Episodes
8 Minute History เอพิโสดนี้ พาย้อนประวัติศาสตร์อันดุเดือดของอินเดีย ตั้งแต่การต่อสู้ของชาวซิกข์ เพื่อนำมาซึ่งรัฐเอกราชคาลิสถาน (Khalistan) ซึ่งเปรียบเสมือนเชื้อเพลิงนำไปสู่ ‘ปฏิบัติการดาวสีน้ำเงิน’ (Operation Blue Star) ที่เปลี่ยนศาสนสถานสำคัญเป็นเวทีโศกนาฏกรรมที่คร่าชีวิตผู้คนกว่า 500 ราย รวมถึงการสังหาร อินทิรา คานธี นายกรัฐมนตรีหญิงของอินเดีย ที่โลกไม่อาจลืมเลือน
Published 01/16/24
ภายใต้การปกครองที่เด็ดเดี่ยว อินทิรา คานธี พาอินเดียฝ่าฟันวิกฤตและก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ตลอด 3 ยุคสมัย รวมเวลากว่า 15 ปี ในประเทศที่ผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า  8 Minute History เอพิโสดนี้ พาทุกท่านมารู้จักกับ อินทิรา คานธี นายกรัฐมนตรีหญิงเพียงหนึ่งเดียวในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองอินเดีย ทั้งชีวิตวัยเด็ก นโยบายการเมืองที่ทำให้เธอครองใจชาวอินเดียมายาวนาน รวมถึงมูลเหตุที่นำไปสู่โศกนาฏกรรมที่ทำให้เธอจบชีวิต ภายใต้ ‘ปฏิบัติการดาวสีน้ำเงิน’ (Operation Blue Star)
Published 01/11/24
รู้หรือไม่ว่า ก่อนที่โลกเราจะมีนวัตกรรมยาและวัคซีนที่ทรงประสิทธิภาพอย่างทุกวันนี้ ในอดีตมนุษย์เคยเผชิญโรคระบาดใหญ่มาแล้วหลายครั้ง คร่าชีวิตประชากรโลกเป็นหลักสิบล้านคน โดยไร้หนทางป้องกันหรือรักษา 8 Minute History เอพิโสดนี้ ขอพาย้อนประวัติศาสตร์การเกิดโรคระบาดครั้งสำคัญของโลก พร้อมไล่เลียงจุดเริ่มต้นและพัฒนาการของนวัตกรรมยาและวัคซีนที่ช่วยให้มนุษย์รับมือกับโรคภัยต่างๆ ได้ดีขึ้นตามลำดับ
Published 01/09/24
จากความเดิมตอนที่แล้ว ความพยายามรวมชาติพันธุ์ในการประชุมที่ปางหลวงของนายพลอองซานเหมือนจะดำเนินไปด้วยดี หากแต่หนทางประชาธิปไตยของเมียนมายังไม่ถึงเส้นชัย  8 Minute History เอพิโสดนี้ ว่าด้วยห้วงเวลาสำคัญหลังจาก ‘บิดาแห่งเมียนมาสมัยใหม่’ อย่างนายพลอองซานถูกสังหาร การเกิดขึ้นของรัฐกะเหรี่ยง และการรัฐประหารครั้งใหญ่โดยนายพลเนวิน ผู้พลิกหน้าประวัติศาสตร์การเมืองเมียนมาไปตลอดกาล
Published 12/28/23
จากความเดิมตอนที่แล้ว เมียนมาได้เผชิญหน้าการรุกรานจากอังกฤษ และตกไปอยู่ใต้อาณานิคมของ British Raj ในที่สุด ทว่าประวัติศาสตร์ของเมียนมาไม่ได้หยุดนิ่งที่เหตุการณ์นั้น 8 Minute History เอพิโสดนี้ ไปสำรวจยุคที่เมียนมาเจอการแทรกแซงจากมหาอำนาจเอเชียอย่างญี่ปุ่น และการต่อสู้เพื่อเอกราชภายใต้การนำของนายพล ออง ซาน ผู้เป็นบุคคลสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองของเมียนมา รวมไปถึงความพยายามในการรวมชาติพันธุ์ต่างๆ เข้าด้วยกันผ่านการประชุมที่ปางหลวง สะท้อนถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เต็มไปด้วยความท้าทาย...
Published 12/26/23
8 Minute History เอพิโสดนี้ พาไปไขรหัส CHANEL N°5 น้ำหอมที่ได้ชื่อว่าเป็น ‘The world’s most famous fragrance.’ กับแขกรับเชิญพิเศษ ปืน-สธน ตันตราภรณ์ นักวิชาการด้านแฟชั่น ที่มีโอกาสไปเยี่ยมชมแหล่งปลูกดอกลิลลี่ และกระบวนการผลิต CHANEL N°5 ที่เมืองกราสส์ ประเทศฝรั่งเศส อย่างใกล้ชิดในทุกขั้นตอน อะไรคือเคล็ดลับที่ทำให้กลิ่นหอมของ CHANEL N°5 ได้รับความนิยมมากว่าหนึ่งศตวรรษ ประวัติศาสตร์เบื้องหลังความยิ่งใหญ่ของน้ำหอมเลื่องชื่อนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร ติดตามได้ใน 8 Minute History ‘Brand Journey’...
Published 12/21/23
8 Minute History เอพิโสดนี้ จะพาคุณไปสำรวจประวัติศาสตร์และการพัฒนาของประเทศเพื่อนบ้านของเรา ‘สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา’ ตั้งแต่ยุคของพระเจ้าอโนรธามังช่อ ผู้เป็นปฐมกษัตริย์ ผู้ก่อตั้งและปูพื้นฐานอาณาจักรพุกามอันยิ่งใหญ่ ไปจนถึงการรุกรานจากชาวตะวันตก จนเกิดเป็นสงครามอังกฤษ-พม่า (Anglo-Burmese Wars) ถึง 3 ครั้ง กินเวลากว่า 60 ปี  การเปลี่ยนแปลงอำนาจเหล่านี้ ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อการเมืองและเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังสร้างความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและสังคมอย่างลึกซึ้ง
Published 12/19/23
6 ประเทศ 4 ภาษา 3 ศาสนา ยูโกสลาเวีย อดีตดินแดนคอมมิวนิสต์อันแสนรุ่งโรจน์ ที่มีจุดจบเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่  8 Minute History MEDLEY เอพิโสดนี้ สรุปประวัติศาสตร์ยูโกสลาเวีย และเล่าถึงการรวมชาติภายใต้การนำของจอมพลติโต รวมไปถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์บอสเนีย ตั้งแต่ยุคทองของความเป็นหนึ่งเดียว ผ่านความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ที่นำไปสู่การแบ่งแยก ค้นหาคำตอบว่าทำไมแผ่นดินแห่งนี้ถึงกลายเป็นบทเรียนที่ล้ำค่าในหน้าประวัติศาสตร์
Published 12/10/23
“ข้าค้นพบโรมในวันที่มันสร้างด้วยอิฐ และจากมาในวันที่มันกลายเป็นเมืองหินอ่อน” คือคำกล่าวของ ซีซาร์ ออกุสตุส (Caesar Augustus) จักรพรรดิพระองค์แรกของอาณาจักรโรมัน เป็นประโยคอมตะที่สะท้อนพลวัตของหนึ่งในจักรวรรดิที่เคยยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกได้เป็นอย่างดี 8 Minute History MEDLEY เอพิโสดนี้ ขอพาทุกคนย้อนไปสู่วันวานแห่งความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จากแรกเริ่มก่อตั้ง สู่วันที่ค่อยๆ ร่วงโรย ล่มสลาย ก่อนถูกแบ่งแยกและกลายเป็นประเทศมหาอำนาจแห่งยุโรปในปัจจุบัน
Published 12/02/23
8 Minute History เอพิโสดนี้ เดินทางมาถึงตอนสุดท้ายของซีรีส์สงครามนโปเลียน และฉากจบของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ผู้แพ้ภัยต่อความอหังการ์ ก่อนถูกเนรเทศไปอยู่บนเกาะอันห่างไกล และจบชีวิตลงอย่างโดดเดี่ยว ผลที่ตามมาหลังจากนั้นคือการขยายอำนาจของเยอรมนีและจักรวรรดิอังกฤษ เช่นเดียวกับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคสาธารณรัฐที่ 2 ของฝรั่งเศส ภายใต้จักรพรรดินโปเลียนที่ 3
Published 11/28/23
8 Minute History เอพิโสดนี้ รับชมรับฟังกันแบบต่อเนื่องกับเรื่องราวของ ‘สงครามนโปเลียน’ ภายใต้การนำทัพของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1  เจาะลึกสงครามย่อยๆ ทั้ง 7 ครั้ง ที่เต็มไปด้วยกลการรบและเกมการเมือง ในยุคที่ความยิ่งใหญ่ไม่ใช่เพียงเพราะผู้นำ กระบอกปืนใหญ่ และจอมพล แต่เพราะประชาชนที่ยืนอยู่ข้างหลัง
Published 11/23/23
8 Minute History พาไปร้อยเรียงมหากาพย์สงครามที่นำไปสู่ความรุ่งโรจน์ของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ความยิ่งใหญ่ที่ Ridley Scott ผู้สร้าง Gladiator นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ชื่อ Napoleon นำแสดงโดย Joaquin Phoenix  เริ่มต้นเอพิโสดแรกกับที่มาที่ไปของสงคราม เส้นทางสู่อำนาจของนโปเลียน โบนาปาร์ต จากนายทหารปืนใหญ่ กลายเป็นกงสุลใหญ่ และเป็นผู้ผลัดแผ่นดินสู่ยุคจักรวรรดิฝรั่งเศส
Published 11/21/23
8 Minute History เอพิโสดนี้ มาถึงจุดจบของนโปเลียนที่ 3 ผู้สร้างความงามให้ปารีส แต่อยู่ไม่ทันได้เชยชมผลงานตน พ่ายศึกที่สู้ไม่ได้ทั้งจำนวนคนและแสนยานุภาพ ด้าน ‘ปรัสเซีย’ หรือเยอรมนี นำโดย Otto von Bismarck ผู้ที่รู้ผลการศึกตั้งแต่ก่อนเริ่ม นำขบวนทัพประกาศสถาปนาจักรวรรดิหยามฝรั่งเศสกลางพระราชวังแวร์ซายส์ ความดุเดือดของศึกฟรานโก-ปรัสเซียนจะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
Published 11/16/23
8 Minute History เอพิโสดนี้ ยังคงอยู่กับเรื่องราวของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งสาธารณรัฐที่ 2 ของฝรั่งเศส ครั้งนี้มาย้อนดูความรุ่งโรจน์ที่ส่งผลถึงความรุ่งเรืองในปัจจุบัน ตั้งแต่โครงการพัฒนาอุตสาหกรรม อภิมหาโปรเจกต์ Haussmann และการออกรบเคียงบ่าเคียงไหล่เหล่าทหาร  แต่สุดท้ายบุคคลที่ประชาชนโหวตให้อย่างถล่มทลาย กลายเป็นถูกกดดันจนต้องยอมสละอำนาจบางส่วน ก่อนหน้านั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง แล้วเหตุใดจึงลงเอยเช่นนี้ ติดตามต่อกันได้เลย!
Published 11/14/23
8 Minute History เอพิโสดนี้ เริ่มต้นซีรีส์ความยิ่งใหญ่ของฝรั่งเศส-เยอรมนีช่วงหลังการปฏิวัติเดือนกรกฎาคม และการเกิดขึ้นของกษัตริย์พลเมือง ด้วยประวัติของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 หรือ ‘หลุยส์ นโปเลียน โบนาปาร์ต’ จากอดีตผู้ลี้ภัยการเมืองในวัยเยาว์ กลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกจากการเลือกตั้งโดยประชาชนฝรั่งเศส สู่การรัฐประหารตนเอง และสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิ ติดตามได้ในซีรีส์จักรพรรดินโปเลียนที่ 3
Published 11/09/23
รายการ 8 Minute History เอพิโสดนี้ พาไปย้อนประวัติศาสตร์ ‘ไส้กรอกเยอรมัน’ จากวิธีการถนอมอาหารที่มีมาตั้งแต่ยุคโบราณ สู่อาหารที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก พร้อมไขข้อสงสัยว่า เหตุใดเยอรมนีจึงเป็นชนชาติที่เชี่ยวชาญในการทำไส้กรอก รวมถึงการแปรรูปเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ เช่น แฮม เบคอน โบโลนา แล้วในประเทศไทยเอง เริ่มรู้จักรสชาติต้นตำรับแบบเยอรมันตั้งแต่เมื่อไร บริษัทไหนที่เป็นผู้บุกเบิกการผลิตอาหารประเภทนี้เป็นรายแรกๆ
Published 11/07/23
8 Minute History เอพิโสดนี้ พาไปสำรวจประวัติศาสตร์ของผู้แจ้งเบาะแส หรือ ‘Whistleblower’ ปราการด่านแรกที่มีส่วนสำคัญในการตรวจสอบความไม่ชอบมาพากลภายในองค์กร ตั้งแต่การทุจริตฉ้อโกงในระดับเล็กๆ ไปจนถึงการเปิดโปงข้อมูลลับในคดีคอร์รัปชันระดับโลก ความสำคัญของ Whistleblower คืออะไร ต้นตอของคำนี้มีที่มาจากไหน และในโลกยุคปัจจุบันมีนโยบายหรือมาตรการแบบไหนที่ช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมการ Speak Up ที่ยั่งยืนได้ ติดตามได้ใน 8 Minute History เอพิโสดนี้
Published 10/31/23
8 Minute History ยังอยู่กันที่ออตโตมัน จากจักรวรรดิที่รุ่งเรือง ล้าหลัง เข้าไปมีความสัมพันธ์กับสงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างเลี่ยงไม่ได้ จนสู่ยุคผู้พ่ายที่ไร้ธงตนเองบนแผ่นดิน ถูกตัดแบ่งพื้นที่เป็นชิ้นๆ อังกฤษและฝรั่งเศสล่อลวงเมืองขึ้นของออตโตมันให้ร่วมต่อต้านด้วยของขวัญชิ้นโตอย่างคำว่า ‘เอกราช’ จนเกิดสนธิสัญญา ‘Treaty of Serves’  แม้ออตโตมันล่มสลาย แต่ชาวเติร์กมิยอมจำนน จนในที่สุดช่วงชิงพื้นที่หนึ่งจนเป็นสาธารณรัฐตุรกี จากความขัดแย้งเหล่านี้นำสู่ความขัดแย้งในปัจจุบัน...
Published 10/26/23
8 Minute History เอพิโสดนี้ ต่อกันที่จักรวรรดิออตโตมันที่เริ่มล้าหลังไม่ทันตะวันตก จนกลายเป็นเบี้ยล่างในกระดานหมากรุกโลก และนำไปสู่มหาสงครามโลกครั้งที่ศูนย์ หรือสงครามไครเมีย สงครามที่เริ่มจากปัญหาความไม่ลงรอยกับจักรวรรดิรัสเซีย โดยออตโตมันมีพันธมิตรคืออังกฤษและฝรั่งเศส แต่ภายหลังแม้จะชนะสงครามไครเมีย กลับมีปัญหาด้านการเงินที่ต้องกู้ยืมจากพันธมิตรจนเป็นหนี้ก้อนโต เมื่อพันธมิตรมีอิทธิพลและอำนาจเหนือกว่า ออตโตมันหันไปสร้างสัมพันธ์เพิ่มกับเยอรมนีเพื่อถ่วงดุลอำนาจ...
Published 10/24/23
8 Minute History ซีรีส์ ‘จุดสิ้นสุดของจักรวรรดิออตโตมัน’ ประวัติศาสตร์มหาอำนาจที่อยู่มายาวนานถึง 6 ศตวรรษ และกินพื้นที่ 3 ทวีป แต่ไม่สามารถก้าวทันความก้าวหน้าของชาติยุโรปได้  จึงเริ่มมีการรยกเลิกระบบแกนหลักของสังคมออตโตมันเพื่อหวังจะพัฒนาให้ทันชาวโลก แต่ภัยคุกคามความมั่นคงในโลกยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมมาถึงเร็วเกินกว่าที่ออตโตมันจะสร้างกองทัพสมัยใหม่ให้เข้มแข็งรับมือภัยคุกคามได้ อีกทั้งยังต้องรับมือกับปัญหาในพื้นที่ปาเลสไตน์ ที่กลายมาเป็นชนวนเหตุในสงครามโลกครั้งที่ 0 ในเวลาต่อมา...
Published 10/19/23
8 Minute History คุยต่อเนื่องถึงประวัติศาสตร์เทคโนโลยี การกำเนิดพลังงานไฟฟ้า ที่กลายมาเป็นอุตสาหกรรมหลักในโลกปัจจุบัน การผลิตกระแสไฟฟ้านำไปสู่การเกิดสงครามระหว่างสองบริษัทยักษ์ใหญ่ ที่พยายามต่อสู้กันระหว่างการสนับสนุนการใช้ ‘ไฟฟ้ากระแสตรง’ และ ‘ไฟฟ้ากระแสสลับ’ สงครามที่นำกระแสไฟมาทดสอบกับชีวิตคนจะนำไปสู่ผลลัพธ์อะไรบ้าง และทำไมสงครามไฟฟ้าในครั้งนั้น จึงเป็นการแข่งขันที่สกปรกที่สุดในสังคมอเมริกา ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
Published 10/18/23
8 Minute History เอพิโสดนี้เรียงหมุดหมายสำคัญของประวัติศาสตร์โลกควบคู่ไปกับพัฒนาการของ ‘Shrewsbury School’ มรดกทางการศึกษาที่มีจุดเริ่มต้นจากราชวงศ์ทิวดอร์แห่งอังกฤษเมื่อเกือบ 500 ปีก่อน สู่สถาบันการศึกษานานาชาติชั้นนำทั้งในสหราชอาณาจักรและประเทศไทยในปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นแหล่งผลิตบุคลากรคนสำคัญของโลกอย่าง ‘ชาร์ลส์ ดาร์วิน’ เจ้าของทฤษฎีวิวัฒนาการ รวมถึงห้องสมุดที่รวบรวมเรื่องราวสำคัญของประวัติศาสตร์โลกเอาไว้ในสถาบันการศึกษาแห่งนี้ด้วย มรดกทางการเรียนรู้จากรั้วสหราชอาณาจักร...
Published 10/17/23
8 Minute History เอพิโสดนี้ ชวนย้อนอดีตไปในช่วงที่ทำให้ทุกวันนี้เรามีไฟฟ้าเป็นแหล่งความสว่างภายในบ้าน โดยนักประดิษฐ์-นวัตกร ‘Thomas Edison’ ผู้ประดิษฐ์หลอดไฟและจำหน่ายไฟฟ้าให้มีไว้ใช้ในครัวเรือนได้ ถือเป็นจุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์ที่ส่งผลถึงโลกปัจจุบัน แต่ผลงานของ Edison ในยุคนั้นยังเป็นเพียงการใช้ ‘ไฟฟ้ากระแสตรง’ ทำให้ลูกน้องเก่าอย่าง ‘Nikola Tesla’ กลายเป็นคู่ปรับและเข้ามามีบทบาทในการคิดหาทางออก จนนำไปสู่การใช้ ‘ไฟฟ้ากระแสสลับ’ ในเวลาต่อมา...
Published 10/10/23
8 Minute History ปิดท้ายซีรีส์ด้วยสงครามครั้งสุดท้ายระหว่างสันนิบาตอาหรับกับอิสราเอล ซึ่งมีชนวนมาจากการบุกโจมตีอิสราเอลเพื่อทวงคืน ‘คาบสมุทรไซนายและที่ราบสูงโกลัน’ แต่เหตุการณ์บานปลาย จนกระทั่งสหประชาชาติและสหรัฐอเมริกาต้องเข้ามามีบทบาทในการยุติ และนำไปสู่ ‘สัญญาสันติภาพอียิปต์-อิสราเอล’ ถึงแม้ว่าสงครามครั้งนั้นจะยุติลง แต่ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ยังคงคุกรุ่นอยู่ในพื้นที่ขัดแย้งถึงปัจจุบัน รายละเอียดของความขัดแย้งที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2...
Published 10/05/23
8 Minute History เอพิโสดนี้ คุยต่อเนื่องถึงพื้นที่แห่งความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล และกลุ่มสันนิบาตอาหรับ ความขัดแย้งครั้งที่ 2 อันเกิดจากการรุกล้ำคำประกาศ ‘ห้ามเปิดช่องแคบติราน’ ของฝ่ายอิสราเอล อันนำไปสู่ความไม่พอใจ ชนวนเหตุสำคัญที่นำไปสู่การก่อสงครามกองทัพอากาศเหนืออียิปต์ การจบลงด้วยชัยชนะอิสราเอลเหนืออียิปต์ในเวลาเพียง 6 วัน จะสร้างแรงแค้นให้ฝ่ายสันนิบาตอาหรับอย่างไร และจะส่งผลกระทบใดบ้าง ติดตามได้ในเอพิโสดนี้
Published 10/03/23