รอยจารึก...บันทึกสยาม EP. 43: เวนิสวานิช พระอัจฉริยาภาพด้านภาษาและงานแปลในรัชกาลที่ 6
Description
พระราชนิพนธ์และผลงานแปลของพระมหากษัตริย์หลายเรื่อง ถูกนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในวิชาภาษาไทยมาอย่างยาวนาน หนึ่งในนั้นคือเรื่อง เวนิสวานิช ผลงานแปลในรัชกาลที่ 6 ต้นฉบับของ วิลเลียม เชกส์เปียร์ (William Shakespeare) ที่แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านภาษาที่ทรงแปลได้ตรงตามความหมายจากต้นฉบับออกมาเป็นกลอนเมื่อ พ.ศ. 2459 สำหรับเรื่องนี้มีประโยคที่เราต่างคุ้นหูคือ "อันความกรุณาปรานี จะมีใครมาบังคับก็หาไม่..."
พระอัจฉริยภาพในรัชกาลที่ 6 ทางด้านภาษาต่างประเทศและการแปลภาษาจากบทประพันธ์ต่างประเทศให้เป็นภาษาไทย มีแง่มุมอะไรน่าสนใจ รวมถึงความเกี่ยวข้องกับการปกครองในยุคสมัยนั้นอย่างไร
หลังจากประเทศสยามก้าวสู่การเป็นประชาธิปไตยและมีการประกาศใช้ #รัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 แต่แล้วในปี พ.ศ. 2476 สยามต้องเผชิญกับความผันผวนทางการเมืองอยู่หลายอย่าง ตั้งแต่ความพยาบามที่จะมีคณะพรรคการเมือง การเสนอเค้าโครงการเศรษฐกิจ การปิดสภาฯ...
Published 12/29/22
28 ธันวาคม ในทางประวัติศาสตร์เป็นวันที่ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปราบดาภิเษก "ทองอยู่ พุฒพัฒน์" อดีต ส.ส. จังหวัดธนบุรีคนแรกเมื่อปี พ.ศ. 2476 เป็นผู้ผลักดันให้มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์ที่วงเวียนใหญ่ซึ่งใช้เวลายาวนานถึง 20 ปีนับตั้งแต่ริเริ่มจนก่อสร้างเสร็จ
ทองอยู่...
Published 12/22/22