เศรษฐกิจติดบ้าน EP. 521: น้ำท่วมซ้ำซาก ยังพอมีทางออกหรือไม่ในวันที่โลกร้อน
Listen now
Description
ความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วม ของประเทศไทยปี 2567 ประเมินกันว่าไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 0.16% ของจีดีพี คำถามคือ ปีต่อ ๆ ไปจะเสียหายมากกว่านี้หรือไม่ ผลพวงจากภาวะโลกร้อน กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่รุนแรงมากขึ้น สะท้อนได้จากปัญหาน้ำท่วมที่รุนแรงขึ้น แม้น้ำท่วมเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ไทยเจอทุกปี แต่หากการบริหารจัดการและการวางแผนจากหน่วยงานที่รับผิดชอบไม่มีประสิทธิภาพ ไม่เพียงส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนเท่านั้น ยังส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจด้วย แล้วปัญหาน้ำท่วมที่เกิดซ้ำซากยังพอมีทางออกหรือไม่ในวันที่โลกร้อน ? ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน และ คุณขวัญพัฒน์ สุทธิธรรมกิจ เจ้าหน้าที่อาวุโสธนาคารโลก ผู้รับผิดชอบประเทศไทย เล่าให้ฟังในรายการ เศรษฐกิจติดบ้าน ค่ะ
More Episodes
หนึ่งในวิธีการลดต้นทุนของธุรกิจ คือ การลดจำนวนคนทำงานภายในองค์กรผ่านการเลิกจ้าง ด้วยวิธีการหลากหลายรูปแบบ แน่นอนไม่ว่าจะเลิกจ้างแบบไหนลูกจ้างได้รับผลกระทบเต็ม ๆ หนึ่งในวิธีการนายจ้างใช้ คือ Quiet Firing หรือการกดดันให้พนักงานลาออกด้วยการทำให้รู้สึกไม่ดีต่อการทำงานมากขึ้นเรื่อย ๆ...
Published 11/26/24
ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ผลิตน้ำปลาร้าทั้งรายเล็กรายใหญ่รวมกันไม่ต่ำกว่า 200 แบรนด์ มีมูลค่าทางการตลาดรวมกันสูงถึง 1,000 ล้านบาท เป็นธุรกิจที่เหล่าดารานักแสดงเลือกทำเป็นอาชีพที่ 2 รวมถึงบรรดาธุรกิจร้านอาหารขนาดใหญ่ก็ลงมาเป็นผู้เล่นในตลาดนี้ด้วย ตอนนี้น้ำปลาร้าเริ่มเป็นที่นิยมกับชาวต่างชาติ...
Published 11/25/24