Episodes
“การไม่บอกว่าสถานที่รับทำแท้งอยู่ที่ไหน ก็เหมือนการปล่อยให้ผู้หญิงลอยคอในแม่น้ำ หาทางขึ้นฝั่งไม่เจอ”
.
3 ปีแล้ว ที่ประเทศไทยแก้ไขกฎหมายอาญา ให้หญิงที่มีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ที่ทำแท้งไม่ถือว่ามีความผิด หากอายุครรภ์ 12-20 สัปดาห์ สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้เช่นกัน แต่ต้องตรวจ และรับคำปรึกษาจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพอื่น
.
แม้ปัจจุบันมีสถานบริการรัฐ เอกชน เพิ่มขึ้นเป็น 133 แห่ง จาก 51 จังหวัด แต่ยังพบหญิงจำนวนไม่น้อยที่ไม่ทราบข้อมูลนี้ ตัดโอกาสในการเข้าถึงการทำแท้ง...
Published 12/08/24
เพราะ งานวิจัย คือ หัวใจของการสร้างธุรกิจให้แตกต่าง และยั่งยืน ซึ่ง xLab นั้น พยายามทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมต้นทุนจากงานวิจัยในสถาบันการศึกษา
.
เจาะลึกบทบาท xLab ในการสนับสนุนหน่วยงาน และเจ้าของงานวิจัย จนเกิดผลตอบแทนทางการเงิน (Financial Return) กับ "ตรัย สัสตวัฒนา" ผู้อำนวยการสายงานการบ่มเพาะนวัตกรรม ระบบนิเวศน์นวัตกรรม และความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ บริษัท เอกซ์แล็บ ดิจิทัล จำกัด / บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์จำกัด มหาชน ใน The Active Podcast EP.219 เจาะแนวคิด-พลิกงานวิจัย สู่ โมเดลธุรกิจ
Published 12/01/24
“เราเกิดมาเป็นปลา ไม่ได้เป็นนก เราไม่จำเป็นต้องบินบนฟ้าให้สูงเหมือนใคร แต่เราว่ายน้ำในมหาสมุทรของเราได้ไกลเท่าที่เราต้องการ”
.
จากเด็กชายที่เอาแต่เก็บตัวเพราะเกิดมาพร้อมความไม่สมบูรณ์ทางด้านร่างกาย จนได้มาพบกับโลกของหนังสือที่กลายเป็นประตูด่านแรกที่ทำให้ ศร-ศวัส มลสุวรรณ' เจ้าของนามปากกา ‘คิดมาก’ ได้ก้าวพ้นข้อจำกัดของร่างกายและจิตใจ ผ่านการถ่ายทอดการเดินทางของชีวิตด้วยสายตาที่สุข เหงา เศร้า และเข้าใจ จนครองใจนักอ่านทั่วประเทศ ด้วยฉายา ‘นักเขียนฮีลใจ’ ที่มีหนังสือมาแล้ว 33 เล่ม...
Published 11/24/24
หลายครั้งที่ความขัดแย้งในสังคม มีเรื่อง “ชาติ” และ “ศาสนา” เป็นสารตั้งต้น หลายครั้งบานปลาย สร้างรอยร้าว แผลลึก กระทบต่อการเป็นส่วนหนึ่งของโลก
.
หากจะทำให้พลเมืองไทย มีความเป็น Global Children - Global Labour อาจต้องย้อนกลับมาทบทวนสาเหตุที่ความเป็น “ชาติ-ศาสนนิยม” ถูกปลุกขึ้นมาเป็นอาวุธฟาดฟันกัน เพราะแท้ที่จริงแล้ว นั่นอาจเพราะ “รัฐไทย” ยังไม่ได้สร้างความมั่นคงในมนุษย์ให้เกิดขึ้นได้จริงในสังคมไทย
.
The Active Podcast “ขัดแย้งไม่รุนแรง” สัปดาห์นี้...
Published 11/17/24
กทม. มหานครแห่งโอกาส ผู้คนจากทั่วสารทิศต่างต้องการมาทำงานเก็บหอมรอมริบเพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของตัวเอง
.
“มหานครในฝัน” กับความจริง เหมือนหรือต่างกันอย่างไร มีอะไรที่เราจะก้าวข้ามเพื่อสร้างโอกาส และความเป็นธรรมให้กับเมืองได้
The Active Podcast พูดคุยเรื่องนี้กับ “คุณดี้ - เตชิต ชาวบางพรหม” หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนสุขภาวะเขตเมือง (ศสม.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) The Active Podcast EP.216 เมืองแห่งโอกาส (ของใคร)...เมืองเป็นธรรมสร้างได้กี่โมง?
Published 11/09/24
คนข้ามเพศสูงวัยอยู่ตรงไหนในสังคมไทย ?
.
คุณอาจเคยเห็นหญิงข้ามเพศ ชายข้ามเพศ ของไทยในเวทีประกวดระดับโลก หรือแม้แต่ความ “ละมุนนี” ตั้งแต่เด็ก ๆ ที่ปรากฎในโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก
.
แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงสูงวัย กลับพบว่ากลุ่มคนข้ามเพศหายไปจากการรับรู้ของสังคม สาเหตุสำคัญมาจากปัญหาด้านสุขภาพจากการเข้าไม่ถึงบริการสาธารณสุข เช่น ฮอร์โมนที่ต้องกินอย่างต่อเนื่องไม่ได้มาฟรี ๆ เมื่อเข้าไม่ถึงก็นำไปสู่อาการเจ็บป่วย หรือเสียชีวิต
.
ทางออกที่ภาคประชาชนเสนอ คือ...
Published 11/02/24
จากเด็กสาวตามหาฝัน สู่วันพ่อล้มป่วยด้วยมะเร็งระยะท้าย...ระหว่างเส้นทางแห่งอาชีพที่กำลังก้าวหน้า กับการได้ใช้ช่วงเวลาสุดท้ายกับพ่อ ชีวิตบังคับให้ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง แน่นอนว่า เธอเลือกอย่างหลัง
.
ตลอด 3 ปี ที่ตกงาน “กอเตย - ปิญชาดา ผ่องนพคุณ” ผันตัวจากสาวออฟฟิศสู่แม่ค้าขายอาหารตามโรงเรียนและเงินเก็บที่ร่อยหรอลงทุกวัน
.
เมื่อการแบกรับภาระทางบ้านนั้นยากพอ ๆ กับการพยายามเป็นคนดูมีความสุข ช่วงเวลานั้นเอง ที่เธอรู้สึกว่าวงจรลูซเซอร์นั้นได้เกิดขึ้นแล้ว
.
แต่ความจริงหนึ่งที่เธอได้พบคือ...
Published 10/26/24
อีก 5 วันนับจากนี้... “คดีตากใบ” จะหมดอายุความลงโดยสมบูรณ์ ท่ามกลางการตั้งคำถามมากมายว่าตลอด 20 ปี ของเหตุการณ์ความสูญเสียที่นับเป็นหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ของชายแดนใต้ จะจบลงโดยไม่มีใครรับผิดจริง ๆ หรือ ?
.
นั่นทำให้กรณีตากใบ ยิ่งสะท้อนชัดเจนถึง “วัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิด” ซึ่งผ่านมาตั้งแต่อดีตจนวันนี้ สังคมไทยแทบไม่เคยได้เรียนรู้อะไรเลย หรือสิ่งนี้กำลังก่อตัว และสร้างเงื่อนไขไปสู่ความรุนแรงให้กับพื้นที่ชายแดนใต้อย่างไม่รู้จบ
.
The Active Podcast “ขัดแย้งไม่รุนแรง” สัปดาห์นี้...
Published 10/19/24
"อยู่กับตัวเองก็ไม่แย่เท่าไร..." ทำอย่างไรเมื่อไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมคนโสด
.
ซึ่งสภาวะทางสังคมแบบนี้ ไม่ใช่แค่ในไทยแต่กลายเป็นไลฟสไตล์ของผู้คนยุคนี้ เมื่อเทรนด์การครองตัวเป็นโสดนั้นถูกยอมรับมากขึ้น เพราะเป็นเรื่องธรรดาที่ใคร ๆ ก็โสดกัน การแปรเปลี่ยนของสภาพแวดล้อม อาจทำให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนนั้นกล้าเลือกที่จะอยู่คนเดียว ด้วยเหตุผลของ “ความสบายใจ”
.
The Active Podcast คุยกับ “ภก.ณภัทร สัตยุตม์” นักจิตบำบัดความคิดและนักพฤติกรรมศาสตร์ nudge thailand ชวนคุยโดย เมธาวี ทวีผล...
Published 10/12/24
มะเร็งอัณฑะ ภัยเงียบที่ "ตูน หิ้วหวี" หรือ "Alie Blackcobra" ยูทูปเบอร์คนดังตรวจพบในระยะที่ 1 ในวัยเพียง 31 ปีเท่านั้น แต่ตอนนี้ได้เข้ารับการผ่าตัด และรับการรักษาเรียบร้อย
.
แม้โรคมะเร็งอัณฑะ จะไม่ติด 1 ใน10 ของมะเร็งที่พบบ่อยของชายไทย แต่สามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ โดยเฉพาะช่วงอายุ 15 – 35 ปี ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน HPV แบบเดียวกับที่ฉีดในผู้หญิงเพื่อป้องกัน “มะเร็งปากมดลูก”
.
เรื่องสำคัญแบบนี้ ทำไมชายไทย และเพศกำเนิดชายหลายคนไม่ทราบข้อมูล หรือทราบแล้ว...
Published 10/05/24
ภัยพิบัติอุทกภัยที่รุนแรงปีนี้ เกิดความสูญเสียเป็นวงกว้างทั่วประเทศ ท่ามกลางตัวเลขความเสียหายของทรัพย์สินและชีวิตผู้คน เบื้องหลังยังซ่อนความเจ็บปวดทางจิตใจที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
.
Looser Lesson ชวนสำรวจจิตใจในวันภัยพิบัติ พร้อมหาวิธีพลิกฟื้นเยียยาใจหลังน้ำลดไปกับ นพ.กิตต์กวี โพธิ์โน ผู้อำนวยการ รพ.สวนปรุง จ.เชียงราย ใน The Active Podcast EP.210 Looser in Disaster สุขภาพใจในภัยพิบัติ
Published 09/28/24
“กลัวแก่ กลัวตาย กลัวไม่สบาย กลัวไร้บ้าน” ความรู้สึกเหล่านี้จะเกิดขึ้นแน่หากไทยยังไร้นโยบายรองรับสังคมสูงวัยที่มองรอบด้าน
.
เพราะสูงวัยที่มีความสุข ไม่ได้หมายถึง การมีร่างกายตามอายุขัย (Lifespan) ที่ยาวนานเท่านั้น แต่ต้องมี (Healthspan) สุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงด้วย
.
แล้วไทยพร้อมจะสูงวัยอย่างมีความสุขหรือยัง... เราสามารถเตรียมความพร้อมอะไรได้บ้างเพื่อสูงวัยอย่าง Smart
.
ชวนเปิดประสบการณ์ เช็กความพร้อมกับ ศ.กิตติคุณ สุรพล วิรุฬห์รักษ์ อดีตนายกราชบัณฑิตยสภา และ วิพัตรา โตเต็มโชคชัยการด...
Published 09/22/24
การจัดตั้งรัฐบาลใหม่สำเร็จลุล่วง มีการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา นายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์แล้ว แต่ยังทิ้งคำถามและข้อสงสัยไว้ข้างหลังว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วง 4 - 5 ปีที่ผ่านมา มีคำอธิบายภายใต้ “วัฒนธรรมการเมือง” ของไทยอย่างไรได้บ้าง
.
The Active Podcast “ขัดแย้งไม่รุนแรง” สัปดาห์นี้ ชวนคุยถึงสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่เบื้องหลังวัฒนธรรมการเมือง ที่ไม่เพียงมองจากบริบทความขัดแย้งภายในประเทศ แต่รวมถึงบทบาทของไทยในการเมืองระหว่างประเทศระดับภูมิภาค ในมิติที่เชื่อมกับสันติวัฒนธรรม...
Published 09/15/24
การศึกษาในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะแค่การศึกษาภาคบังคับ การศึกษาขั้นพื้นฐานเท่านั้น เพราะการศึกษาในแวดวงสงฆ์ อย่าง โรงเรียนพระปริยัติธรรม ก็อาจจำเป็นต้องปรับในทุกมิติให้ทันต่อโลก
.
มีความพยายามยกระดับการศึกษาสงฆ์ ผ่านบทบาทของ “โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย” โดยมี “โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” เป็นพี่เลี้ยง ร่วมออกแบบแนวทาง กระบวนการทั้งระบบ
.
The Active Podcast ชวนมองเป้าหมายการบูรณาการการศึกษาทางโลก และทางธรรม ให้มีประสิทธิภาพ พร้อมมุ่งผลิต “ธรรมทายาท”...
Published 09/07/24
ถ้ามันไม่ดีทำไมยังมีคนดูหนังโป๊ ใช้เซ็กซ์ทอย ?
.
ไม่ว่าคุณจะเห็นด้วยกับหนังโป๊ เซ็กซ์ทอย ถูกกฎหมายหรือไม่ ก็ไม่สามารถปฏิเสธความจริงที่ว่า ยังมีคนจำนวนมากที่เข้าถึงสื่อเหล่านี้ได้มากขึ้นในทุก ๆ วัน และดูจะเปิดเผยมากขึ้น เมื่อไทยจัดงานที่รวบรวมดาราหนัง AV ของญี่ปุ่นแบบเปิดเผย
.
หรือเราควรจะพูดคุยเรื่องนี้กันอย่างจริงจัง ขีดเส้นศีลธรรม ที่เป็นธรรมกับทุกคน "เพศสนิท" คุยกับ นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาชนเสนอแก้ กม. ปลดล็อก ‘หนังโป๊-เซ็กซ์ทอย’ นำขึ้นบนดิน ควบคุมให้ได้มาตรฐาน...
Published 08/31/24
'สมอง' ไม่ต่างอะไรกับก้อนฟองเต้าหู้ที่ยัดไส้ด้วยสารสื่อประสาท มันใช้พลังงานเทียบเท่ากับไฟตู้เย็น แต่กลับมีช่วยให้มนุษย์มีชีวิตรอดได้ และด้วยความไม่สมบูรณ์แบบนี้ ทำให้หลายครั้งมันก็ตัดสินใจผิดพลาด และคาดเดาไม่ถูกต้อง
.
แต่เพราะ 'สมอง' ไม่สมบูรณ์แบบ มันจึงเรียนรู้ที่จะใจดีและมีความเอื้ออาทรต่อคนรอบข้าง การทำความเข้าใจสมองด้วยมุมมองวิทยาศาสตร์ อาจทำให้มนุษย์มองเห็นด้วยว่า ร่างกายของเรารักตัวเองได้อย่างไร
.
ชวนสนทนาภาษาวิทย์ รู้จักสมอง และเข้าใจตัวเองให้มากขึ้นไปกับ นพ.ชัยภัทร ชุณหรัศมิ์...
Published 08/25/24
โจทย์การแก้รัฐธรรมนูญ 2560 ถูกพูดถึงอีกครั้ง หลังคำวินิจฉัย 2 คดีสำคัญโดยศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งการยุบพรรคก้าวไกล และคำสั่งให้ ‘เศรษฐา ทวีสิน’ ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
.
ก่อนหาทางปลดชนวนวิกฤตรัฐธรรมนูญรอบใหม่ ชวนย้อนประวัติศาสตร์ รากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ส่งผลยาวนานถึงปัจจุบัน ผ่านมุมมองนักสันติวิธี
.
เมื่ออุดมการณ์อนุรักษ์นิยมที่ฝังรากลึกยังถูกสานต่อ ปะทะกับแนวคิดการเมืองแบบก้าวหน้าและต้องการเห็นสังคมไทยเปลี่ยนแปลง คือภาพที่ฉายวนซ้ำ ไม่ต่างจาก 92 ปีก่อน...
Published 08/17/24
การแบ่งสายการเรียน “วิทย์-ศิลป์” เกิดขึ้นใน แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2476
.
ปัจจุบันโลกเปลี่ยนไปแล้ว และคำตอบของการศึกษาก็ชัดมากขึ้นว่าเราต้องการให้ผู้เรียน "รู้จัก และค้นพบศักยภาพในตัวเอง"
.
แต่เพราะอะไรทำไมลู่การศึกษาไทยจึงยังจำกัดอยู่แค่ "สายวิทย์-สายศิลป์" ทั้งที่การแข่งขันในโลกยุคใหม่ให้ความสำคัญกับการ "เรียนรู้ข้ามศาสตร์" ไม่ได้จำกัดอยู่ที่สายใด สายหนึ่งเท่านั้น
.
The Active Podcast ชวนความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ของ "แผนการเรียนเฉพาะ" อีกทางเลือกของการศึกษาไทย ที่มีความยืดหยุ่น...
Published 08/11/24
“การแสดงพระกระยาหารครั้งสุดท้ายช่วงพิธีเปิดโอลิมปิกปี 2024 โดยกลุ่ม Drag ได้ทำให้ชาวคริสต์ทั่วโลกขุ่นเคืองอย่างหนัก”
.
หนึ่งในจดหมายทักท้วงไปยังคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ลงนามโดย บิชอปทั้ง 14 ของศาสนจักรคอปติกออร์โธด็อกซ์แห่งอเล็กซานเดรียในอเมริกาเหนือ ภายหลังพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิก 2024 ณ ประเทศฝรั่งเศส ที่กลายเป็นประเด็นดรามาถึงผู้จัดงานว่าพยายามชูความเท่าเทียมทางเพศอย่างสุดโต่งหรือไม่
.
ไม่นับรวมโควตาเท่าเทียมนักกีฬาชายหญิง 50:50 เป็นครั้งแรก สถิตินักกีฬา LGBTQIAN+ มากที่สุด...
Published 08/03/24
พรุ่งนี้วันจันทร์อีกแล้ว ! เพราะอะไรเราถึงรู้สึก “ไม่ปลอดภัย” กับทุกวันจันทร์ที่มาถึง หรือจริง ๆ แล้วเราไม่ได้เกลียดวันจันทร์ แต่เราเกลียดทุกวันที่ต้องทำงาน ?
.
เปลี่ยนวันจันทร์ให้เป็นวันสุข ด้วยการสร้างความปลอดภัยทางใจในที่ทำงาน “Psychological Safety” ชวนทุกคนเปิดรับความเห็นที่แตกต่าง อนุญาตให้พนักงานผิดพลาดได้ และถอดบทเรียนจากความผิดพลาดนั้นร่วมกัน กับ บาส-ฉัตรดนัย ศรชัย นักจิตวิทยาเพจ Psycholism ในThe Active...
Published 07/27/24
“ป่าหรือคนกันแน่ที่มาก่อน ?” คำถามชวนถกหลังเกิดปม “ทับลาน” ซึ่งไม่ใช่เหตุการณ์แรก เมื่อกระแสของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปะทะ หลักสิทธิชุมชนอันชอบธรรมในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร คำถามต่อมา คือ เรามองเห็นอะไรจากปรากฏการณ์นี้?
.
เมื่อปัญหาเชิงโครงสร้างยังรอวันแก้ไข อาจกำลังเติมเชื้อไฟให้ความรุนแรงเชิงโครงสร้างรอวันปะทุ ใครคือ “เหยื่อ” ของสถานการณ์ในลักษณะนี้
.
The Active Podcast ซีรีส์ ขัดแย้งไม่รุนแรง ซีซัน 3 “ความรุนแรงซ่อนเร้น” ตอน “เหยื่ออุดมการณ์สองขั้ว คน หรือ ป่า”...
Published 07/20/24
จากกระแส #SAVEทับลาน นำมาสู่การถกเถียงของสังคมอีกครั้ง และหลายกระแสโจมตีชาวบ้าน ตัวการรุกป่า ขายที่ดินให้นายทุน อ้างทำเกษตรไปไม่รอด
.
ทั้งที่ความจริง "การสูญเสียที่ดินทำกิน" ไม่ได้เกิดจาก เกษตรกรเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีปัจจัยอีกมากที่ยากจะทำให้ความมั่นคงในชีวิตเกิดขึ้นได้ ในฐานะเกษตรกร
The Active Podcast ชวนฟังโมเดลตัวอย่าง จากชุมชนบ้านเหนือ ม.15 ต.ปากช่อง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็น1ในชุมชนที่เคยได้รับการจัดสรรที่ดิน ส.ป.ก. 1,024 ไร่ เมื่อ 5 ปี ที่แล้ว เปิดเงื่อนไขสำคัญ...
Published 07/13/24
ไม่ชอบผู้ชาย ไม่ใช่เลสเบี้ยน ฉันคือ “แซฟฟิก”
.
แม้ก่อนหน้านี้เราอาจจะเคยได้ยินคำนี้ผ่านหูมาบ้าง เช่น สื่อ ซีรีส์ต่าง ๆ แต่มิติในการนำเสนอนั้นยังถือว่าไปไม่ถึงการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างหญิงรักหญิง หรือแรงดูดทางเพศของผู้ที่อยู่ใต้ร่ม “Sapphic” (แซฟฟิก) นี้ ได้ทั้งหมด
.
จำเป็นแค่ไหนที่จะต้องนิยามใครซักคนว่าแซฟฟิก ?
.
อยากให้ลองนึกถึงการที่คุณถูกเรียกด้วยอัตลักษณ์ทางเพศ ที่ไม่ใช่ความรู้สึกที่แท้จริงของคุณอาจทำให้รู้สึกอึดอัด ไม่สบายใจ ... แต่ไม่ใช่แค่นั้นเพราะยังส่งผลถึงการรับบริการด้านสุขภาวะ...
Published 07/06/24
“ทำไมดูเศร้าจัง ทำหน้าตามีความสุขหน่อยสิ”
“หยุดร้องไห้นะ เดี๋ยวแม่ตีเลย”
“เป็นลูกผู้ชาย ร้องให้ได้ไง”
.
นี่คือคำพูดคลาสสิกเมื่อหลายปีก่อน เชื่อว่าชวนให้เราตั้งคำถามในใจ ว่าทำไมจะฉันจะเศร้าไม่ได้ ? หรือ ถ้าร้องไห้แล้วโลกจะแตกหรือไง ? สุดท้ายก็ได้แต่ฮึบไว้ เก็บซ่อนน้ำตาไว้ให้ลึกสุดใจ
.
ไม่กี่ปีมานี้ เราเริ่มเห็นเทรนด์การพยายามให้นิยาม “อารมณ์” และ “ความรู้สึก” ของตัวเองออกมา เพราะเป็นพื้นฐานของการเข้าใจและจัดการอารมณ์ของตัวเอง
.
และการมาถึงของ Inside Out (2015) ภาพยนตร์ที่ทำให้คนเห็นภาพของ...
Published 06/30/24