นิวรณ์ 5 ธรรมเครื่องกั้น [6734-6t]
Listen now
Description
ในข้อ 51 และ 52 เป็นเรื่องเกี่ยวกับนิวรณ์และการแก้ไข "นิวรณ์" หมายถึง เครื่องกั้น เครื่องลวง เครื่องห่อ เครื่องหุ้มเอาไว้ บังเอาไว้ ครอบงำจิต บังจิต หุ้มห่อจิต รัดรึงจิต เพื่อไม่ให้เกิดปัญญา เหมือนมีสนิมเคลือบที่มีดทำให้ไม่คม องค์รวมของมัน คือทำจิตให้ไม่มีกำลังปัญญา มีนิวรณ์ที่ใดที่นั้นไม่มีสมาธิ นิวรณ์มี 5 อย่าง คือ   กามฉันทะ คือ ความพอใจในกาม: กามหรือกิเลสกาม คือ ความกำหนัดยินดีลุ่มหลงในวัตถุกาม วัตถุกาม คือ วัตถุที่สามารถทำให้เกิดความกำหนัดยินดี ในแต่ละคนจะไม่เหมือนกันความหยาบละเอียดต่างกันอยู่ที่กำลังจิตของคนนั้นๆ กามฉันทะ คือ ความพอใจในกาม เป็นสิ่งที่เกิดก่อนกามกิเลส กามฉันทะทำให้เกิดกิเลสกามได้ทั้งสิ่งที่ล่วงไปแล้ว และสิ่งที่กำลังจะมาถึง จึงต้องมีสติอยู่เสมอความพยาบาท คือ ความคิดร้ายผูกเวร ถ้าเราสร้างรติในที่ใด ก็จะมีอรติในอีกที่หนึ่งเสมอ แล้วจะไล่มาเป็นปฏิฆะ โกธะ โทสะ และพยาบาทในที่สุดถีนมิทธะ คือ ความหดหู่ ความเซื่องซึม แก้ด้วยวิธีทั้ง 8 และสติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์อุทธัจจกุกกุจจะ คือ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ แก้ด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ และการสำรวมอินทรีย์วิจิกิจฉา คือ ความลังเล เคลือบแคลง สงสัย คำถามทุกคำถามไม่ได้จะเป็นวิจิกิจฉาทั้งหมดขึ้นอยู่ที่ศรัทธา  ในข้อที่ 53 ถ้าเราจะทำความเพียรเพื่อให้เกิดผล คือ สติ และปัญญา ต้องมีคุณสมบัตินี้ คือ มีศรัทธา มีอาพาธน้อย ไม่มีมายา มีความเพียร มีปัญญา   และในข้อที่ 54 เป็นการเปรียบเทียบในสมัยที่จะทำความเพียรได้ผลมากหรือน้อย โดยมีความสัมพันธ์กับข้อที่ 52 คือ สมัยที่เป็นคนแก่ มีอาพาธ ข้าว
More Episodes
#107_มูสิกสูตร เปรียบบุคคลไว้กับหนู 4 จำพวก โดยเปรียบการ “ขุดรู” ของหนู คือการศึกษาเล่าเรียนปริยัติ และ เปรียบการ “อยู่” ของหนู คือการรู้แจ้งในอริยสัจ 4 ซึ่งบุคคลศึกษาดีแต่ไม่รู้(แจ้ง)ในอริยสัจก็มี และบางประเภทศึกษาน้อยแต่แจ้งในอริยสัจ...
Published 11/22/24
สมณวรรค หมวดว่าด้วยสมณะ ในวรรคนี้ ข้อที่ 85-92 (1-8) กล่าวถึง เหตุให้ได้ชื่อว่า “ภิกษุ” เพราะทำลายธรรม 7 ประการนี้ได้, ได้ชื่อว่า “สมณะ” เพราะระงับธรรม..ฯ, ..“พราหมณ์” เพราะลอยธรรม..ฯ, ..“โสตติกกะ” เพราะธรรม 7 ประการนี้ร้อยรัดไม่ได้, ..“นหาตกะ” เพราะล้างธรรม 7 ประการนี้ได้, ..“เวทคู”...
Published 11/15/24