Episodes
วันนี้เป็นตอนพิเศษจากหมอเอ้วและหมอขวัญปีใหม่ จะมาพูดคุยถึงกรณีที่เกิดขึ้นที่อิแทวอน และแชร์วิธีการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์ Crowd crush (ฝูงชนเบียดกัน) และอีกเหตุการณ์ที่เราอาจเจอได้บ่อย อย่างเวลาไปดูงานคอนเสิร์ตต่างๆ ที่เรียกว่า Stampede หรือวิ่งเหยียบกันตาย เพื่อใช้รับมือและลดความเสี่ยงเมื่อเราบังเอิญไปอยู่ในเหตุการณ์เหล่านั้น
Published 11/02/22
เรื่องเล่าจากร่างกายวันนี้ขอนำเสนอซีรีส์ใหม่ในเรื่องของผิวหนัง หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าผิวหนังทำหน้าที่หลายอย่างด้วยกัน ผิวหนังทำหน้าที่ห่อหุ้มร่างกายที่เป็นเหมือนกำแพงป้องกันร่างกายภายในกับโลกภายนอก แต่นั่นก็เพียงหนึ่งในหน้าที่ของผิวหนังเท่านั้น วันนี้เราจะมาดูกันว่าผิวหนังทำหน้าที่อะไรอีกบ้าง และมีความสำคัญต่อร่างกายของเรายังไง ติดตามกันได้ในซีรีส์ผิวหนังของเราทำหน้าที่อะไรบ้าง ?
………………………………………………………………..
ขอบคุณผู้สนับสนุนของเรา Tarel
Line official: @tarel
IG:...
Published 10/29/22
หัวข้อที่เราจะคุยกันวันนี้เป็นเรื่องของเมตาบอลิซึม เชื่อว่าใครหลายคนน่าจะเคยได้ยินและคุ้นเคยกับคำนี้กันมาบ้างว่าเมตาบอลิซึมคือระบบเผาพลาญของร่างกาย แต่มันอาจจะยังไม่ครอบคลุมทั้งหมด มันยังมีคำถามที่น่าสนใจอีกหลายคำถามเกี่ยวกับระบบนี้ เช่น เมตาบอลิซึมของร่างกายมันเปลี่ยนแปลงได้ไหม? มันสามารถเพิ่มหรือลดได้ไหม? มีปัจจัยอะไรที่ทำให้เมตาบอลิซึมของร่างกายเราเปลี่ยนแปลงไปได้บ้าง?
Published 10/11/22
หัวข้อวันนี้ยังอยู่ในซีรีส์ระบบทางเดินอาหารของคุณทำงานยังไง ตอนที่ 2 เราจะมาทำความรู้จักสิ่งที่เรียกว่าไขมัน เราจะมาดูว่าเมื่อเราทานไขมันเข้าไปแล้ว มันผ่านระบบทางเดินอาหารยังไง ? ไขมันที่กินเข้าไปกลายเป็นไขมันในเลือดได้ยังไง ? ทำไมปัจจุบันถึงแยกเป็นไขมันดีและไม่ดี กระเพาะเราจะย่อยและดูดซึมสารเหล่านี้แล้วส่งผลต่อร่างกายของเรายังไงบ้าง ?
Published 10/04/22
เรื่องเล่าจากร่างกายวันนี้ เริ่มต้นซีรีส์ใหม่ด้วยเรื่องของทางเดินอาหาร เราจะมาดูภาพรวมการทำงานของระบบทางเดินอาหารว่ามันทำงานยังไง ตั้งแต่เวลาที่เรากินอาหารเข้าไป แล้วผ่านกระบวนการย่อยและดูดซึมอาหารต่างๆ จนถึงการขับถ่ายออกมา และพูดคุยถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหารอย่างกรดไหลย้อนคืออะไร ? ใครบ้างเสี่ยงเป็นโรคนี้ ?
Published 09/29/22
เชื่อว่าหลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินเรื่องการนำเอาอุจจาระมารักษาโรคอยู่บ้าง เพราะด้วยความแปลกของมันเลยทำให้เรื่องนี้ถูกพูดถึงกันเยอะ
แต่สำหรับใครที่ไม่เคยได้ยินและคงจะสงสัยกันอยู่ว่าอุจจาระนั้นนำมาใช้รักษาโรคได้อย่างไร และเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังเหล่านั้นคืออะไร? วันนี้เราจะมาตอบคำถามเหล่านั้นกันครับ
Published 09/26/22
เราจะมาคุยเรื่องของโรคทางสมองกันอีก 2 โรค นั่นก็คือ โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน ซึ่งถือว่าเป็นโรคที่พบได้บ่อย แต่เชื่อว่าหลายๆ คนอาจคุ้นเคยกับชื่อของโรคเหล่านี้ดี เพียงแต่อาจจะยังไม่คุ้นเคยว่ามันมีอาการยังไง สาเหตุเกิดจากอะไร
และที่สำคัญเชื่อว่าหลายคนยังไม่รู้ว่าโรคทางสมองเหล่านี้เกี่ยวกับจุลินทรีน์ในลำไส้ของเราด้วยเหมือนกัน และการปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ อาจช่วยป้องกัน หรือลดความเสี่ยงของโรคเหล่านี้ได้ เรื่องราวจะเป็นมาอย่างไรนั้น ตามมาหาคำตอบไปพร้อมกันครับ
Published 09/21/22
หัวข้อของเราในวันนี้น่าสนใจมาก คือเราจะมาพูดคุยถึงเรื่องโรคออติซึม (Autism) หรือ ที่เราเรียกติดปากกันว่า โรคออทิสติก โรคของสมองที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
และความน่าสนใจไปมากกว่านั้นของเรื่องที่จะเล่าให้ฟังในวันนี้ คนที่จุดประกายให้เกิดการค้นพบว่าจุลินทรีย์ในลำไส้มันเกี่ยวข้องกับโรคออทิสติกด้วยนั้นเป็นบุคคลที่อยู่นอกวงการแพทย์
Published 08/31/22
เคยรู้หรือไม่ครับว่าจุลินทรีย์ในลำไส้ของเรา มันสามารถมีผลต่ออารมณ์ สมอง และนิสัยใจคอของเราได้ด้วย?
ถึงขนาดว่ามีคำนิยามว่า "ลำไส้ของเราเปรียบได้เหมือนสมองส่วนที่สองของร่างกาย"
การค้นพบประสบการณ์ที่น่าสนใจนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่แปลกมาก และในตอนนี้เราจะมาคุยกันถึงเรื่องนี้ ทำไมลำไส้เป็นสมองที่สองของร่างกาย ? หรือที่เรียกกันในอีกชื่อว่า Gut-brain axis กันครับ
Published 08/24/22
ในซีรี่ส์ Microbiome ของเราในวันนี้ ผมจะพาทุกท่านเดินทางไปในช่วงปลายเดือนเมษายน ค.ศ. 2000 ช่วงที่เกิดโรคระบาดครั้งหนึ่ง ในเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่งที่ชื่อว่า Walkerton ประเทศแคนาดา
เราจะพาไปรู้จักกับโรคลำไส้แปรปรวน หรือ Irritable bowel syndrome (IBS) ว่าโรคนี้นั้นมีอาการอย่างไร และเกี่ยวข้องกับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ของเรายังไง?
Published 08/23/22
รู้หรือไม่ครับว่าจุลินทรีย์ที่ไม่สมดุลอาจเป็นสาเหตุหนึ่งในที่นำไปสู่โรคต่างๆ อย่างโรค Autoimmune diseases หรือภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง หรือที่รู้จักกันในชื่อว่าโรคพุ่มพวง โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ไทรอยด์ เหล่านี้ได้อย่างไร?
Lifestyle และพฤติกรรมการกินของคุณ กำลังเสี่ยงทำให้ต่อโรคเหล่านี้อยู่หรือเปล่า?
เพื่อให้เข้าใจว่าทำไมการดูแลความสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ในลำไส้กับเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันจึงสำคัญมาก และ ภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเองเกี่ยวกับแบคทีเรียในลำไส้ยังไง...
Published 08/10/22
ทุกวันนี้เวลาเราพูดถึงโรคภูมิแพ้หรือโรคหอบหืด เชื่อว่าใครๆ ก็คงรู้ดีนะครับว่าเป็นโรคที่พบได้บ่อยมาก แต่ถ้าย้อนเวลากลับไป 150 ถึง 200 ปีที่แล้ว โรคภูมิแพ้แทบจะเป็นโรคที่ไม่มีคนรู้จักกันเลย เพราะว่าแต่เดิมโรคนี้เป็นโรคที่พบได้น้อยมาก
แต่รู้ไหมครับว่านับจากวันนี้ ในอีก 30 ปีข้างหน้า เกือบครึ่งหนึ่งของประชากรโลกจะป่วยด้วยโรคภูมิแพ้ มันก็เลยชวนให้สงสัยว่าทำไมช่วงเวลาสั้นๆ แค่ประมาณ 200 ปี มนุษย์ถึงได้ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้เพิ่มมากขึ้นขนาดนี้ ?
สำหรับเราตอนนี้...
Published 07/26/22
ในซีรีส์ Microbiome นี้เราก็ได้คุยกันถึงโรคต่างๆ ที่พบมากขึ้นเรื่อยๆ ในยุคปัจจุบัน และเป็นโรคที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและจุลินทรีย์ในร่างกายของมนุษย์ สำหรับในวันนี้โรคที่เราจะคุยกันคือ “โรคเบาหวาน” ในปัจจุบันมีผู้ป่วยเป็นเบาหวานถึง 10% ของประชากรโลกและมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีข้อมูลว่าโรคเบาหวานที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบันส่วนหนึ่งก็เกี่ยวข้องกับแบคทีเรียและจุลินทรีย์ในลำไส้ในร่างกายของเราด้วย...
Published 07/19/22
เคยสงสัยไหมครับ ว่าทำไมคนสองคนที่กินอะไรคล้ายๆ กัน มีกิจวัตรประจำวันคล้ายๆ กัน ออกกำลังกายเท่าๆ กัน แต่มีรูปร่างอ้วนผอมต่างกัน ?
คำอธิบายในเรื่องนี้อาจจะเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ในร่างกายของเราก็ได้ เรื่องราวเป็นมาอย่างไร ? และเขาค้นพบว่าจุลินทรีย์ในลำไส้เกี่ยวกับความอ้วนได้ยังไง ? ตามมาหาคำตอบไปพร้อมๆ กันครับ
Published 07/12/22
หลังจากที่เราได้เห็นกันไปแล้วว่าจุลินทรีย์ในร่างกายมันสำคัญยังไง วันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังว่าจุลินทรีย์ที่อยู่ในร่างกายของเราแต่ละคนมันมีที่มาจากไหน ? ทำไมแต่ละคนถึงมีจุลินทรีย์ในร่างกายที่ต่างกัน ? แล้วทำไมบางคนถึงเสียสมดุลของจุลินทรีย์ไป ? เรามาหาคำตอบกันต่อใน episode นี้กันครับ
Published 07/09/22
จากตอนที่แล้วที่เราคุยกันเรื่องที่ว่า Microbiome คืออะไร ทำไมถึงเป็นเรื่องสุดฮอตในวงการแพทย์ในช่วงหลายปีให้หลังนี้เป็นอย่างมาก วันนี้เราจะมาคุยกันต่อในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงของ Microbiome ที่ทำให้โรคต่างๆ นั้นเพิ่มขึ้นมันคืออะไร และที่บอกว่ามันเปลี่ยนแปลงนั้นมันเปลี่ยนแปลงยังไง?
Published 07/07/22
เคยสงสัยไหมครับว่าในปัจจุบัน ทำไมคนเราถึงป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อมากขึ้นเรื่อยๆ ? อย่างโรคอ้วน เบาหวาน ความดัน โรคลำไส้แปรปรวน กรดไหลย้อน โรคหัวใจ ภูมิแพ้
สำหรับซีรีส์ใหม่ที่เราจะคุยกันนี้ ผมจะชวนไปหาคำตอบของคำถามข้างต้นที่ว่าไป กับปัจจัยอย่างหนึ่งที่เรียกว่า “Microbiome” เป็นหัวข้อที่ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมาในวงการแพทย์หรือวงการวิทยาศาสตร์ค่อนข้างให้ความสนใจกันมาก มันคืออะไร และสำคัญอย่างไร มาหาคำตอบไปด้วยกันในซีรีส์นี้ครับ
Published 07/05/22
วันนี้เราจะมาคุยกันเรื่องภาวะ กรดและด่าง ในร่างกายสำคัญยังไง และร่างกายมีกลไกควบคุมกรดด่างอย่างไรบ้าง และมีสารเคมีที่มีผลต่อกรดด่างในร่างกายของเรา อวัยวะที่ควบคุมภาวะคงที่ของกรดและด่างในร่างกายนั้นมันทำงานยังไง แล้วถ้าเราเข้าใจในภาวะปกติไปแล้วเราจะไปดูในเรื่องภาวะไม่ปกติกันต่อ
Published 06/16/22
ใน Episode ที่แล้วเราจบเรื่องของไตไปแล้ว แต่มีอีกเรื่องหนึ่งที่อยากจะเล่า นั่นคือเรื่องของการตรวจปัสสาวะ เป็นการตรวจที่ง่ายและราคาไม่แพง วันนี้เราเลยจะมาเล่าให้ฟังว่าเวลาเขาตรวจนั้น ตรวจอะไรกันบ้าง
แต่หัวข้อในวันนี้เราไม่ได้มีแค่เรื่องเดียวครับ นอกเหนือจากเรื่องการตรวจปัสสาวะที่มันสามารถบอกอะไรเราได้บ้าง เรายังมีอีกหัวข้อหนึ่งมาฝากเกี่ยวกับอาหารการกินในผู้ป่วยโรคไต
ทำไมคนที่ป่วยเป็นโรคไตต้องกินอาหารต่างจากคนทั่วไป หรือว่าคนที่เป็นโรคไตกินอะไรได้บ้าง หรือควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทไหนบ้าง?...
Published 05/26/22
โรคไตเรื้อรังมันคืออะไร ? เราจะมาคุยกันว่าโรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร อาการมันเป็นยังไง? สามารถเกิดขึ้นกับใคร ใครที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคนี้บ้าง?
Published 04/30/22
จากสองตอนแรกเราคุยกันเรื่องของไตในการทำในภาวะปกติไปแล้ว วันนี้เราจะมาคุยกันในเรื่องของไตในรูปแบบที่ผิดปกติกันบ้าง
Published 03/29/22
ในตอนที่แล้วเราได้คุยกันถึงหน้าที่การทำงานของไตคร่าวๆไว้ 8 หน้าที่ สำหรับวันนี้เราจะมาโฟกัสไปที่หน้าที่หลักของไต คือหน้าที่การกรองของเสียออกจากเลือด เราจะมาดูกันว่าไตนั้นทำหน้าที่นี้ยังไง
Published 03/13/22
ในซีรี่ส์นี้เราจะมาคุยไตและระบบทางเดินปัสสาวะ ในส่วนแรกเราจะมาคุยถึงเรื่องไตในภาวะปกติ ว่าไตและระบบปัสสาวะของคนทั่วไปทำงานอะไรบ้างและทำงานอย่างไร และส่วนที่สองคือเราจะนำความรู้จากส่วนแรกที่เราได้รู้กันแล้วว่าไตตอนทำงานปกติเป็นอย่างไร เพื่อที่เราจะได้เข้าใจว่าไตของเราในตอนที่ทำงานผิดปกติเป็นอย่างไร และเข้าใจในโรคของไตต่างๆ
Published 03/10/22
สำหรับตอนสุดท้ายของซีรี่ส์หัวใจ เราจะมาพูดถึงภาวะช็อคที่ได้เกริ่นกันไปในหลายๆตอนก่อนหน้า สำหรับคนทั่วไปเวลาพูดถึงภาวะช็อคอาจจะหมายถึงอะไรก็ตามที่สะเทือนอารมณ์มากๆ ไม่ว่าจะเป็นความกลัว ความเสียใจ ความตกใจมากๆ จนเกิดอาการช็อคขึ้นมา แต่ในวงการแพทย์เวลาพูดถึงอาการช็อคนั้นจะมีความหมายต่างกันไป
Published 02/02/22
เดินทางมาถึง 2 ตอนสุดท้ายในซีรี่ส์หัวใจและหลอดเลือด สำหรับ Episode นี้ เราจะมาคุยกันในเรื่องภาวะการเจ็บป่วย นั่นก็คือภาวะหัวใจวายและภาวะช็อค เป็นภาวะที่พบได้ค่อนข้างบ่อย และการนิยามความเข้าใจของบุคลากรทางการแพทย์และคนทั่วไปค่อนข้างต่างกัน และทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนกันอยู่บ่อยครั้ง มีเรื่องราวอะไรบ้างนั้นมาหาคำตอบไปพร้อมๆกันค่ะ
Published 01/14/22