Episodes
พุทธศักราช 2551พระราชาธิบดีจิกมี ซิงเก วังชุก พระชนมายุเพียง 53 ชันษา มีพระบรมราชโองการสละราชสมบัติให้พระราชโอรส พร้อมกับทรงเปลี่ยนการปกครองประเทศ จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข . พาไปรู้จักกับ ภูฏาน ประเทศที่มีประชากรเพียง 700,000 คน ภูมิประเทศถูกขนาบข้างด้วยอภิมหาอำนาจทั้งสองของเอเชีย คืออินเดีย และจีน การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ที่เกิดขึ้นในประเทศเล็กๆ ที่เคร่งศาสนาและมีภูมิทัศน์งดงาม
Published 09/20/23
เหล่านักเต้นที่เป็นพระและเณรหนุ่มผู้หาญกล้า 8 คน มีผ้าขาวพันที่ใบหน้า ร่างกำยำนั้นเปลือยเปล่า ท่อนล่างบ้างปกปิดด้วยกางเกงใน แต่ส่วนใหญ่ไร้อาภรณ์ปิดบัง ท่ามกลางอุณหภูมิกลางหุบเขาที่ยิ่งดึก ยิ่งลดต่ำลงเรื่อย ๆ... พวกเขาค่อย ๆ เต้นตามจังหวะฉาบ เช่น ยกขาสืบ กระทืบเท้า กระโดดหมุนตัว ก่อนวิ่งกลับไปรับอุ่นที่กองไฟกลางลาน ทำไมต้องรำเปลือย ค้นหาคำตอบ ใน ทีละเรื่อง ทีละภาพ
Published 09/18/23
ชวนไปฟังเรื่องราวของชาวภูฏานแห่งเมืองวังดีโพดราง ซึ่งตื่นเต้นและปีติยินดีกับพิธีกางผ้าพระบฏใหญ่ ด้วยจิตใจเปี่ยมล้นด้วยศรัทธาไม่น้อยไปกว่าชาวเมืองอื่นๆ พวกเขาพากันหลั่งไหลมาเข้าแถวยาวเหยียด . เพื่อไปกราบและเอาศีรษะแตะผืนผ้าเพื่อความเป็นสิริมงคลในชีวิต ตามคติความเชื่อว่า พระพุทธเจ้าคือพระบริสุทธิคุณ ผู้ทรงเมตตาปลดปล่อยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์ แม้ผู้ทำบาปมหันต์ หากสำนึกผิด หันมาทำความดี โดยระลึกถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ หรือได้สัมผัสพระพุทธรูป กระทั่งเพ่งมองผ้าพระบฏด้วยจิตศรัทธา...
Published 09/13/23
ไปรู้จัก “ตั๊กซัง” สังเวชนียสถานที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงตำนานที่เล่าขานว่า คุรุ รินโปเช พระพุทธเจ้าของชาวพุทธวัชรยาน อย่างชาวทิเบต ภูฏาน  เคยทรงขี่หลังเสือแล้วเหาะขึ้นมาเจริญสมาธิใน “ตั๊กซัง” ซึ่งเป็นถ้ำบนภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 3,000 เมตร . เซอร์ จอห์น เคลาด์ ไวท์ ข้าราชการอังกฤษ ซึ่งไปเยือนตั๊กซัง ตั้งแต่พ.ศ.2448 พรรณนาไว้ในบันทึกของเขาตอนหนึ่งว่า...“นี่คือกลุ่มของสิ่งปลูกสร้างที่มีความงดงามที่สุด ดุจภาพวาดเท่าที่ข้าพเจ้าได้เห็นมาอย่างไม่ต้องสงสัย...
Published 09/11/23
ชาวภูฏานพากันยืนเข้าแถวยาว เพื่อจะได้สัมผัสผืนผ้าแห่งศรัทธาอย่างใกล้ชิดเพียงปีละครั้ง บ้างจึงเอาศีรษะแนบผืนผ้า ด้วยความเชื่อว่าทำเช่นนี้แล้วอธิษฐานสิ่งใดก็จะสมปรารถนา บางคนจึงถึงกับมุดศีรษะเข้าไปในผืนผ้า พร้อมพร่ำบนภาวนาด้วยใบหน้าปีติอิ่มเอม แล้วเกือบทุกคนจะหยิบธนบัตรออกมาแตะที่ศีรษะตน ก่อนบรรจงวางลงบนถาดถวายเป็นพุทธบูชา ขณะที่หลายคนก้มลงกราบกับพื้นแบบ "สัตตางคประดิษฐ์” คือการกราบโดยมีส่วนของร่างกายแตะพื้น 7 ส่วน (หน้าผาก มือทั้งสอง เข่าทั้งสอง เท้าทั้งสอง)...
Published 09/06/23
ณ ลานกว้างใจกลางป้อมปราการแห่งเมืองปูนาคา ราชธานีเดิมของประเทศภูฏาน ภาพและเรื่องราวของเหล่านักเต้นระบำที่สวมหัวเป็นรูปสรรพสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งกำลังร่ายรำด้วยการหมุนตัวจนกระโปรงบาน สลับกับการย่างสามขุมแล้วกระทืบเท้าไปตามจังหวะฉาบและกลอง ภาพที่เห็นไม่ใช่มหรสพหรือการแสดง หากคือพิธีกรรมทางศาสนา นักระบำที่เห็นก็ไม่ใช่นักแสดง หากคือพระ เณร และฆราวาสที่ฝึกฝนมาอย่างดี การร่ายรำก็มิใช่เพื่อความบันเทิงของผู้รำ หากคือการบูชาคารวะพร้อม ๆ กับการทำสมาธิอันเป็นหนทางสู่ปัญญา . การเฝ้าชมพิธีกรรมรำหน้ากาก...
Published 09/04/23
นอกเหนือจากการเป็น “เมืองท่าอากาศยาน” พาโรยังเป็นเมืองที่ตั้งวัดเก่าแก่ที่สุดของภูฏาน เป็นสมรภูมิรบที่ชาวมังกรมีชัยชนะเหนือศัตรูผู้รุกรานเบ็ดเสร็จเด็ดขาด จนสามารถตั้งประเทศนี้ขึ้นมาได้ ที่สำคัญ ยังเป็นชัยภูมิมงคลที่องค์ศาสดาที่ชาวภูฏานนับถือสูงสุด เคยมาประทับนั่งสมาธิเจริญสติภาวนา อีกทั้งผืนธงแห่งศรัทธาในศาสนาพุทธนิกายวัชรยานผืนใหญ่ที่สุด เก่าแก่สุด ๆ ก็อยู่ที่เมืองนี้
Published 08/30/23
ความชาญฉลาดในการทำกงล้อมนตราและธงมนตรา ไม่เพียงแต่สร้างพลังใจในชีวิตให้ชาวพุทธวัชรยาน พลังใจที่มีมนตราคอยปกป้องคุ้มครองอยู่ทุกขณะจิต แล้วยังซ่อนนัยของการเผยแผ่ศาสนา เพราะมนตราอาจล่องลอยไปสถิตในจิตใจใครก็ตามที่อาจเป็นคนนอกศาสนา อุปมาดั่งมีเกสรดอกไม้แห่งคุณความดีปลิวไปติดผู้ผ่านทาง ถือเป็นกุศลผลบุญประการหนึ่ง
Published 08/28/23
ไม่ผิดนักที่จะพูดว่า ภูฏานเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุแห่งศาสนา แต่ที่น่าอัศจรรย์ใจยิ่งกว่า คือเมื่อกาลเวลาล่วงเลยมากว่าสามศตวรรษ เหตุใดศาสนาพุทธสายวัชรยานจึงยังสถิตในจิตใจชาวภูฏาน ดั่งเชือกที่ฟั่นเป็นเกลียวเหนียวแน่นยิ่งขึ้น ปรากฏเป็นรูปธรรมให้ผู้ไปเยือนสัมผัสได้กระจ่างตา สะพานไม้ประดับธงพรหลากสีปลิวไสว ยามที่มีข้าราชการสัญจรไปทำงาน หรือชาวบ้านเดินข้ามไปทำบุญ เหมือนได้รับพรให้ชีวิตมีแต่ความเป็นสิริมงคล เสริมส่งให้พวกเขาดำรงชีวิตอย่างสง่างาม ด้วยวิถีเศรษฐกิจพอเพียง และการปกครองแบบธรรมาภิบาล สมนาม...
Published 08/23/23
มีคำกล่าวว่า ไคเบอร์คือทางผ่านของทองเปอร์เซีย แร่เหล็กกรีก หนังสัตว์ตาร์ตาร์ อัญมณีโมกุล แร่เงินอัฟกัน เหล็กกล้าอังกฤษ ซึ่งล้วนถูกราดรดด้วยเลือด เนื้อและชีวิต . ในท่ามกลางความสูงใหญ่ของเทือกเขาฮินดูกูษ ที่ทอดทะมึนอยู่ในดินแดนซึ่งปัจจุบันคือภาคเหนือของปากีสถานและอัฟกานิสถาน "ไคเบอร์" คือช่องเขาเดียวที่เชื่อมเอเชียกลางกับอินเดีย และที่สำคัญคือเชื่อมยุโรปกับเอเชีย จนกล่าวได้ว่า “ไคเบอร์” คือตัวเลือกสุดท้ายที่กษัตริย์นักรบทั้งหลายมุ่งหมายจะเอาชนะ เพื่อพิสูจน์ว่าเขาจะยืนอยู่ในฐานะ “ผู้แพ้” หรือ...
Published 08/21/23
สายการบินปากีสถานแอร์ไลน์ ตีพิมพ์พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ในหลวงรัชกาลที่9) และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ไว้ในบทความ “เฉลิมฉลอง 50 ปี ปากีสถานแอร์ไลน์” โดยในภาพ ทรงประทับยืนเพื่อฉายภาพกับนักบินและผู้บริหารสายการบิน เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2505 ระหว่างเสด็จฯ เยือนปากีสถานอย่างเป็นทางการ ครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์
Published 08/16/23
มุสลิมปากีสถานดำรงตนแบบ “Moderate” คือพอดี ๆ ไม่ตึง ไม่หย่อนจนเกินไป ในพิธีเปิดเทศกาลคันธาระ ปากีสถานเพียงยืนยันความเป็นประเทศอิสลามด้วยการมี “โต๊ะครู” ขึ้นมาสวดอ้อนวอนให้องค์อัลเลาะห์ประทานความโชคดีมีชัยให้ผู้เข้าร่วมประชุมเป็นรายการสั้น ๆ รายการแรก แล้วต่อจากนั้นก็ว่าด้วยเรื่องพุทธศาสนาสมัยคันธาระล้วน ๆ ไม่ต่างจากพิธีการไทย ที่ประธานต้องจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยก่อนเปิดการประชุมครั้งสำคัญ
Published 08/14/23
ทีละเรื่อง ทีละภาพ พาไป เปิดโลกปากีสถานให้ลึกซึ้ง แหล่งโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สมัยคันธาระที่อังกฤษวางรากฐานไว้ให้อย่างดี เป็นที่ตั้งเมืองมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดในโลกอย่าง “ตักสิลา” คนไทยรู้จักชื่อนี้ดีว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปะวิทยาการสมัยโบราณ แต่น้อยคนจะรู้ว่าตักสิลาเคยเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาสมัยคันธาระ และปัจจุบันตักสิลาก็อยู่ในแคว้นปัญจาบ ไม่ไกลจากอิสลามาบัด เมืองหลวงของปากีสถานนี่เอง
Published 08/09/23
อัสตานา คาซัคสถาน พ.ศ.2534 ปีที่คาซัคสถานประกาศเอกราช รัฐบาลนาซาร์บาเยฟประกาศโครงการย้ายเมืองหลวงจากอัลมาตีสู่อักโมลา จากนั้นก็เนรมิตศูนย์ราชการใหม่สไตล์แฟนตาซีขึ้นในเมืองหลวงใหม่ ทางทิศใต้ของแม่น้ำอิสชิม ภายในเวลาเพียง 6 ปี กระทั่งเดือนธันวาคม 2540 จึงย้ายเมืองหลวงอย่างเป็นทางการ ก่อนจะเปลี่ยนชื่อ “อักโบล่า” เป็น “อัสตานา” ซึ่งแปลว่า “นครหลวง” นั่นเอง
Published 08/07/23
ออกเดินทางจากกรุงทาชเคนท์ เมืองหลวงของอุซเบกิสถาน มุ่งสู่เมืองอัลมาตี อดีตเมืองหลวงของคาซัคสถาน และกล่าวได้ว่าเป็นหัวเมืองเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเอเชียกลาง แต่สิ่งแวดล้อมรอบ แทบไม่มีอะไรส่งบอกความเป็น “เอเชีย” แม้แต่น้อย เพราะที่เด่นตระหง่านอยู่เบี้องหน้า คือ “เซ็นคอฟ” (Zenkov) โบสถ์ในศาสนาคริสต์นิกายอิสเทิร์นออร์โธด็อกซ์ ที่มียอดโดมรูปหัวหอมสีทองอร่าม กับตัวโบสถ์ไม้สีลูกกวาดประดับลวดลายโดดเด่นสะดุดตา อายุเก่าแก่ถึง 104 ปี
Published 08/02/23
ซามาร์คานด์ ราชธานีเดิมของอุซเบกิสถาน สมัยที่ชาวอุซเบกตกอยู่ใต้อำนาจโซเวียตรัสเซียแล้วใจหาย เพราะไม่เพียงแต่ถูกลอกทองที่ใต้เพดานโดมมัสยิด แต่รัสเซียยังพยายามอย่างหนักที่จะทำให้ชาวอุซเบกเปลี่ยนศาสนา ถึงขั้นออกกฎหมายลงโทษบุคคลที่มีคัมภีร์อัล กุรอ่าน ห้ามสตรีมุสลิมคลุมผม คลุมหน้า ฯลฯ แต่ไม่อาจทำลายแรงศรัทธามหาศาลที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้าของพวกเขาได้  มัสยิด สุสาน โรงเรียนสอนศาสนาอันดารดาษ ที่ล้วนได้รับการดูแลรักษาอย่างดีเยี่ยม คือบทพิสูจน์ความจริงข้อนี้...
Published 07/31/23
“อุซเบกิสถานแอร์ไลน์” บินตรงจากทาชเคนต์ สู่สนามบินสุวรรณภูมิสัปดาห์ละ 2 เที่ยวบิน และยังบินไปอีกหลายมหานครทั่วโลก ไม่ผิดนักที่จะกล่าวว่าทาชเคนต์คือประตูบานใหญ่ที่เปิดภูมิภาคเอเชียกลางสู่สายตาชาวโลก เพราะชัยภูมิที่ตั้งของอุซเบกิสถานอยู่ราวกึ่งกลางของภูมิภาคนี้พอดี . ถ้าเช่นนั้นก็ไม่ผิดเช่นกัน ที่จะกล่าวว่า ตลาดชอร์ซูคือประตูสู่ทาชเคนต์ เพราะตลาดแห่งนี้ตั้งตรงจุดที่เคยเป็นชุมทางการค้าบนเส้นทางสายแพรไหม เมื่อกว่าพันปีมาแล้ว ตัวตลาดทรงกลม มีหลังคารูปทรงกระโจมในปัจจุบัน...
Published 07/26/23
โทษ(ส)ถานที่อยากไป สารคดีสัญจร เพื่อสร้างสรรค์ความเข้าใจระหว่างเพื่อนมนุษย์ บอกเล่าประสบการณ์การเดินทางไปเยือนกลุ่มประเทศเอเชียกลาง ซึ่งไม่เป็นที่รู้จักนักในแง่ของการเป็นเป้าหมายในการท่องเที่ยวของคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นประเทศ “อุซเบกิสถาน” “คาซัคสถาน” หรือแม้แต่ “อินเดีย” (รัฐสิกขิมและรัฐอัสสัม) และ “ภูฏาน” ก็ยังนับว่ามีคนไปเยือนไม่มากนัก โดยผสมผสานเรื่องราวการเดินทางในต่างวาระ ด้วยลีลาภาษาที่ไพเราะ บวกความรู้สึกนึกคิดของผู้เขียนเข้ากับข้อมูลความรู้ทั้งทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรม...
Published 07/24/23
จารึกที่ปราสาทพระขรรค์ระบุว่า ณ บริเวณที่เป็นสมรภูมิรบซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้รับชัยชนะเด็ดขาดเหนือพวกจามนั้น นอกจากจะโปรดฯให้สร้างปราสาทชัยศรี หรือปราสาทพระขรรค์แล้ว ยังทรงสร้างสระชัยศรี หรือเกาะราชยศรี ในราว พ.ศ.๑๗๓๔ ไว้เป็นที่ประดิษฐานปราสาทแห่งหนึ่ง ซึ่งภายหลังเรียก “ปราสาทนาคพัน” สำหรับเป็นสระน้ำใช้ชำระล้างบาปและรักษาพยาบาลเหล่าทหารที่บาดเจ็บจากศึกสงคราม ตลอดจนรักษาพสกนิกรของพระองค์ที่เจ็บไข้ได้ป่วย อาจกล่าวได้ว่า “ปราสาทนาคพัน” มีสถานะดั่ง “โรงพยาบาลประจำพระนครหลวง”...
Published 07/19/23
ยังมีข้อถกเถียงว่าชื่อ “ปราสาทตาพรหม” มีที่มาอย่างไร บ้างว่าหมายถึง “บรรพบุรุษผู้เป็นพรหม” หรือ “พระพรหมผู้เฒ๋า” แต่ในจารึกระบุว่าชื่อของปราสาทแห่งนี้คือ “เรียชวิเฮียร” หรือ “ราชวิหาร” ทว่า เมื่อนักโบราณคดีฝรั่งเศสมาค้นพบครั้งแรกยังไม่ได้อ่านจารึก จึงเรียกชื่อปราสาทตามชื่อชาวบ้านที่ดูแลวัดแห่งนี้อยู่คือ “ตาพรหม” หรือในสำเนียงเขมรว่า “ตาโปรม” เช่นเดียวกับเรียกปราสาทนครธมว่า “บายน” ซึ่งมาจากภาษาฝรั่งเศสแปลว่า “ต้นไทร” เนื่องจากเมื่อแรกค้นพบปราสาทบายนมีต้นไทรปกคลุมอยู่รกไปหมด
Published 07/17/23
เทวสถานฮินดูไศวะนิกาย สร้างในสมัยพระเจ้าราเชนทรวรมัน (พระราชนัดดาของพระเจ้ายโศวรมันที่ ๑) ซึ่งทรงมีพระนามหลังสิ้นพระชนม์ชีพว่า “บรมศิวโลก” รัชสมัยของพระองค์อยู่ในราว พ.ศ.๑๔๘๗-๑๕๑๑ ลักษณะเป็นปราสาทอิฐ ๕ หลังบนฐานเป็นชั้นที่ก่อขึ้นสูงแบบ “ภูเขาวิหารจำลอง” เพื่อประดิษฐานศิวลึงค์ นามว่า “ราเชนทรภัทเรศวร”ไว้ที่ปรางค์ประธาน . ตรงฐานชั้นล่างสุดบริเวณทางขึ้นบันได มีฐานหินซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นที่ตั้งศิลาจำหลักรูปโคนนทิ พาหนะทรงของพระศิวะ แต่ภายหลังรูปโคนนทิถูกทำลายหรือถูกโจรกรรมไป...
Published 07/12/23
นับแต่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ สถาปนาอาณาจักรขอมที่เป็นปึกแผ่นเป็นครั้งแรก ณ มเหนทรบรรพต คือ เขาพนมกุเลน ตั้งแต่ พ.ศ.๑๓๔๕ แล้ว ต่อมาทรงย้ายราชธานีมายังพื้นที่ซึ่งปัจจุบันเรียก ตำบลโลเลย หรือ ร่อลวย ห่างจากตัวเมืองเสียมเรียบปัจจุบัน ๑๕ กิโลเมตร โดยทรงเฉลิมนามราชธานีใหม่ของพระองค์ว่า “หริหราลัย” แปลว่า “ที่ประทับของพระศิวะและพระนารายณ์” . ภายในอดีตราชธานีหริหราลัย มีปราสาทหรือเทวสถานสำคัญ ๓ แห่ง คือ ปราสาทพะโค บากอง โลเลย ซึ่งนักโบราณคดีจัดเป็น “ศิลปะแบบพะโค”
Published 07/10/23
ปราสาทบันทายสรีเป็นเทวสถานที่มีลักษณะพิเศษหลายประการ คือ เป็นปราสาทหลังเล็กมาก แต่มีลวดลายจำหลักละเอียดอ่อนช้อยเป็นที่สุด ซึ่งในทางวิชาการจัดเป็นภาพจำหลักนูนสูง คือกว้านหินเข้าไปลึก จนภาพนูนออกมามากเกือบจะลอยตัว . ประการต่อมา บันทายสรีจัดเป็นศิลปะยุคก่อนนครวัด เก่าแก่กว่านครวัดถึงราว ๑๕๐ ปีและถือเป็นยุคแรกของประวัติศาสตร์ศิลปะขอมที่มีการจำหลักเรื่องราวสรรเสริญเทพเจ้าในหลายฉากหลายตอนอย่างละเอียด โดยที่ก่อนหน้านั้น จะมีการจำหลักเฉพาะภาพบุคคล เช่น ภาพพระศิวะ พระนารายณ์ ฯลฯ เท่านั้น
Published 07/05/23
ภาพจำหลักที่ระเบียงด้านนอกของปราสาทนครธม หรือ “บายน” ทั้ง ๔ ทิศ มีความยาวรวมกันถึง ๑,๒๐๐ เมตร ในภาพจำหลักทั้งหมดสามารถนับรวมรูปคนและสัตว์ต่าง ๆ ได้ถึง ๑๑,๐๐๐ ร่าง เนื้อหาภาพมีความแตกต่างกับปราสาทนครวัด ซึ่งมุ่งรับใช้ศาสนา จึงจำหลักภาพเทพเจ้าในศาสนาฮินดูคือพระวิษณุในอวตารต่างๆ ที่พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ผู้ทรงสร้างนครวัดนับถือ แต่ภาพจำหลักที่ปราสาทบายนเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์การสงครามระหว่างขอมกับจาม เพื่อมุ่งเชิดชูพระเกียรติคุณพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗...
Published 07/03/23