อปริหานิยธรรม – ธรรมของภิกษุผู้เจริญ [6710-6t]
Listen now
Description
อปริหานิยธรรม 7 ประการ ของภิกษุ หรือ ภิกขุปริหานิยธรรม 7 (ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียวสำหรับภิกษุทั้งหลาย) ซึ่งได้แสดงจำแนกไว้หลายนัยยะ ข้อที่ 23_ปฐมสัตตกสูตร (สูตรที่ ๑) หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์  พร้อมเพรียงกันประชุม - เลิกประชุม - ทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงบัญญัติ ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายตามที่บัญญัติไว้ เคารพนับถือภิกษุผู้เป็นผู้ใหญ่ เห็นถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งอันควรรับฟัง ไม่ลุอำนาจตัณหาคือความอยากที่เกิดขึ้นยินดีในเสนาสนะป่าตั้งสติระลึกไว้ว่า เพื่อนพรหมจารีผู้มีศีลงาม ซึ่งยังไม่มา ขอให้มา ที่มาแล้ว ขอให้อยู่ผาสุก   ข้อที่ 24_ทุติยสัตตกสูตร (สูตรที่ ๒) ไม่ยินดีในการงาน เช่น การทำจีวร หรืองานก่อสร้างต่าง ๆไม่ชอบการพูดคุย - ไม่สนทนาเรื่องนอกธรรมวินัย (เรื่องกาม)ไม่ชอบการนอนหลับ – อันเป็นเหตุแห่งความหดหู่และเซื่องซึมไม่คลุกคลีด้วยหมู่ไม่ปรารถนาชั่วไม่มีมิตรชั่วไม่หยุดชงักเสียในระหว่างเพียงเพราะได้บรรลุคุณวิเศษชั้นต่ำ  ข้อที่ 25_ตติยสัตตกสูตร (สูตรที่ ๓) คือ ศรัทธา – ศรัทธาอันมั่นคงในพระรัตนตรัย / หิริ / โอตตัปปะ / พหูสูต - สดับฟังธรรม / ความเพียร / สติ / ปัญญา   ข้อที่ 26_โพชฌังคสูตร ว่าด้วยโพชฌงค์ที่เป็นอปริหานิยธรรม ก็คือยกโพชฌงค์ทั้ง 7 ประการมา (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้)   พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต วัชชิสัตตกวรรค ...................................................................................... เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี วันประสูติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ผู้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโล
More Episodes
การไม่ให้จิตตกไปตามอำนาจของกิเลสแต่จะให้มาอยู่ในอำนาจของมรรค 8 ได้นั้น ต่างต้องอาศัยเหตุปัจจัย ซึ่งเหตุปัจจัยหลักนั้นก็คือการมี “สติ” คือจะต้องมีสติสัมปชัญญะเห็นเหตุปัจจัยแห่งการเกิดขึ้น ดำรงอยู่ และดับไปของสมาธิในขั้นต่าง ๆ กล่าวคือจะต้องเป็นผู้ฉลาดในสมาธิและกระทำสมาธิโดยชำนาญในทุกอริยบถ...
Published 05/03/24
คำว่า “มิตรแท้ หรือ กัลยาณมิตร” มีความสำคัญและมีคุณค่ายิ่ง “มิตร” ที่เรามีอยู่เป็นแบบไหน และเราควรจะปฏิบัติตนหรือเลือกคบมิตรแบบใด    ในข้อที่ #36_ปฐมมิตตสูตร และ #37_ทุติยมิตตสูตร ว่าด้วยองค์แห่งมิตร 7 ประการ คือ บุคคลที่ประกอบด้วยฐานะ 7 ประการนี้ ควรเข้าไปคบหาเป็นมิตรด้วย โดยในปฐมมิตตสูตร...
Published 04/26/24