Episodes
ผลงานนิยายสามเรื่องของ #ลาดิด หรือ #LADYS ได้แก่ #พัทยาและมาหยา #คุณเคนต์และข้าพเจ้า (Ms.Kent&Me) และ #อันกามการุณย์ ต่างนำเสนอน้ำเสียงของนักเขียนพร้อมกับประเด็นร่วมสมัยอย่างเรื่องอัตลักษณ์และมิติทางเพศของตัวละคร รวมถึงการต่อรองอำนาจว่ามีผลต่อความสัมพันธ์อย่างไร
#หลบมุมอ่าน ชวน #ลาดิด #LADYS นักเขียนเจ้าของผลงานทั้งสามเรื่องมาร่วมพูดคุยถึง การตัดสินใจจากการเป็นนักศึกษาแพทย์มาเป็นนักเขียน ประเด็นเรื่องเพศสภาพ การเขียนแนวกระแสสำนึก และหนังสือการ์ตูนที่เธอชอบอ่าน
Published 11/28/24
#สิ้นแสงดาวแดง เป็นเรื่องราวของคนหนุ่มสาวหมวกซาลาเปาในพื้นที่เขตงานภาคใต้ตอนบน โดยเฉพาะจังหวัดสุราษฎร์ธานีในช่วงปี พ.ศ. 2508-2525 ผู้เขียนนำเสนอให้เห็นว่าสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไรในสังคมของพวกเขานอกเหนือไปจากอุดมการณ์ทางการเมือง อย่างเรื่องชีวิตของสหายมวลชน ภูมิประเทศอันอุดมสมบูรณ์ อาหารการกินของคนในค่าย การให้การศึกษา และสื่อสิ่งพิมพ์ที่พวกเขาผลิตออกมาอย่างหนังสือ #ไฟลามทุ่ง
#หลบมุมอ่าน ชวน #เฟื่องลดา ผู้เขียน #สิ้นแสงดาวแดง...
Published 11/21/24
#ซีไรต์ - รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน ได้เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2522 ซึ่งก่อตั้งโดยประเทศไทย เพื่อมอบรางวัลให้แก่นักเขียนจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ทำงานเขียนประเภทนวนิยาย เรื่องสั้น และกวีนิพนธ์ โดยในแต่ละปีจะกำหนดการมอบรางวัลให้อย่างละประเภท ซึ่งปี พ.ศ. 2567 เป็นรอบของงานเขียนประเภทนวนิยาย และนิยายเรื่อง #กี่บาด ผลงานของประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด ได้รับรางวัลซีไรต์ของปีนี้
#หลบมุมอ่าน ชวน จรูญพร ปรปักษ์ประลัย นักเขียนบทภาพยนตร์และละครซีรีส์ นักวิจารณ์...
Published 11/14/24
#กี่บาด นวนิยายวรรณกรรมสร้างสรรค์แห่งอาเซียน ( #ซีไรต์ ) ประจำปี 2567 ของ ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด เล่าเรื่องของ #แม่หญิง ช่างทอผ้าแม่แจ่มสามรุ่นที่ผูกพันกับการทอผ้า ที่ต้องต่อสู้ รักษา และส่งต่อมรดกทางวัฒนธรรมคือการทอผ้าไปยังคนอีกรุ่นของครอบครัว รวมถึงการต่อรองอำนาจกับเพศสภาพ จารีต และความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นกับตัวละครในเรื่องว่ามี #กี่บาดแผล
#หลบมุมอ่าน ชวน ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด นักเขียนซีไรต์’67 มาร่วมพูดคุยถึงความรู้สึกหลังรับมงซีไรต์ และพาคุณผู้ฟังไปทำความรู้จักกับผลงาน #เรื่องสั้น...
Published 11/07/24
#ห้องสมุดผีเสื้อ จังหวัดศรีสะเกษ ก่อตั้งโดย หทัยรัตน์ สุดา (อ้อ) ผู้ซึ่งทำพื้นที่สาธารณะเล็ก ๆ ในบ้านให้เกิดประโยชน์ในด้านการศึกษาแก่เด็กและคนอื่น ๆ ผ่านหนังสือ การอ่าน การสนทนา การเรียนรู้รอบตัว การพัฒนาและการสร้างแรงบันดาลใจ มาอย่างต่อเนื่องนานกว่า 9 ปี
#หลบมุมอ่าน ชวน “อ้อ” หทัยรัตน์ มาร่วมพูดคุยถึงที่มาและแรงบันดาลใจในการทำห้องสมุดผีเสื้อ พื้นที่สร้างการมีส่วนร่วมแก่เด็กและผู้ใหญ่ โรงเรียนและการศึกษาทางเลือกอันแท้จริงซึ่งประชาชนต้องมีสิทธิ์เลือกได้ แรงบันดาลใจจากศานตินิเกตันในอินเดีย...
Published 10/31/24
#ลำนำจ้าวสังเวียน เป็นหนังสือวรรณกรรมเยาวชนที่นำเสนอภาพวัยเด็ก จินตนาการ ความแฟนตาซีของสัตว์อย่างวัวชนและนกเขาชวากับต้นไม้ รวมถึงวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการต่อสู้ของวัวชน หนังสือเรื่องนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รางวัลชมนาด ครั้งที่ 13 ปี 2567
#หลบมุมอ่าน ชวน “ดารัช” นามปากกาของ วิชุดา ราชพิทักษ์ เจ้าของผลงาน ลำนำจ้าวสังเวียน มาร่วมพูดคุยถึงชีวิตและการทำงานเขียนทั้งผลงานก่อนหน้า/ปัจจุบันและที่กำลังจะเผยแพร่ในอนาคต ความสำคัญของ #รางวัลชมนาด...
Published 10/24/24
Learning Field Studio (LFS) สนามเรียนรู้ที่ก่อตั้งโดย อุ้ย-นวนันท์ ประทุม ผู้เป็นทั้งนักอ่าน นักเขียน กระบวนการที่ใช้หนังสือ การอ่าน ศิลปะ และการหยิบจับสิ่งที่มีในชีวิตประจำวันมาใช้ในการออกแบบและจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเชื่อมโยงการอ่านของตัวเองไปยังความเป็นชุมชน ความเป็นวัฒนธรรม ความเป็นสังคม และระบบนิเวศในธรรมชาติ
#หลบมุมอ่าน ชวน อุ้ย นวนันท์ ประทุม มาร่วมพูดคุยถึงที่มาของการก่อเกิด LFS, กระบวนการออกแบบการอ่านแบบ “XYZ” เป็นอย่างไร, กิจกรรมรูปแบบต่าง ๆ ที่ใช้หนังสือกับการอ่านเป็นสื่อกลาง...
Published 10/17/24
นญีบ อาห์มัด ผู้เขียนชุดเรื่องเล่า #เกิดบนเรือนมลายู กล่าวไว้ตอนหนึ่งใน #หลบมุมอ่าน ว่าหนังสือเล่มนี้นำเสนอวัฒนธรรมท้องถิ่นของสามจังหวัด (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) กับประวัติศาสตร์ของยุคใกล้ก่อนปี 2547 เป็นประวัติศาสตร์สังคมและเป็นเรื่องที่ไม่มีใครพูดถึง
#หลบมุมอ่าน อีพีนี้จึงอยากชวนผู้ฟังขึ้นเรือนมลายู โดยมี นญีบ อาห์มัด เป็นผู้มาเล่าประสบการณ์และความทรงจำผ่านชุดเรื่องเล่าเกิดบนเรือนมลายู วัฒนธรรมอาหารและพาไปตามรอยสำรับกับข้าวหะยีสุหลง อับดุลกอเดร์ โต๊ะมีนา กับข้าวในเรือนจำ...
Published 10/10/24
ในปี 2567 ร้านหนังสือ Little lovely bookshop ในจังหวัดลำปาง ได้เปิดดำเนินการมาเป็นปีที่ 11 #หลบมุมอ่าน จึงชวน คุณพงษ์ประสิทธิ์ พงษ์พิจิตร ผู้ก่อตั้งร้าน มาร่วมพูดคุยถึงการทำร้านหนังสือในคลินิกรักษาสัตว์ การปรับตัวและการบริหารจัดการกับความเปลี่ยนแปลงของสื่อสิ่งพิมพ์ โลกออนไลน์ ซึ่งส่งผลต่อการมีอยู่ของร้านหนังสือ และการจัดกิจกรรมเพื่อให้ร้านเป็นพื้นที่พบปะของคนจากหลากหลายกลุ่ม
“ร้านเราก็ส่วนตัวผม ก็จะเปรียบเทียบว่ามันเหมือนเป็นถ้ำสำหรับนักอ่าน ที่เหมือนเราจุดกองไฟไว้นะ จะมาผิงไฟเมื่อไหร่ก็ได้...
Published 10/03/24
การผลักดันหนังสือไทยไปยังต่างแดนผ่านการขายลิขสิทธิ์ ถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนต้นทางกับผู้คนปลายทางผ่านงานเขียนเพื่อสร้างการเรียนรู้ทางด้านสังคมวัฒนธรรม
#หลบมุมอ่าน ชวน วสุรีย์ พิศุทธิ์สินธพ ผู้บริหารและรับผิดชอบการตลาดในการซื้อ-ขายลิขสิทธิ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ, อนุกรรมการ สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) ในส่วนงานต่างประเทศ ซึ่งมีประสบการณ์ในแวดวงหนังสือมามากกว่า 19 ปี และขายลิขสิทธิ์หนังสือไทยไปต่างแดนแล้วกว่า 400 เล่ม...
Published 09/26/24
หนังสือ “ด่าน ถนน คนบนพรมแดน: โครงสร้างพื้นฐานชายแดนจังหวัดแม่ฮ่องสอน” ผลงานของ ผศ.ดร. บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล นำเสนอให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ชุมชนกับความสัมพันธ์ข้ามพรมแดน, การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานบนสองฝั่งชายแดน, โครงสร้างพื้นฐานละมุน: ความมั่นคงของชาติกับการจัดการชายแดน
#หลบมุมอ่าน ชวน ผศ.ดร.บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล มาพูดคุยถึง ด่าน ถนน คนบนพรมแดน ไทยกับเมียนมาที่จุดผ่อนปรนฯ ห้วยต้นนุ่น ช่วงก่อนและหลังรัฐประหารในเมียนมาเมื่อปี 2564 ในมิติสังคม ผู้คน วัฒนธรรม การค้าชายแดน และการท่องเที่ยว
Published 09/19/24
“100 Acre Books & Café: ร้านหนังสือเล็ก ๆ ที่มีชื่อใหญ่ที่สุดในโลก” ซึ่ง “กี้” นราทิพย์ นาถาดทอง และ “เกม” สุทธิพงษ์ แก้วอามาตย์ สองผู้ก่อตั้งร้านตั้งใจให้เป็นมากกว่าร้านหนังสือ เพราะที่นี่ยังมีมิตรภาพ ผู้คน และร่องรอยการอ่านของทั้งคู่
#หลบมุมอ่าน จะพาผู้ฟังเดินเข้าไปทำความรู้จักกับพิพิธภัณฑ์การอ่านในห้องหนังสือสะสมของ “กี้&เกม” การบริหารจัดการร้านหนังสือออนไลน์และหน้าร้านแบบออนไซต์ของทั้งคู่ การออกแบบกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ร้านเป็นพื้นที่ทางความคิด แลกเปลี่ยนมุมมอง...
Published 09/12/24
เรื่องเล่าของแม่นับเป็นหนังสือเสียงเล่มแรกในชีวิตของ จรัญ มาลัยกุล หัวหน้าโครงการอ่านสร้างชาติ มูลนิธิกระจกเงาและหนังสือที่เขาอ่านในวัยหนุ่มสมัยเป็นนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย จุดประกายและสร้างตัวตนของเขามาจนทุกวันนี้
โครงการอ่านสร้างชาติ เป็นโครงการที่มีส่วนในการสร้างระบบนิเวศและวัฒนธรรมการอ่านผ่าน #มหกรรมหนังสือเล่มละบาท #สำนักพิมพ์กระจกเงา #ห้องสมุดกระจกเงา ที่จังหวัดเชียงรายและอุบลราชธานี (เป็นจังหวัดนำร่อง) และ #ร้านหนังสือกระจกเงา
#หลบมุมอ่าน...
Published 09/05/24
ธนกร การิสุข นักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะมาร่วมพูดคุยกับ #หลบมุมอ่าน เพื่อพาผู้ฟังย้อนกลับไปสำรวจจังหวัดมหาสารคาม ช่วงต้นทศวรรษ 1960 ผ่านสายตาและมุมมองของ ฟรานซิส คริปส์ (Francis Cripps) ผู้เขียนหนังสือ The Far Province หรือ #สภาพอีสาน แปลเป็นภาษาไทยโดย ตุลจันทร์ (จันทร์แจ่ม บุนนาค) จากนั้น ธนกรจะร่วมแลกเปลี่ยนและพาผู้ฟังย้อนกลับมามองปัจจุบันของจังหวัดมหาสารคาม
#สภาพอีสาน หนังสือที่เป็นตัวกลางสะท้อนบริบทของจังหวัดมหาสารคามช่วง #สงครามเย็น...
Published 08/29/24
#Patani Book Club พื้นที่ของคนรักการอ่านในจังหวัดปัตตานี ที่เปิดโอกาสให้ผู้สนใจมีส่วนร่วมในการนำหนังสือมาพูดคุยแลกเปลี่ยนและการออกแบบกิจกรรมร่วมกันเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมแห่งการอ่าน
#หลบมุมอ่าน ชวน อารีฟีน โสะ แห่ง Patani Book Club มาร่วมพูดคุยถึงที่มาและแรงบันดาลใจในการสร้างกลุ่ม ร้านหนังสือในจังหวัดปัตตานี เพื่อน ๆ ที่มารวมกลุ่มกันอ่านอะไรกันบ้าง รวมถึงหนังสือเล่มโปรดของเขาอย่างผลงานนวนิยายชุดจตุรภาคเกาะบูรูของปรามูเดีย อนันตา ตูร์
Published 08/22/24
#พระจันทร์เดือนกันยา นวนิยายเรื่องแรกของ กันย์นรา พิชาพร (นามปากกาของ สุพร นราพิชญ์) ที่บอกเล่าเรื่องราวชีวิตของผู้หญิงชาวจีนในฐานะลูกสาว ลูกสะใภ้ และแม่เลี้ยงเดี่ยว ลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่ พ.ศ.2496 จนถึง พ.ศ. 2563 ระยะ 67 ปีของชีวิตและประสบการณ์ที่ดำเนินไปพร้อมกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมของครอบครัวชาวจีน
#หลบมุมอ่าน ชวนนักเขียนเจ้าของผลงานมาพูดถึงเส้นทางการทำงานเขียน แรงบันดาลใจการอ่าน-การเขียนที่สุพร นราพิชญ์ได้รับจากลูกสาว และงานเขียนอย่าง #สงครามชีวิต ของ ศรีบูรพา ให้อะไรกับเธอ
Published 08/15/24
อาจารย์วรเชษฐ เขียวจันทร์ นักวิชาการอิสระด้านมานุษยวิทยา นักเขียน เจ้าของสำนักพิมพ์ วิทยากร และผู้ก่อตั้ง “Book Towns หนังสือเปลี่ยนเมือง” จะมาร่วมพูดคุยกับ #หลบมุมอ่าน เกี่ยวกับแรงบันดาลใจในการส่งต่อการอ่านในส่วนภูมิภาคที่จังหวัดพัทลุงและจังหวัดปัตตานี รวมถึงหนังสือเล่มที่เปลี่ยนชีวิตในช่วงวัยเด็กและช่วงศึกษาต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอก อาจารย์วรเชษฐบอกว่า การเป็นเด็กวัดในวัยเด็กทำให้มีโอกาสเข้าถึงหนังสือและการอ่าน เรามาฟังกันว่าหนังสือนอกจากเปลี่ยนชีวิตคนอ่านแล้ว...
Published 08/08/24
ผศ.ดร.วราภรณ์ ฉัตราติชาต อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักวิจัยแลกเปลี่ยนของ LABOUR Project มาร่วมพูดคุยกับ #หลบมุมอ่าน และพาผู้ฟังไปทำความรู้จักมอลโดวาจากการเป็นนักวิจัยที่นั่น ผ่านพิพิธภัณฑ์วรรณกรรม นักเขียน/ผลงานของนักเขียน ห้องสมุด และร้านหนังสือ ซึ่งสะท้อนประวัติศาสตร์ของมอลโดวาจากมุมมองที่หลากหลาย
สามารถอ่านบันทึกจากต่างแดนของนักวิจัย ในเว็บไซต์ South Asia Insight https://southasiainsight.com
Published 08/01/24
ธนกร การิสุข นักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะมาร่วมพูดคุยกับ #หลบมุมอ่าน เกี่ยวกับความสนใจในประเทศเวียดนาม การเดินทางครั้งล่าสุดของเขาในเมืองเดียนเบียนฟู การไปเยือนพิพิธภัณฑ์ชัยชนะครั้งประวัติศาสตร์แห่งเดียนเบียนฟู เรื่องราวในวาระครบรอบ 70 ปี สมรภูมิเดียนเบียนฟู (7 พฤษภาคม 1954-7 พฤษภาคม 2024) หนังสือที่เป็นแรงบันดาลใจให้ไปเยือนเวียดนาม รวมถึงมุมมองต่อการรบที่เดียนเบียนฟูว่าเป็นจุดเปลี่ยนของประวัติศาสตร์อาณานิคมของอินโดจีนอย่างไร
Published 07/25/24
#เฟมินิสต์แบบบ้านๆ หนังสือความเรียงประสบการณ์ในช่วงชีวิตของคนทำงานทางสังคมของผู้เขียนคือ จะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ซึ่งถ่ายทอดเรื่องราวตั้งแต่วัยเด็ก วัยเรียน และวัยทำงาน สะท้อนให้เห็นถึงการถูกบ่มเพาะจากแม่ เรียกได้ว่า #เฟมินิสต์เริ่มต้นจากที่บ้านของแท้ ต่อมาเมื่อเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย การทำกิจกรรมร่วมกับรุ่นพี่และเพื่อน ๆ การลงสนามเพื่อเรียนรู้ชีวิตของคนงาน การเผชิญกับข้อท้าทายในฐานะคนทำงานทางสังคม และสิ่งที่ทำให้ยืนหยัดมาจนถึงปัจจุบัน
หนังสือ...
Published 07/18/24
งามศุกร์ รัตนเสถียร อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ผู้มีความสนใจพม่า (เมียนมา) และใช้หนังสือเป็นหนึ่งในการทำความเข้าใจสถานการณ์ของพม่าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จะมาร่วมพูดคุยกับ #หลบมุมอ่าน ผ่านหนังสือแปลสามเล่ม ได้แก่ ร้าวรานในวารวัน (The Glass Palace) ของ Amitav Ghosh, พม่ารำลึก (Burmese Days) ของ George Orwell และ เปียโนจูนเนอร์ (The Piano Tuner) ของ Daniel Mason ซึ่งแต่ละเล่มสะท้อนและนำเสนอพม่าในแต่ละยุคสมัยแล้วเชื่อมโยงมาจนถึงยุคปัจจุบัน
Published 07/11/24
บริษฎ์ พงศ์วัชร์ ผู้ก่อตั้งร้านหนังสือ SOMEWHERE BOOKSHOP นักเขียนเจ้าของผลงานเรื่อง “WALTZ เต้นรำในวอดวาย” และเรื่อง “SOMEWHERE BOOKSHOP” จะมาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับการเติบโตทางการอ่านของเขาท่ามกลางหนังสือของคุณพ่อและคุณแม่ การใช้หนังสือเป็นสะพานเพื่อไปหาคนอื่นๆ การทำให้หนังสือ/การอ่านเชื่อมโยงกับผู้คนผ่านร้านหนังสือ SOMEWHERE BOOKSHOP ที่ทำให้คุณคนอ่านรู้สึกใจฟูกับการเดินทางเล็กๆ ในร้านแห่งนี้ และมาฮีลใจกันต่อว่า “จริงๆ เราหลงรักคนผิดได้นะ” ปักหมุดไปร้านหนังสือประตูสีแดงๆ กับ #หลบมุมอ่าน
Published 07/04/24
อานนท์ ชวาลาวัณย์ ผู้ก่อตั้ง #พิพิธภัณฑ์สามัญชน ซึ่งเขาเรียนทางด้านประวัติศาสตร์ เป็นคนชอบเที่ยวพิพิธภัณฑ์ และสนใจการเมือง จะมาร่วมพูดคุยกับ #หลบมุมอ่าน ถึงที่มาของการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ในรูปแบบออนไลน์, เรื่องเล่าจากสิ่งของจัดแสดงอย่างสื่อสิ่งพิมพ์, มิติวิถีชีวิตทางการเมืองของผู้คน, การทำแหล่งเรียนรู้และมิวเซียมอิสระภายใต้ข้อจำกัดของผู้ก่อตั้งเพื่อเป็นทางเลือกแก่ผู้สนใจ พร้อมกับพาผู้ฟังเที่ยวไปในบางพิพิธภัณฑ์ และกิจกรรม #อ่านออกเสียงอภิวัฒน์สยาม
“ในพิพิธภัณฑ์สามัญชนเราจะเสนอว่า...
Published 06/27/24
สมาน อู่งามสิน นักสะสมหนังสือ มาร่วมพูดคุยกับหลบมุมอ่าน เกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และอิทธิพลของหนังสือ “โฉมหน้าศักดินาไทย” ผลงานของ จิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งเป็นหนังสือเล่มแรกที่เขาอ่านจบในวันเดียว ต่อมาเขาและเพื่อน ๆ ได้ก่อตั้งห้องสมุดที่บ้านของเพื่อนเพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนทางความคิด การอ่านที่หลากหลายจึงนำไปสู่การสะสมหนังสือประเภทต่าง ๆ เช่น หนังสือประวัติศาสตร์สังคมการเมือง ปรัชญา ศาสนา วรรณกรรม และวัฒนธรรม ปัจจุบัน สมานมีหนังสือสะสมมากกว่าหมื่นเล่ม...
Published 06/20/24