อปริหานิยธรรม – ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดความเจริญ [6704-6t]
Listen now
Description
“อปริหานิยธรรม” หมายถึง ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดความเจริญโดยส่วนเดียวไม่มีความเสื่อมเลย ความเจริญ ในที่นี้หมายถึงความเจริญด้วยคุณธรรมมีศีลเป็นต้น ซึ่งในข้อที่ 21 และข้อที่ 22 ได้แสดงถึงอปริหานิยธรรม 7 ประการที่เหมือนกัน และมีเนื้อหาที่สัมพันธ์กัน เป็นเรื่องราวของพวกชาววัชชี โดยในข้อที่ #21_สารันททสูตร พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอปริหานิยธรรมแก่พวกเจ้าลิจฉวี และข้อที่ #22_วัสสการสูตร พระเจ้าอชาตศัตรู มีพระประสงค์จะโค่นล้มพวกเจ้าลิจฉวีจึงรับสั่งให้ วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์ ไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อกราบทูลถาม..ฯ พระผู้มีพระภาคทรงไม่ตรัสตอบแต่ทรงรับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสถามถึงอปริหานิยธรรม 7 ประการของชาววัชชี จึงทำให้วัสสการพราหมณ์มีปัญญาเห็นกลอุบายที่จะโค่นล้มพวกเจ้าลิจฉวีนั่นคือ “ทำให้แตกแยกสามัคคี”   พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต วัชชิสัตตกวรรค .............................................................................. Q & A: จากงาน “ขุมทรัพย์แห่งใจ” Q: ปฏิบัติศีล 8 เฉพาะวันพระได้หรือไม่? A: ศีล คือข้อปฏิบัติที่เป็นผลดีกับผู้ปฏิบัติเอง ควรปฏิบัติให้เป็นปกติในทุกวัน อาจจะเริ่มจาก ศีล 5 ก่อน แล้วค่อยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ที่ละข้อ เป็นศีล 6 -7 - 8 จนเต็มบริบูรณ์   Q: ตั้งจิตแผ่เมตตาให้กับคนที่หวังร้ายได้อย่างไร? A: ให้ตั้งจิตนึกถึง “จิตของผู้ที่เป็นแม่” ที่มีความรักให้กับลูกได้อย่างไม่มีเงื่อนไข และไม่มีประมาณ ไม่ว่าลูกจะดีหรือร้ายกับเราอย่างไร จิตของผู้เป็นแม่ก็ยังคงรักและมีเมตตากับลูกเสมอ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
More Episodes
การไม่ให้จิตตกไปตามอำนาจของกิเลสแต่จะให้มาอยู่ในอำนาจของมรรค 8 ได้นั้น ต่างต้องอาศัยเหตุปัจจัย ซึ่งเหตุปัจจัยหลักนั้นก็คือการมี “สติ” คือจะต้องมีสติสัมปชัญญะเห็นเหตุปัจจัยแห่งการเกิดขึ้น ดำรงอยู่ และดับไปของสมาธิในขั้นต่าง ๆ กล่าวคือจะต้องเป็นผู้ฉลาดในสมาธิและกระทำสมาธิโดยชำนาญในทุกอริยบถ...
Published 05/03/24
คำว่า “มิตรแท้ หรือ กัลยาณมิตร” มีความสำคัญและมีคุณค่ายิ่ง “มิตร” ที่เรามีอยู่เป็นแบบไหน และเราควรจะปฏิบัติตนหรือเลือกคบมิตรแบบใด    ในข้อที่ #36_ปฐมมิตตสูตร และ #37_ทุติยมิตตสูตร ว่าด้วยองค์แห่งมิตร 7 ประการ คือ บุคคลที่ประกอบด้วยฐานะ 7 ประการนี้ ควรเข้าไปคบหาเป็นมิตรด้วย โดยในปฐมมิตตสูตร...
Published 04/26/24