ชื่อว่าอริยบุคคล [6701-6t]
Listen now
Description
ขยายความในข้อที่ 14 ให้เห็นถึงลักษณะของโสดาบันในสไตล์การบรรลุที่ต่างกัน ไล่มาตั้งแต่โสดาปัตติมรรคคือธัมมานุสารีและสัทธานุสารีนี้เป็นมรรคให้เกิดผลในกายสักขี ทิฏฐิปัตตะ สัทธาวิมุตติ ส่วนในสองข้อแรกคืออรหันต์ ต่อมาในข้อที่ 15 เปรียบด้วยบุคคลผู้ตกน้ำ เป็นอุปมาอุปไมยการท่วมทับจากกามจนจมน้ำ จนถึงกายแห้งขึ้นบกคืออรหันต์ โดยมีอินทรีย์ 5 เป็นตัววัดในการพัฒนาของบุคคลทั้ง 7 ประเภทนี้ คือ 1) จมแล้ว จมเลย=ดำมืด ไม่มีกุศลธรรม 2) โผล่แล้ว จมลงอีก=มีอยู่แต่ไม่คงที่ 3) โผล่แล้ว หยุดอยู่=คงที่ 4) โผล่แล้ว เหลียวมองดู=โสดาบัน 5) โผล่แล้ว ข้ามไป=สกทาคามี 6) โผล่แล้ว ได้ที่พึ่ง=อนาคามี และ 7) โผล่แล้ว เข้าถึงฝั่ง=อรหันต์ ข้อที่ 16, 17 และ18 มีความต่างกันตรงเหตุที่ทำให้บรรลุคือการพิจารณาความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา โดยมีพื้นฐานเหมือนข้อที่ 14 โดยในสองข้อแรกหมายถึงอรหันต์ ส่วนข้อที่เหลือหมายถึงอนาคามี 5 ประเภท ที่มีเวลาการบรรลุที่แตกต่างกันตามภพที่ไปเกิด คือ อัตราปรินิพพายี มีอายุไม่ถึงกึ่งก็ปรินิพพาน, อุปหัจจปรินิพพายี อายุเลยกึ่งจึงนิพพาน, อสังขารปรินิพพายี บรรลุโดยไม่ใช้ความเพียรมาก, สสังขารปรินิพพายี ใช้ความเพียรมาก และประเภทสุดท้ายคือ อุทธังโสตอกนิฏฐคามี เลื่อนขั้นไปอกนิฏฐภพจึงปรินิพพาน ใช้เวลานานสุด เหตุปัจจัยที่ทำให้บรรลุธรรมคือหมั่นเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ทำอย่างสม่ำเสมอไม่ขาดระยะ  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
More Episodes
การไม่ให้จิตตกไปตามอำนาจของกิเลสแต่จะให้มาอยู่ในอำนาจของมรรค 8 ได้นั้น ต่างต้องอาศัยเหตุปัจจัย ซึ่งเหตุปัจจัยหลักนั้นก็คือการมี “สติ” คือจะต้องมีสติสัมปชัญญะเห็นเหตุปัจจัยแห่งการเกิดขึ้น ดำรงอยู่ และดับไปของสมาธิในขั้นต่าง ๆ กล่าวคือจะต้องเป็นผู้ฉลาดในสมาธิและกระทำสมาธิโดยชำนาญในทุกอริยบถ...
Published 05/03/24
คำว่า “มิตรแท้ หรือ กัลยาณมิตร” มีความสำคัญและมีคุณค่ายิ่ง “มิตร” ที่เรามีอยู่เป็นแบบไหน และเราควรจะปฏิบัติตนหรือเลือกคบมิตรแบบใด    ในข้อที่ #36_ปฐมมิตตสูตร และ #37_ทุติยมิตตสูตร ว่าด้วยองค์แห่งมิตร 7 ประการ คือ บุคคลที่ประกอบด้วยฐานะ 7 ประการนี้ ควรเข้าไปคบหาเป็นมิตรด้วย โดยในปฐมมิตตสูตร...
Published 04/26/24