Episodes
ภาพกวนเกษียรสมุทรมีลักษณะแตกต่างจากภาพจำหลักอื่น ๆ ของนครวัด คือเป็นการเล่าความในฉากสำคัญเพียงฉากเดียว คือฉากกวนเกษียรสมุทร กินพื้นที่ฝาผนังทิศตะวันออกฝั่งใต้ทั้งหมดถึง 150 ตารางเมตร ขนาดลำตัวของเทวดาและยักษ์ที่กำลังกวน จึงมีขนาดใหญ่เกือบเท่าตัวคนจริง
Published 06/28/23
ในการเข้าชมมหาปราสาทนครวัด นอกจากโครงสร้างทางศิลปะสถาปัตยกรรมแบบ “ปราสาทหิน” หรือ “เทวาลัย” อันใหญ่โตโอฬาร สมกับเป็นทิพยวิมานของเทพเจ้าบนโลกมนุษย์แล้ว ยังมีภาพจำหลัก (แกะสลัก) ลงบนผนังหินที่ “ระเบียงคด” ชั้นนอก . ทีละเรื่องทีละภาพ ตอนนี้จะพาไปรู้จักกับภาพจำหลักที่ระเบียงคดปราสาทนครวัดกัน
Published 06/26/23
 “สดกก๊อกธม” เป็นปราสาทขอมที่ตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา เขตกิ่งอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว เป็นเทวสถานฮินดูไศวนิกาย สร้างด้วยหินทรายหันหน้าไปทางทิศตะวันออกคือประเทศเขมร . คำว่า “สดกก๊อกธม” แปลว่าแหล่งต้นกก อาจมีที่มาจากการที่ชัยภูมิที่ตั้งมีต้นกกมาก ความสำคัญของปราสาทนี้อยู่ที่การค้นพบศิลาจารึก ๒ หลัก ที่ไขความลับว่าทำไมขอมต้องสร้างปราสาท ปัจจุบันจารึกดังกล่าวเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร . ขอขอบคุณ ผู้สนับสนุนร่วม กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม...
Published 06/21/23
อวตารที่ ๗ ของพระนารายณ์ คืออวตารเป็นพระราม ในมหากาพย์รามายณะ หรือ “รามเกียรติ์” มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่อีกเรื่องหนึ่งของอินเดีย ที่มุ่งสรรเสริญวีรบุรุษคือพระราม ในฐานะนารายณ์อวตารลงมาปราบพวกยักษ์ ตัวแทนของฝ่ายอธรรม ทั้งนี้ มหากาพย์รามายณะฉบับเก่าแก่ที่สุด แต่งโดยฤษีวาลมิกิเมื่อ ๓,๐๐๐ ปีก่อน . ขอขอบคุณ ผู้สนับสนุนร่วม กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ที่เป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางครั้งนี้
Published 06/19/23
ถือเป็นอวตารสำคัญที่สุดของชาวฮินดูไวษณพนิกาย คือการที่พระนารายณ์อวตารเป็น “กฤษณะ” หนุ่มเลี้ยงโคผู้มีเสน่ห์เป็นที่ติดใจนางโคปี (สาวเลี้ยงโค) อีกทั้งยังมีฤทธิ์เดช มีพละกำลังเหนือมนุษย์ เกิดมาเพื่อปราบพญากงส์ ผู้รุกรานกษัตริย์แว่นแคว้นต่าง ๆ ในอินเดียนิยมวาดและแกะสลักภาพกฤษณะเป็นคีตศิลปินยืนเป่าปี่เล้าโลมใจนางโคปี . ขอขอบคุณ ผู้สนับสนุนร่วม กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ที่เป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางครั้งนี้
Published 06/14/23
เทพผู้มีหน้าที่ปกป้องคุ้มครองโลก จึงมักอวตาร (แบ่งร่างมาเกิด) ลงมาบนโลกมนุษย์ทุกครั้งที่โลกเกิดทุกข์เข็ญ ถึง ๑๐ ครั้งหรือ ๑๐ ปาง แต่บางตำนานก็ว่ามีถึง ๒๒ ปาง พระนาม “นารายณ์” มาจากคำว่า  “นารา” แปลว่า น้ำ และ “อยน” แปลว่า การเคลื่อนไหว รวมความว่า “ผู้เคลื่อนไหวในน้ำ” เนื่องจากโดยปกติพระองค์จะประทับบรรทมในทะเลน้ำนมหรือเกษียรสมุทร อีกทั้งยุคแรกของการอวตาร ทรงอวตารเป็นสัตว์น้ำ เช่น ปลาและเต่า ปางทั้ง ๑๐ ของพระนารายณ์ หรือ “นารายณ์อวตารสิบปาง” . ขอขอบคุณ ผู้สนับสนุนร่วม กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม...
Published 06/12/23
พระศิวะร่ายรำ เป็นภาพที่ชาวฮินดูไศวะนิกายนิยมประดับไว้ที่ศาสนสถานเพื่อยกย่องพระศิวะในฐานะเทพผู้คุ้มครองและทำลายโลก โดยการร่ายรำของพระศิวะทำให้โลกหมุนเวียนเปลี่ยนกาละเวลา เช่น เมื่อโลกก้าวสู่สหัสวรรษใหม่ ชาวฮินดูอธิบายว่าเกิดจาก “ศิวนาฏราช” ซึ่งหากพระองค์ทรงร่ายรำในจังหวะที่พอดี โลกจะสงบสุข แต่หากพระองค์ทรงร่ายรำด้วยจังหวะร้อนเร่า รุนแรง โลกก็จะเกิดกลียุค . ขอขอบคุณ ผู้สนับสนุนร่วม กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ที่เป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางครั้งนี้
Published 06/07/23
ศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธนิกายมหายาน เป็นสองศาสนาหลักที่มีอิทธิพลสูงในช่วงที่อาณาจักรขอมรุ่งเรือง บรรพชนขอมรับอิทธิพลสองศาสนานี้จากอินเดีย โดยผ่านมาทางเส้นทางการค้าทางทะเล ๒ เส้นทาง คือทางมหาสมุทรอินเดียผ่านเกาะชวา กับเส้นทางทะเลอันดามัน ผ่านภาคใต้ของไทยแถบจังหวัดกระบี่ พังงา สุราษฏร์ธานี ซึ่งเมื่อพันปีก่อนเคยเป็นเมืองท่าสำคัญ . ขอขอบคุณ ผู้สนับสนุนร่วม กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ที่เป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางครั้งนี้
Published 06/05/23
พ.ศ.๒๔๖๗ - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ “บิดาแห่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีไทย” เสด็จฯโบราณสถานเมืองพระนครและพระนครหลวง โดยเดินทางด้วยเรือจากกรุงเทพฯไปยังเมืองท่ากำปอด ประเทศกัมพูชา แล้วนั่งรถยนต์ต่อไปยังกรุงพนมเปญ จากนั้นประทับเรือจากพนมเปญไปยังเมืองเสียมราฐ (เสียมเรียบ) ที่ตั้งโบราณสถานนครวัด โดยมีนักโบราณคดีฝรั่งเศสคนสำคัญ ๒ ท่านคือ อองรี มาร์ชาล และ ยอร์ช เซเดส์ นำชม . หลังจากนั้นทรงมีพระนิพนธ์ชิ้นสำคัญคือ “นิราศนครวัด”...
Published 05/31/23
พ.ศ.๒๐๔๘ - พระเจ้าองค์จันทร์ ที่ ๑ ( นักองค์จัน) ขึ้นครองราชย์แล้วย้ายราชธานีมาที่เมืองละแวก (เขมรเรียก “ลงแวก”) ทางทิศใต้ของทะเลสาบเขมร แล้วรบกับสยามแบบผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะหลายครั้ง สันนิษฐานว่าชื่อเมือง “เสียมเรียบ” เกิดขึ้นในสมัยนี้ โดยอาจเป็นการตั้งชื่อในเชิงตัดไม้ข่มนามให้มีความหมายว่า “สยามแพ้ราบเรียบ” . พ.ศ.๒๐๘๙ -   (ตรงกับรัชสมัยพระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา) พระเจ้าองค์จันทร์ ทรงค้นพบเมืองพระนครที่ถูกทิ้งร้างไปนานกว่า ๑๐๐ ปี แล้วโปรดฯให้ช่างแกะสลักภาพที่ระเบียงปราสาทนครวัด...
Published 05/29/23
พุทธศตวรรษที่ ๑ (หรือราว ๒,๕๐๐ ปีก่อน) - กลุ่มชาติพันธุ์มอญ-เขมร (ออสโตรเอเชียติก) อพยพจากจีนตอนใต้มาอยู่ในสุวรรณภูมิ หรือเอเชียอาคเนย์ โดยกลุ่มมอญอพยพมาตามลำน้ำสาละวิน ต่อมา สถาปนาอาณาจักรสุธรรมวดี (สะเทิม) ซึ่งปัจจุบันคือพื้นที่ภาคใต้ตอนบนของพม่า ส่วนกลุ่มเขมรอพยพมาตามลำน้ำโขง ภายหลังได้สถาปนาอาณาจักรขอมที่ยิ่งใหญ่ ในวิชานิรุกติศาสตร์ เรียก “กลุ่มตระกูลภาษามอญ-เขมร” . ขอขอบคุณ ผู้สนับสนุนร่วม กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ที่เป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางครั้งนี้
Published 05/24/23
นักประวัติศาสตร์ต่างลงความเห็นว่า ...ไม่มีทะเลสาบเขมร ก็ไม่มีเมืองพระนคร (Angkor) ที่ยิ่งใหญ่… เพราะถึงจะมีกษัตริย์ผู้ปรีชาชาญ กับอาณาราษฎรเปี่ยมล้นด้วยศรัทธาเพียงใดย่อมไร้ค่า ตราบใดที่ท้องยังหิว จะเอาเรี่ยวแรงที่ไหนไปขนหินสร้างปราสาทหลังโต ๆ หรือจำหลักลายศิลาให้วิลิสมาหราเช่นนี้ได้ ทะเลสาบเขมรจึงตอบโจทย์ข้อนี้ เพราะมิได้มีแต่ปลา ทว่า ยังก่อให้เกิดพื้นที่ชุ่มน้ำกว้างมหาศาล สำหรับปลูกข้าวได้ปีละหลายครั้ง . ขอขอบคุณ ผู้สนับสนุนร่วม กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม...
Published 05/22/23
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และเพื่อนนักหนังสือพิมพ์เดินทางไปกัมพูชา  ระหว่างวันที่ ๓๑ มีนาคม – ๔ เมษายน  ๒๔๙๖ จากนั้น งานเขียนชุด “ถกเขมร” ก็ลงพิมพ์เป็นตอน ๆ รวม ๑๐ ตอน ในหนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน แล้วในเดือนธันวาคมปีเดียวกันนั้นเอง ก็ถูกนำมาตีพิมพ์รวมเล่มโดยสำนักพิมพ์ชัยฤทธิ์ ซึ่งเป็นของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ โดยระบุไว้ในหน้ารองปก ด้วยตัวหนังสือลายมือของผู้เขียนว่า… ถกเขมร” โดย คึกฤทธิ์ ปราโมช / ภาพเขียนประกอบโดย ประยูร จรรยาวงศ์ / ภาพถ่าย โดย ผู้เขียน . ที่ปีกปกหน้า มีคำประกาศของสำนักพิมพ์ชัยฤทธิ์...
Published 05/17/23
เสน่ห์ของ “ถกเขมร” อยู่ที่เกร็ดเล็กประเด็นน้อยที่เป็น “มุขตลก” และบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้เราได้เข้าใจสภาพสังคมเขมรในยุคที่ยังเป็น “เมืองขึ้น”ฝรั่งเศส . ทว่าสาระสำคัญอีกประการหนึ่งของ “ถกเขมร” ยังอยู่ที่มุมมองทางโบราณคดีของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งถึงแม้ท่านจะปวารณาตัวไว้ในเบื้องต้นว่า มิได้ไปนครวัดเพื่อ...ศึกษาวัฒนธรรมหรือโบราณคดีจากประเทศเขมร...  แต่แท้ที่จริงแล้ว ท่านมีมุมมองทางโบราณคดีที่น่าสนใจ มีเหตุผลที่น่าฟังในการจะคัดค้านหรือเห็นด้วยกับข้อสันนิษฐานทางโบราณคดี ...
Published 05/15/23
ใครต่อใครมักตั้งข้อสังเกตว่า สิ่งก่อสร้างอันใหญ่โตโอฬารเยี่ยงนครวัด ไม่เพียงใช้เวลาสร้างนานนับร้อยปี ใช้ก้อนหินนับแสนลูกบาศก์เมตร ใช้ช้างในการชักลากก้อนหินหลายหมื่นเชือก แน่นอนว่าต้องใช้แรงงานคนทั้งที่เป็นกุลีแบกหามและเป็นช่างสลักเสลาลวดลายนับเป็นแสน ๆ คน . ทั้งกุลีและช่างฝีมือเหล่านั้น ใครจะรู้ว่ามีสักกี่คนที่สมัครใจมาทำการใหญ่นี้ และมีสักกี่คนที่ถูกบังคับกะเกณฑ์มาทำงานเยี่ยงทาส กระทั่งล้มตายทับถมกันเป็นฐานของนครวัด ซึ่งก่อร่างขึ้นตามแรงปรารถนาของกษัตริย์ขอม...
Published 05/10/23
บันทึกของอองรี มูโอต์ ใช่จะมีแต่ความตื่นเต้นเร้าใจต่อภาพความลี้ลับในสยามและอินโดจีน แต่เขายังได้พรรณนาความยากลำบาก ระหว่างการเดินเท้า ย่ำทะเลโคลนท่ามกลางพายุฝน ความทรมานจากการต้องนั่งจับเจ่าอยู่ในเสื้อผ้าที่เปียกโชก การถูกเหลือบ ยุง ริ้น ไร รุมกัดจนผิวหนังขึ้นผื่น ภาพสเกทช์ของเขายังบอกเล่าเรื่องราวขณะที่มีเสือดาวจู่โจมค่ายพักกลางป่าในยามราตรี รวมถึงภาพเจ้าลาวที่ร่วมเดินทางไปกับเขา กำลังพุ่งหอกสังหารแรดอย่างดุดัน. คนอย่างอองรี มูโอต์ เป็นคนพันธุ์ไหน ชีวิตวิญญาณเขาถูกหล่อหลอมด้วยอะไร...
Published 05/08/23
ในฐานะเจ้าอาณานิคมที่ปกครองอินโดจีนเป็นเวลายาวนานนับร้อยปี นอกเหนือจากการกอบโกยทรัพยากรมหาศาลไปสร้างความมั่งคั่งให้ตนเองแล้ว กล่าวกันว่าสิ่งที่รัฐบาลฝรั่งเศสทิ้งไว้ให้อินโดจีนในเชิงสร้างสรรค์ คือการก่อตั้ง “สำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศ” เพื่อค้นคว้า รวบรวมความรู้ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ในแหลมอินโดจีน และผลงานที่ยิ่งใหญ่ของเหล่านักโบราณคดีแห่งสำนักนี้ คือการศึกษาค้นคว้าเพื่อคลี่คลายความลี้ลับของอารยะธรรมขอม แล้วฟื้นฟูบูรณะโบราณสถานในดินแดนกัมพูชา หรือที่ชาวโลกรู้จักดีในนาม มหาปราสาทนครวัด...
Published 05/03/23
ศรีศิขเรศวร  หรือปราสาทเขาพระวิหาร เป็นเทวสถานสำหรับบูชาคารวะเทพเจ้าตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู . ศิขเรศวร…  พระนามนี้มีที่มาจากคำว่า “ศิขร” ซึ่งแปลว่าขุนเขา รวมกับคำว่า “อิศวร” ซึ่งแปลว่าผู้ยิ่งใหญ่ และเป็นอีกพระนามหนึ่งของพระศิวะ “ศิขเรศวร” จึงมีความหมายรวมกันว่า “ผู้เป็นใหญ่แห่งขุนเขา” นามอันไพเราะนี้มีนัยบอกเราว่าปราสาทเขาพระวิหารเป็นเทวาลัยอันเป็นที่สถิตแห่งพระอิศวร หรือ พระศิวะ จัดเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดูลัทธิไศวะนิกาย  หรือนิกายที่นับถือพระศิวะเป็นใหญ่...
Published 05/01/23
“บันทายสรี” เทวสถานประเภทปราสาทหิน หรือ “เทวาลัย” ๑ ในจำนวนนับร้อยในอาณาเขตที่เคยเป็นอาณาจักรขอมโบราณอันเกรียงไกร ใจกลางประเทศกัมพูชาปัจจุบัน . “บันทายสรี” มีขนาดเล็กกว่าปราสาทหินพนมรุ้งในไทย ขณะที่พนมรุ้งก็มีขนาดใหญ่เท่าซุ้มประตูหรือโคปุระเพียงด้านเดียวของมหาปราสาทนครวัดที่ยิ่งใหญ่ ทว่าความละเอียดอ่อนของลวดลายที่ช่างขอมจำหลักลงบนหินทรายสีชมพูที่ปราสาทบันทายสรีนั้น ช่างนุ่มเนียนและพลิ้วไหวจนดูราวกับเหล่าทวารบาล เทพอัปสร พญาครุฑ หงส์ ฯลฯ จะโลดเต้นโบยบินออกมาจากซุ้มเรือนแก้ว กรอบประตู ทับหลัง...
Published 04/26/23
ทั่วทั้งนครวัดมีเทพอัปสรประดับอยู่ทุกซอกมุม นับรวมได้ถึง ๑,๕๐๐ องค์ ไม่ว่าคุณจะเดินทางไปไหน ก็จะพบเธอทั้งหลายในท่วงท่าอ่อนช้อย และรอยยิ้มกึ่งสำรวม คอยให้การต้อนรับ การแต่งองค์ทรงเครื่องของพวกเธอ ก็คือภาพสะท้อนวัฒนธรรมการแต่งกายของสตรีในราชสำนักขอม ซึ่งยิ่งใหญ่เกรียงไกรในสุวรรณภูมิเมื่อพันปีก่อน  ชาวเขมรเรียกพวกเธอว่า “อัปสรา” . “อัปสร” หรือ “อัปสรา” ในความหมายของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ก็คือเหล่าเทพธิดาที่คอยดูแลศาสนสถาน และเป็น “บาทบริจาริกา” หรือผู้รับใช้เทพเจ้าแห่งศาสนสถานนั้น . ขอขอบคุณ...
Published 04/24/23
พนมกุเลนมิได้เป็นภูเขาลูกโดดอย่างฟูจิยามาในประเทศญี่ปุ่น แต่เป็นเทือกเขายาวเป็นแนวดั่งขบวนรถไฟ อุดมด้วยป่าไม้และหน้าผาหินทรายอันละเอียดและแข็งแกร่ง นับได้ว่ามีขนาดและความสูงเป็นที่สุดในเขตที่ราบลุ่มเขมรต่ำ สามารถมองเห็นได้แต่ไกลเมื่อยืนอยู่บนพนมบาแค็ง (ศูนย์กลางเมืองพระนคร – ราชธานีขอมยุคหลังมเหนทรบรรพต) ซึ่งอยู่ห่างลงมาทางตะวันตกเฉียงใต้ใต้ถึงกว่า ๕๐ กิโลเมตร . ภูผาอันอุดมด้วยต้นกุเลนหรือลิ้นจี่ป่าแห่งนี้ เป็นชัยภูมิมงคลควรค่าแก่การเป็น “เขาพระสุเมรุจำลอง” ที่จะประดิษฐาน “ราชลึงค์”...
Published 04/19/23
ที่กบาลสะเปียน หรือลำห้วยหัวตะพาน ลำน้ำสาขาของแม่น้ำเสียมเรียบ มีทั้งศิวลึงค์นับพันองค์ และภาพนารายณ์บรรทมสินธุ์หลายภาพ บางภาพแกะลงตรงแก่งน้ำตก เพื่อให้มีน้ำไหลผ่านตลอดเวลา เพื่อให้พระนารายณ์บรรทมอยู่ในสินธุจริง ๆ นอกจากนั้นยังมีรูป “อุมามเหศวร” หรือพระนางศรีอุมาเทวีประทับนั่งบนพระเพลาพระศิวะบนหลังโคนนทิ ซึ่งเป็นภาพที่ชาวฮินดูนิยมแกะหรือวาดเพื่อยกย่องพระศิวะ ดังปรากฏที่ทับหลังหรือหน้าบันของปราสาทหลายแห่ง เช่น ปราสาทบันทายสรี หรือที่ปราสาทเมืองต่ำที่จังหวัดบุรีรัมย์ ฯลฯ . ขอขอบคุณ...
Published 04/17/23
ถึงแม้ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทพิมาย และปราสาทขอมอีกหลายแห่งในประเทศไทย จะมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับมหาปราสาทนครวัดในประเทศกัมพูชา แต่กระนั้น ก็ยังเป็นความพิศวงสงสัยของคนในโลกปัจจุบันอยู่มาก ว่าสถาปนิกและวิศวกรขอมโบราณมีเทคนิควิธีในการก่อสร้างงานสถาปัตยกรรมจากก้อนศิลาขนาดใหญ่โตโอฬารได้อย่างไร ในเงื่อนไขที่ยังไม่มีเทคโนโลยีอันทันสมัยเท่าปัจจุบัน ? . ขอขอบคุณ ผู้สนับสนุนร่วม กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ที่เป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางครั้งนี้
Published 04/12/23
ข้อสันนิษฐานเรื่องพิธีเบิกพรหมจรรย์ นำมาซึ่งความพิศวงสงสัยของคนในโลกปัจจุบัน ว่าพิธีกรรมเซ่นสังเวยดังกล่าวมีสาระเป็นจริงมากน้อยเพียงใด นำมาซึ่งการสืบค้นไปถึงคัมภีร์ฤคเวทของชาวฮินดู ว่าด้วยเครื่องบัตรพลีที่ใช้ในการเซ่นสังเวยบูชาไฟแด่องค์ศิวเทพ ว่านอกจากจะมีน้ำนม ข้าว เนยแข็ง เหล้า โสม และดอกไม้แล้ว ต่อมายังมีการสังเวยด้วยชีวิต โดยฆ่าไก่ แพะ ควาย นก เอาเลือดสด ๆ ราดรดลงบนกองไฟอีกด้วย เช่นนี้แล้ว การเอาเลือดจากพรหมจรรย์สตรีมาบูชาพระศิวะจึงน่าจะมีความเป็นไปได้หรือไม่ . ขอขอบคุณ ผู้สนับสนุนร่วม...
Published 04/10/23
ภาพลักษณ์ที่ชัดเจนของกัมพูชาในสายตาของชาวโลกอีกภาพหนึ่ง คือ ภาพใบหน้าคนขนาดมหึมานับร้อยหน้า แกะสลักลงไปในเนื้อหินอันแข็งแกร่ง นั่นคือสัญลักษณ์ที่โดดเด่นของปราสาทบายน ในอาณาจักรนครธม  ซึ่งอยู่ห่างจากนครวัดไม่กี่กิโลเมตร มีอายุอยู่ในราว 800 ปี เพราะสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งเรืองอำนาจระหว่าง พ.ศ.1724-1761  ก่อนอาณาจักรสุโขทัยจะเข้มแข็งราว 100 ปี . มีข้อถกเถียงมากมาย ว่าใบหน้าเหล่านั้นมีความหมายอย่างไรและสร้างขึ้นด้วยเหตุผลใด ? . ขอขอบคุณ ผู้สนับสนุนร่วม กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม...
Published 04/05/23