎกเนื่องจากมีอธิกรณ์เกิดมากขึ้น จึงจัดให้มีการประชุมของพระสงฆ์เพื่อทำการจัดระเบียบหมวดหมู่หลักคำสอน ประวัติการทำสังคายนาพระไตรปิฎกเกิดขึ้นหลายครั้ง นับตั้งแต่พุทธปรินิพพานจนถึงปัจจุบัน การนับจำนวนก็ยังไม่มีข้อยุติ การทำสังคายนาในประเทศศรีลังกา เมื่อปี พ.ศ. 433 ได้มีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรลงบนใบลานแทนการท่องจำหรือ “มุขปาฐะ” ในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2020 ที่วัดโพธาราม จังหวัดเชียงใหม่...
Published 06/09/23
วันวิสาขบูชา เป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในศาสนาพุทธ 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระโคตมพุทธเจ้า ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติ และปีนี้เป็นปีอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 แทน ............ การทำสังคายนาครั้งที่ 1 ได้จัดขึ้นที่ถ้ำสัตบรรณคูหา เมืองราชคฤห์ ตามคำปรารภของพระมหากัสสปเถระ โดยมีพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภ์ ใช้เวลาในการสังคายนารวบรวมพระธรรมวินัยอยู่ 7 เดือนจึงแล้วเสร็จ การทำสังคายนาครั้งที่ 2...
Published 06/02/23
จุดเริ่มของการสังคายนาพระไตรปิฎก : “สังคายนา” หรือ “สังคีติ” คือ การจัดระเบียบหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นหมวดหมู่ สะดวกแก่การจดจำ (ใช้ระบบท่องจำ) "สังคายนา" หมายถึง สวดพร้อมกัน มีมาตั้งแต่สมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่แล้ว โดยท่านพระสารีบุตรมีการรวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้ามาแสดงตามลำดับหมวด ตั้งแต่หมวดหนึ่ง ไปจนถึงหมวดสิบตามหลักฐานที่ปรากฏในปาสาทิกสูตร และสังคีติสูตร ความแตกต่างของเถรวาท และ อาจริยวาท :  เถรวาท คือ คำสอนที่วางไว้เป็นหลักการพระเถระผู้ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก อาจริยวาท...
Published 05/26/23
สมเด็จฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ผู้ทรงเป็นองค์ประธานกิตติมศักดิ์การเผยแผ่พระไตรปิฎกสากล ตามรอยประวัติศาสตร์พระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436 ซึ่งโครงการพระไตรปิฎกสากลได้เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ พ.ศ. 2548 - ปัจจุบัน 6 พฤศภาคม​ พ.ศ. 2566 นีั​ รัฐบาลไทยจะเริ่มเฉลิมพระเกียรติ​ 100 ปี​ วันประสูติ​ และในต่างประเทศ​ องค์กร​ UNESCO​ ณ​ กรุงปารีส​ จะประกาศยกย่อง​ ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก​ 2023 ............ #51_อานันทสูตร...
Published 05/19/23
พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ พ.ศ. 2559 เป็นนวัตกรรมการพิมพ์ด้วย อักษรเสียงอ่าน ที่เรียกว่า สัญลักษณ์ทางเสียง หรือ "สัททสัญลักษณ์" (Phonetic Symbol) โดยคำว่า สัชฌายะ หมายถึง การท่องจำออกเสียงพระไตรปิฎกให้ขึ้นใจ โดยสร้างขึ้นต่อเนื่องจากการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสากล อักษรโรมัน พ.ศ. 2548 พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ แบ่งเป็น 2 ชุด ได้แก่ 1. ชุด ภ.ป.ร. (ต้นฉบับปาฬิภาสา) 2. ชุด ส.ก. (โน้ตเสียงปาฬิ) ………….. #49_เขมสูตร ท่านพระเขมะ และท่านพระสุมนะ...
Published 05/12/23