ทำไมยางพาราและปลานิลสร้างรายได้ แต่ปลาหมอคางดำทำลายเศรษฐกิจ | Capital City EP.15
Description
ช่วงที่ผ่านมานี้ เชื่อว่าทุกคนน่าจะได้ยินข่าวปลาหมอคางดำบุกสร้างความเดือดร้อนให้เหล่าเกษตรกร และส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ด้วยเป็น ‘เอเลี่ยนสปีชีส์’ ที่ปรับตัวได้เร็ว อยู่ได้ทั้งน้ำเค็มและน้ำจืด และแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วจนทำให้สัตว์ในท้องถิ่นสูญพันธุ์ได้
เอเลี่ยนสปีชีส์ หรือชนิดพันธุ์ต่างถิ่น คือสิ่งมีชีวิตที่ไม่เคยอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งมาก่อน แต่เข้ามาจากถิ่นอื่น แล้วเกิดการปรับตัวและขยายพันธุ์จนอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่ได้ เช่น ผักตบชวา เป็นต้น แต่บางคนอาจยังไม่รู้ว่าปลานิลและยางพาราเองก็เป็นเอเลี่ยนสปีชีส์เช่นเดียวกัน หมายความว่าเอเลี่ยนสปีชีส์ไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในบ้านเรา
คำถามสำคัญจึงคือเอเลี่ยนสปีชีส์นั้นมีแต่ข้อเสียอย่างเดียวหรือเปล่า มีชนิดพันธุ์ที่เข้ามาแล้วทำให้เศรษฐกิจดีบ้างไหม แล้วถ้าเข้ามาแล้วไม่ดี เมืองควรจัดการยังไง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.15 ตอนนี้
อายุ 30 แล้ว มีบ้านเป็นของตัวเองหรือยัง? ค่านิยมที่ปลูกฝังพวกเรามาอย่างยาวนานว่าเมื่ออายุมากขึ้นก็ควรมีทรัพย์สินเป็นหลักประกันหรือสิ่งที่ทำให้รู้สึกถึงความมั่นคงบางอย่าง แต่ในวันที่เศรษฐกิจโลกถดถอยและค่าแรงยังไม่ขยับไปไหน การจะมีบ้านสักหลังในกรุงเทพฯ...
Published 10/28/24
‘ตายแล้วไปไหน?’ น่าจะเป็นคำถามนามธรรมที่ยังไม่มีใครหาข้อสรุปได้ แต่ถ้ามองในโลกความเป็นจริง ในบางศาสนาหรือความเชื่อ ถึงจะเสียชีวิตไปแล้วก็ยังต้องการที่อยู่อาศัยเหมือนกับคนเป็นอย่างเราๆ
.
พื้นที่ในเมืองมักถูกมองว่าเป็นที่สำหรับใช้ชีวิต ทำงาน พักผ่อนหย่อนใจ และทำกิจกรรมต่างๆ...
Published 10/21/24