เครื่องสอบพรหมจรรย์ “เมถุนสังโยค” [6725-6t]
Listen now
Description
Q&A จากคำถามในสัญญาทั้ง 7 ประการ จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีลำดับในการเจริญสัญญา คำตอบ ไม่จำเป็น ยกตัวอย่างเช่น ต้นทองกวาวจะบอกว่ามีสีแสด.. ก็ใช่ หรือใบดก.. ก็ใช่ หรือจะมีลำต้นดำ.. ก็ใช่ คือทั้งหมดก็เป็นลักษณะของต้นทองกวาวเช่นเดียวกับสัญญา 7 ประการ เมื่อเจริญสัญญาอย่างหนึ่ง สัญญาอื่น ๆ ก็เจริญขึ้นมาด้วย เปรียบเสมือนทางที่จะขึ้นไปบนยอดเขา (นิพพาน) จะขึ้นจากทิศใดก็สามารถขึ้นไปถึงยอดเขาได้เหมือนกัน   ข้อที่ #50_เมถุนสูตร ว่าด้วยเมถุนสังโยค 7 ระดับ เป็นเรื่องราวของชาณุสโสณิพราหมณ์ที่มีความสงสัยในพระพุทธเจ้าที่พูดว่าตนเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งที่เคยอยู่ครองเรือนมาก่อน มีปราสาทถึง 3 หลังและแวดล้อมด้วยนางรำ ซึ่งแตกต่างกับลัทธิของตนที่ต้องประพฤติพรหมจรรย์ตามระยะเวลาถึง 48 ปี จึงจะเรียกได้ว่า “บรรลุอรหันต์”  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า เมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงผู้ใดผู้หนึ่งว่า “เขาประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย บริสุทธิ์ บริบูรณ์ บุคคลนั้น เมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงเรานั้นแล เพราะเราประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย บริสุทธิ์ บริบูรณ์” และทรงได้แจกแจงเมถุนสังโยคทั้ง 7 ระดับแก่ ชาณุสโสณิพราหมณ์จนเกิดความปิติเลื่อมใสปฏิญาณตนขอเป็นอุบาสก *ถึงแม้ว่าการประพฤติพรมหมจรรย์นั้นจะไม่มีกิจกรรมของคนคู่ก็จริงอยู่ แต่ถ้ายังยินดีในสัมผัสทางกาย ยินดีในการพูดสนุกล้อเล่น ยังยินดีในเสียงที่ได้ยิน ยังยินดีในรูปที่ตาเห็น ยังหวนระลึกถึงรูปเสียงในคนนั้นอยู่ ยังนึกถึงกามคุณ 5 และยังยินดีในกามของเหล่าเทวดาทั้งหลายอยู่ เราเรียกผู้นั้นว่า ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริ
More Episodes
ข้อที่ #78_สุขโสมนัสสสูตร ผู้ประกอบด้วยธรรม 6 การนี้ต่อไปนี้ เป็นผู้ปรารภเหตุแห่งความสิ้นอาสวะและมากด้วยสุขโสมนัสในปัจจุบัน (สุขโสมนัสที่เกิดจากเนกขัมมะสุข คือ สุขที่เกิดจากความสงบในภายใน) ได้แก่ 1.    เป็นผู้ยินดีในธรรม (ยินดีในกุศลธรรม) 2.    เป็นผู้ยินดีในภาวนา (ทำให้เจริญ / พัฒนา) –...
Published 06/14/24