การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
Listen now
Description
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมคุณสมบัติของผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม และผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม 1. ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม อย่างน้อย 15 ปี 2. ผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องให้ความยินยอมด้วยตนเอง 3. ผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจาก บิดา และมารดา หรือผู้ปกครอง 4. ผู้จะรับบุตรบุญธรรม หรือผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสอยู่ต้องได้รับความยินยอมจาก คู่สมรสก่อน 5. ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่ จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีก ในขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่เป็นบุตรบุญธรรม ของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม ขั้นตอนการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม 1. กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ ต้องผ่านขั้นตอนของคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมก่อนโดย - กรณีที่ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร หรือต่างประเทศให้ยื่นคำขอพร้อมหนังสือ แสดงความยินยอม ของบุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอม ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม กรมประชาสงเคราะห์ - กรณีมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างจังหวัด ให้ยื่นคำขอ พร้อมหนังสือแสดงความยินยอม ของบุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอม ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัด * เมื่อคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม อนุมัติให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ ให้นำหนังสือแจ้งคำอนุมัติของคณะกรรมการดังกล่าวไปร้องขอจดทะเบียนรับบุตรบุญ
More Episodes
การเตรียมตัวไปศาลในฐานะจำเลยคดีแพ่ง -ยื่นคำให้การภายใน๑๕วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง -กรณีส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องด้วยวิธีปิดหมายหรือประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ เริ่มนับระยะเวลาเมื่อพ้น ๑๕ วันนับแต่วันปิดหรือประกาศโฆษณา จำเลยจึงยื่นคำให้การได้ภายใน ๓๐ วัน...
Published 06/08/20
การเบิกความ คืออะไร การที่บุคคลไปให้ข้อมูลแก่ศาลในการดำเนินกระบวน พิจารณาคดีเพื่อให้ศาลใช้ข้อมูลที่ได้รับประกอบการพิจารณา พิพากษาคดีนั้น โดยการให้ข้อมูลดังกล่าวจะทำด้วยการให้บุคคล ที่ไปเบิกความตอบคำถามของศาลหรือของคู่ความแต่ละฝ่าย พยานควรเบิกความเฉพาะเท่าที่ตนได้เห็น ได้ยิน...
Published 05/28/20