Episodes
เกิดเป็นคนโรฮิงญา ไม่มีประเทศ ไม่มีสัญชาติ สถานะของคนไร้รัฐส่งผลให้ไม่มีผู้ใดปกป้อง
ซ้ำเติมด้วยอคติและความเกลียดชัง โรฮิงญาจึงถูกประหัดประหารและตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์
ส่วนที่ยังมีชีวิตรอดก็ต้องระเห็จเร่ร่อน ไร้อนาคตในค่ายพักพิง
#โรฮิงญา #เล่าสยอง #รอบโลก
Published 04/29/22
ทันทีที่ฆาตรกรอ้างว่าพวกเขาลงมือสังหารเหยื่อก็เพราะต้องการปกป้องเกียรติยศของครอบครัว ความเลวร้ายที่ก้อก็ดูเบาบางลง อีกทั้งยังเป็นเหตุเป็นผลขึ้นมา
นี่คือความน่ารังเกียจของอาชญากรรมอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เกิดขึ้นจากคนในครอบครัวด้วยกันเอง
พ่อฆ่าลูก พี่ฆ่าน้อง โดยใช้คำว่าเกียรติยศเป็นเครื่องมือในการลดโทษ ตลอดจนได้รับการให้อภัยจากสังคม
Published 04/22/22
ไลบีเรีย คือประเทศเล็กๆ ในแอฟริกาตะวันตก สถานที่ที่ผู้คนรู้จักในนามจุดระบาดของไวรัสอีโบล่า
อีกหนึ่งเรื่องที่โด่งดังรองลงมา คือตำนานมนุษย์กินคน ในช่วงสงครามกลางเมือง ที่ทุกวันนี้ แม้สงครามจะจบลงแล้ว แต่บรรดาทหารเด็กที่เข้าร่วมสงคราามในครั้งนั้นยังคงทุกข์ทรมาน
#มนุษย์กินคน #ไลบีเรีย #เล่าสยอง #รอบโลก
Published 04/13/22
ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและชาติตะวันตกกำลังสร้างความกังวลว่า โลกอาจได้เห็นการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์อีกครั้ง แบบเดียวกับที่เกิดขึ้นกับญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
แต่นิวเคลียร์วันนี้ไม่เหมือนเมื่อ 80 ปีก่อน ลำพังนิวเคลียร์ลูกเดียว ก็เพียงพอที่จะทำลายโลก ด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปอีกหลายสิบปี
Published 03/31/22
ถ้าพูดถึงสตรีทฟู้ด คงไม่มีที่ไหนเด็ดดวงเท่าอินเดีย ไม่ว่าจะเป็นลีลาการปรุง หน้าตาอาหาร ไปจนถึงรสชาติ
นั่นทำให้วีดิโอสตรีทฟู้ดของอินเดียกลายเป็นไวรัลบ่อยครั้งบนโลกออนไลน์
อร่อยแน่ แถมประทับใจด้วย! แต่สะอาดมั้ยคืออีกเรื่อง แล้วคุณจะยังกล้ากินอยู่มั้ยถ้ามีงานวิจัยระบุว่า พบแบคทีเรียอีโคไลในปริมาณที่มากเกินค่าความปลอดภัย
Published 03/23/22
ว่ากันว่าคนตายไปแล้วจะหลงเหลือตัวตนแค่ในความทรงจำ แต่ก็ไม่เสมอไปเพราะว่าบางคนก็ยังทิ้งกลิ่นไว้ในจุดที่พวกเขาตาย
กลิ่นเหล่านี้ติดอยู่ตามข้าวของเครื่องใช้ ยากที่จะลบออก!
Published 03/16/22
ความอดอยากคืออาวุธที่โหดเหี้ยมที่สุดที่ผู้ปกครองใช้ในการกดขี่ประชาชนให้ล้มตายอย่างช้าๆ
นโยบายนารวมของสหภาพโซเวียตส่งผลให้ดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ อย่าง ยูเครน กลายสภาพเป็นนรกบนดิน ผู้คนล้มตายข้างถนน ต้องเข่นฆ่ากันเองเพราะความหิว
แม้ว่าเหตุการณ์จะผ่านมา 90 ปีแล้ว แต่มรดกของความอดอยากยังคงอยู่
Published 03/02/22
“ไม่มีใครตายเพราะหัวล้าน” ประโยคนี้อาจไม่จริงเสมอไป หากคุณเป็นคนหัวล้านและอาศัยอยู่ในโมซัมบิก ประเทศทางตะวันออกเฉียงใต้ของแอฟริกา
หนังศีรษะที่เตียนโล่งนั้น ล่อตาล่อใจบรรดานายหน้าค้ามนุษย์ตลอดจนหมอผีพื้นบ้าน ด้วยความเชื่อที่ว่าหัวล้านคือคุณลักษณะพิเศษ ที่ช่วยในการทำพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ ไปจนถึงมีทองคำฝังอยู่ข้างใน!
Published 02/23/22
พิธีกรรมและความเชื่อเรื่องการทำมัมมี่พบได้ในหลายวัฒนธรรม ตั้งแต่อารยธรรมอียิปต์ เทือกเขาแอนดีสในเปรู ไปจนถึงชาวโทราจาในอินโดนีเซีย
โดยขั้นตอนและกรรมวิธีนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่
แต่ญี่ปุ่นอาจเป็นที่เดียวในโลกที่คนเปลี่ยนตัวเองเป็นมัมมี่ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ด้วยกรรมวิธีไม่ธรรมดา ที่ต้องใช้ความอดทนและระยะเวลาเกือบสิบปี!
Published 02/16/22
อาการคันเป็นอาการทางผิวหนังที่พบได้ทั่วไป เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งแมลงสัตว์กัดต่อยหรืออาการแพ้ต่างๆ
อาจส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นทำให้เสียสมาธิ รบกวนเวลาพักผ่อน หรือแม้แต่เสียบุคลิกภาพ
แต่อาการคันอาจสร้างความทรมานมากกว่าที่คิด ถ้าความคันไม่เคยหายไป และต้องใช้ชีวิตกับความรู้สึกคันแบบนี้ไปเป็นเวลาหลายปี
Published 02/09/22
อาเจะห์ จังหวัดเดียวของอินโดนีเซียที่ยังบังคับใช้กฏหมายชารีอะห์ควบคุมผู้คนให้อยู่ในระเบียบ ทั้งการแต่งกาย เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การพนัน ไปจนถึงเรื่องเพศ
ที่นี่อาจเป็นสวรรค์ของใครหลายคน ในฐานะผู้ประพฤติตนอยู่ในกรอบศีลธรรมอันดีงาม แต่ในขณะเดียวกัน ไม่ใช่ทุกคนที่จะยินดีกับกรอบเหล่านี้ และที่นี่ก็อาจเป็นเหมือนนรกของบางคนเช่นกัน
Published 02/03/22
เทคโนโลยีการแพทย์ที่ก้าวหน้าทำให้คนมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น ไม่ใช่แค่ 1-2 ปี แต่คือหลายสิบปี ด้วยการแช่ร่างกายในความเย็นติดลบ
อาจฟังดูคล้ายนิยายหรือภาพยนตร์ไซไฟ แต่เป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจริงแล้ว!
เทคโนโลยีนี้เป็นความหวังของใครหลายคนที่ต้องการมีชีวิตอมตะ อย่างไรก็ตามกระบวนการไครโอนิกส์ยังไม่อาจรับประกันได้ว่า ร่างที่ถูกแช่แข็งจะสามารถฟื้นคืนกลับมามีชีวิตได้ตามที่โฆษณาหรือไม่
Published 01/27/22
หากพูดถึงแฟชั่นอันตราย หลายคนอาจนึกถึงแฟชั่นของผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ แต่แฟชั่นของผู้ชายก็อันตรายไม่แพ้กัน
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ความสวยงามมักถูกคำนึงถึงมากกว่าความสะดวกสบาย จนหลายคนต้องสังเวยชีวิตจากเสื้อผ้าหน้าผมตามกระแสนิยม แฟชั่นเหล่านี้ไม่เพียงแค่ทำลายสุขภาพของผู้คน แต่ยังก่อให้เกิดความขัดแย้งและความรุนแรงด้วย
#แฟชั่น #เล่าสยอง #รอบโลก
Published 01/19/22
ในมุมมองของคนทำงานข่าว การจะเลือกข่าวใหญ่ประจำปีไม่ใช่เรื่องง่าย
ตัวลิตเติ้ลเลือกเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ที่นำไปสู่การโจมตีทางอากาศ เมื่อเดือนพฤษภาคม ส่วนตัวพี่ณาเลือกเหตุการณ์ที่ตาลีบันเข้ายึดกรุงคาบูล เมืองหลวงอัฟกานิสถานได้สำเร็จ เมื่อเดือนสิงหาคม
ทำไมถึงเป็นสองข่าวนี้? สองเหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองโลกอย่างไร?
Published 12/25/21
ปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา มีรายงานการค้นพบโควิด-19 กลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ที่องค์การอนามัยโลกให้ชื่อว่า “โอมิครอน”
นักวิทยาศาสตร์บางคนถึงกับวิตก เพราะโอมิครอนมีตำแหน่งกลายพันธุ์ที่หนามโปรตีนมากถึง 32 ตำแหน่ง
ท่ามกลางจำนวนประเทศที่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ กลับมีเสียงจากหลายฝ่ายออกมาเตือนว่าอย่าตื่นตระหนกเกินเหตุ เพราะนักวิทย์ฯ ยังไม่มีข้อมูลมากพอและความกังวลที่มียังเป็นแค่การคาดการณ์เท่านั้น
Published 12/04/21
17 พฤศจิกายน เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามาตรา 1448 ที่รับรองการสมรสเฉพาะชายหญิงนั้น ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และความเสมอภาค
เกิดเป็นประเด็นร้อนแรงในโลกโซเชียล กลายเป็นกระแสที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน และถกประเด็นกันในสังคม ถือเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในอนาคต
เพราะหากมองประวัติศาสตร์ของบรรดาประเทศ #สมรสเท่าเทียม ที่ผ่านมา ประชาชนก็ต้องถกเถียง ต่อสู้ และเรียกร้อง มาไม่น้อยเช่นกัน
Published 11/27/21
หลายฝ่ายออกมาบอกว่าวิกฤตผู้อพยพบนชายแดนโปแลนด์ เป็นเพียงการเบี่ยงเบนความสนใจจากสิ่งที่รัสเซียกำลังจะทำ นั่นคือการบุกยูเครน
เลขาธิการนาโต้ออกมาแสดงความกังวลถึงกองกำลังทหารรัสเซียที่เพิ่มมากขึ้นผิดปกติบริเวณชายแดนด้านตะวันออกของยูเครน ส่งผลให้ยูเครน และหลายประเทศเสริมกำลังเต็มที่
เกิดอะไรขึ้นที่นั่น? รัสเซียกำลังพยายามจะทำอะไรกันแน่?
Published 11/20/21
หากพูดถึงความเหี้ยมโหดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หลายคนคงนึกถึงค่ายกักกัน และการสังหารหมู่ของนาซี
แต่ด้านฝั่งตะวันออกเอง ก็มีเรื่องราวที่น่าสยดสยองและโหดเหี้ยมไม่ต่างกัน เมื่อญี่ปุ่นจัดตั้งหน่วยลับด้วยเป้าหมายที่จะผลิตเชื้อโรค โดยใช้คนจริงๆ เป็นหนูทดลอง
Published 11/19/21
วิกฤตผู้อพยพที่ชายแดนโปแลนด์-เบลารุส กลายมาเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศ เมื่อโปแลนด์ประกาศว่า ผู้อพยพเหล่านี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง โดย อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโค ประธานาธิบดีเบลารุส เจ้าของฉายาเผด็จการคนสุดท้ายของยุโรป
ยิ่งไปกว่านั้น นายกฯโปแลนด์ยังระบุว่า วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย อยู่เบื้องหลังหลังแผนการนี้ด้วยเช่นกัน
เกิดอะไรขึ้นที่นั่น และทำไมเบลารุสต้องใช้ผู้อพยพเป็นเกมการเมือง?
Published 11/13/21
หลายทศวรรษของการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอวกาศ มีสัตว์หลากหลายชนิดถูกส่งออกไปทำนอกโลก ด้วยเหตุผลเพื่อการวิจัย โด่งดังที่สุดคือ “ไลก้า” สุนัขตัวแรกจากสหภาพโซเวียต
ในขณะที่ไลก้าถูกยกย่องถึงความเสียสละเพื่องานวิทยาศาสตร์ อีกมุมหนึ่งที่ผู้คนไม่ค่อยพูดถึงคือ เกิดอะไรขึ้นกับสุนัขที่ออกไปนอกโลกตัวแรก มันตายอย่างไรและมีสัตว์อะไรอีกบ้างที่ถูกส่งไปนอกโลก?
Published 11/10/21
เกิดอะไรขึ้นกับข้อตกลงปารีสใน COP21 เมื่อปี 2015? ทำไม COP26 ถึงถูกบอกว่าเป็นการประชุมชี้เป็นชี้ตายของโลก?
โลกร้อนคือเรื่องที่ทุกคนรู้ดี และถูกพูดถึงมาตลอด แต่นาทีนี้เหล่าผู้นำของโลกย้ำอย่างจริงจังว่า เราเหลือเวลาไม่มากในการลงมือทำ
โลกจะเป็นอย่างไรหากแต่ละประเทศ ทำตามข้อตกลงไม่ได้? แล้วไทยให้สัญญาอะไรในเวทีโลก?
Published 11/06/21
ภายใต้ชั้นดินเยือกแข็ง มีภัยคุกคามที่มองไม่เห็นซ่อนอยู่มากมาย...
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่ได้มีแค่อากาศที่ร้อนขึ้น หรือน้ำทะเลที่สูงขึ้นเท่านั้น แต่อุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยที่เพิ่มสูงขึ้น ยังทำหน้าที่เป็นตัวเร่งให้ระเบิดเวลา ณ ขั้วโลกปะทุขึ้นได้ทุกเมื่อ
Published 11/03/21
ติดเขี้ยว แต่งเลือดที่มุมปาก ใส่ชุดสูทสีดำ เรียกได้ว่าเป็นไอเดียแต่งตัวยอดฮิตสำหรับปาร์ตี้ฮาโลวีนทุกๆ ปี
เพราะไม่มีใครไม่รู้จักแวมไพร์ ตำนานผีดูดเลือดที่มีภาพจำมากที่สุด
เบื้องหลังตำนานผีดิบแวมไพร์ แท้จริงแล้วเป็นอย่างไร ? ทำไมคนถึงหวาดกลัวไปทั่วยุโรป ?
Published 10/28/21
ท่ามกลางความยากลำบาก และการถูกคุกคามในรูปแบบต่างๆ ของสื่อมวลชนทั่วโลก คณะกรรมการโนเบลตัดสินใจมอบรางวัลสาขาสันติภาพในปี 2021 นี้ ให้แก่ มาเรีย เรสซ่า และดีมิทรี มูราตอฟ
สองนักข่าวที่พยายามปกป้องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นของประชาธิปไตย และสันติภาพที่ยั่งยืน
ในฐานะของคนทำข่าว พี่ณากับลิตเติ้ลมีความคิดเห็นอย่างไรกับประเด็นนี้ ? และนี่ถือเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับคนทำงานสื่อทั่วโลกหรือไม่ ?
Published 10/23/21