Episodes
เรื่องราวความเป็นมาของการฝึกหัดครูในประเทศไทย จากย่างก้าวแรกของวิชาชีพครูซึ่งเริ่มให้การศึกษาเพียงในวัด ในวัง สู่การศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งต้องการกำลังของครูจำนวนมาก รองรับการขยายการศึกษาสู่ประชาชนทั่วไปโดยไม่เลือกหญิงชาย ทำให้เกิดสถาบันการฝึกหัดครูอย่างเป็นระบบนับแต่ พ.ศ.2435 โดยการฝึกหัดครูนั้น เริ่มขึ้นในส่วนกลางพระนคร และขยายออกสู่หัวเมืองมณฑลท้องถิ่นต่าง ๆ ในส่วนมณฑลนครชัยศรีนั้น เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2479 ในยุคโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูนครปฐม และโรงเรียนฝึกหัดครูนครปฐม...
Published 09/03/22
เรื่องราวความเป็นมาของ "นิทานร้อยบรรทัด" แบบสอนอ่านวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-7 ตั้งแต่ครั้งสมัยปฏิวัติจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เริ่มใช้เมื่อ พ.ศ. 2501 โดยแบบเรียนชุดนี้ มี 6 เล่ม เนื้อหาแต่งเป็นกลอนแปด ซึ่งเป็นคำประพันธ์ที่ได้รับความนิยม เพราะเป็นร้อยกรองที่เรียบเรียงง่าย สื่อความหมายได้ไพเราะไม่ซับซ้อน มีการกำหนดพยางค์และสัมผัส มีหลายชนิดแต่ที่นิยม คือ กลอนสุภาพ ซึ่งมีลักษณะคำประพันธ์เป็นบท บทหนึ่งมี 4 วรรค คือ วรรคสดับ วรรครับ วรรครอง วรรคส่ง แต่ละวรรคมี 8 คำ จึงเรียกว่า กลอนแปด หนังสือ...
Published 08/27/22
สมบัติ เมทะนี พระเอกตลอดกาล ที่แฟนคลับมักเรียกเขาว่าอาแอ๊ด เป็นดาราอีกท่านหนึ่งที่นับเป็นตำนานของวงการภาพยนตร์ไทย เขาเป็นนักแสดงที่มากความสามารถแสดงได้หลายบทบาท ประกอบกับบุคลิกส่วนตัวที่ชื่นชอบการออกกำลังกาย จึงทำให้มีบุคลิกโดดเด่นด้วยร่างกายที่กำยำ อีกทั้งยังเป็นดาราที่ร้องเพลงได้ไพเราะซึ่งมีไม่มากนักในยุคนั้น เขาได้รับการบันทึกสถิติโลก โดยกินเนสบุ๊คระบุว่าเป็นนักแสดงที่รับบทเป็นพระเอกมากที่สุดในโลกถึง 617 เรื่อง และหากนับรวมการแสดงทุกประเภท ทุกบทบาทแล้วจะมีมากกว่า 2 ,000 เรื่อง...
Published 08/19/22
Library Talks เรื่อง นโยบาย Green Campus ของวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ร่วมพูดคุยกับท่านรองอธิการบดี พระราชวังสนามจันทร์ ศาสตราจารย์ ดร. คณิต เขียววิชัย เรียนรู้เรื่องราวของ UI Green Metric หรือ การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวโลก แนวทางและภาพรวมที่ได้ดำเนินการแล้วของ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์  ตลอดจนแนวทางในการมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่างๆ ในอนาคต  --- Send in a voice message: https://anchor.fm/snclibrary/message
Published 08/13/22
เรื่องราวของพยัญชนะไทย 44 ตัว ทำไมจึงไปพัวพันกับหวย ทั้งนี้ในอดีตการเรียนรู้พยัญชนะไทยทั้ง 44 ตัว ไม่มีเครื่องช่วยจำ การเรียนรู้ จดจำพยัญชนะโดด ๆ ในเวลาอันจำกัด ด้วยมีเวลาเรียนน้อยนิดเพราะต้องช่วยพ่อแม่ทำมาหากิน การอ่านออกเขียนได้ในเวลาอันสั้นจึงเป็นไปได้ยาก กระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 3 เกิดภาวะข้าวยากมากแพง นายอากรสุราจีนหงได้เสนอให้ตั้งหวยอย่างจีน เมื่อ พ.ศ. 2378 มีการเอาพยัญชนะไทย ก-ฮ มากำกับตัวหวย ผูกคำเป็นกลอนมีภาพประกอบทำให้ง่ายต่อการจดจำ กระทั่ง พ.ศ.2420 พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย...
Published 08/05/22
เรื่องราวของ แซม เบิร์นส์ นักเรียนชั้นมัธยมต้น โรงเรียนมัธยมฟอกซ์โบโร รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ซึ่งได้รับการวินิจฉัยเมื่ออายุ 2 ขวบ ว่าเป็นโรค Progeria หรือ โรคชราก่อนวัย ที่ทั้งโลกมีคนที่เป็นโรคนี้ประมาณ 350 คน ขณะที่ต้องเผชิญโรคร้ายเขาก็ไม่ได้เพิกเฉยกับความรู้สึกแย่ๆ นั้น ตรงข้ามเขายอมรับมันและยอมให้มันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต โดยไม่เสียเวลากับความรู้สึกหดหู่ที่จะทำให้ไม่มีพื้นที่ว่างสำหรับความสุข สิ่งที่เขาทำคือก้าวข้ามมันไป...
Published 07/30/22
เรื่องชวนค้นหาจากปริศนาตุ๊กตาหินที่ถูกฝังไว้ใต้ดินมากกว่าร้อยตัวบริเวณประตูมณีนพรัตน์ไปยังประตูสวัสดิโสภา วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีการเล่าลือกันหลากกระแส บ้างว่าเป็นอับเฉาเรือสินค้า บ้างโยงใยไปถึงเรื่องลี้ลับไสยศาสตร์ การวิพากษ์อย่างกว้างขวางกรณีตุ๊กตาหินนี้ มีบุคคลที่สำนักข่าวแห่งหนึ่งนำข้อความของท่านมาเผยแพร่ ระบุว่า เหลน 'กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร' ยืนยันตุ๊กตาหิน ไม่ใช่ 'อับเฉา' แต่สั่งมาประดับงานฉลองพระนคร มาติดตามเรื่องราวของตุ๊กตาหินที่เป็นเครื่องประดับ “ของแปลก” เมื่อครั้งฉลอง 100...
Published 07/23/22
เรื่องราวของ ขนมเบื้อง ขนมในครั้งพุทธกาล ซึ่งมีเรื่องเล่าจากธรรมบทกล่าวถึง การที่พระพุทธองค์ทรงให้บทเรียนแก่เศรษฐีโกศิยะผู้มีความตระหนี่ในการบริจาคทานแม้กระทั่งทานขนมเบื้อง แต่เมื่อเขาได้รับการสั่งสอนจากพระพุทธองค์และทรงอนุโมทนาที่ถวายขนม ก็ทำให้เศรษฐีและภรรยาบรรลุโสดาปัตติผลทำให้เขาก็เลิกตระหนี่และเรื่องราวของขนมเบื้องนอกจากในครั้งพุทธกาลแล้ว ยังถูกบันทึกในมิติอื่น ๆ อาทิ ในวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนที่นางศรีมาลาและนางสร้อยฟ้า ประชันฝีมือทำขนมเบื้องกัน หรือในคำให้การขุนหลวงหาวัด...
Published 07/16/22
กรุงเทพกลางแปลง เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นกระแสตอบรับจากประชาชนอย่างล้นหลามที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า กิจกรรมนี้เป็นการเปิดโลกทัศน์เก่าให้แก่เด็กยุคใหม่ ที่อาจเคยได้เพียงสัมผัสคำบอกเล่าถึงเรื่องราวของ หนังกลางแปลง ภาพของครอบครัว ภาพกลุ่มเพื่อนฝูง ผู้คนหลากรุ่น หลายวัย ที่ต่างพากันมาจับจองพื้นที่รอชมสิ่งที่เคยถูกเล่าขานในอดีต ภาพพ่อค้า แม่ขาย หาบเร่แผงลอย ที่พาย้อนวันเวลาเก่าๆ ให้ได้เห็นบรรยากาศ ความครึกครื้น อิ่มหนำสำราญกับอาหารขบเคี้ยว ของกินอันหลากหลาย...
Published 07/09/22
เรื่องราวของกระดาษเก่า ๆ เป็นสมุดบันทึกเล่มหนึ่งที่จะเล่าถึงประวัติส่วนตัว ของ ศาสตราจารย์ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ผู้เป็นบุคคลสำคัญในการวางรากฐานทางการศึกษาสมัยใหม่ของไทย ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งหากจะกล่าวไปหน่วยงานต่าง ๆ หลายแห่ง ที่ท่านเคยมีบทบาทเกี่ยวข้องต่างก็ได้จัดทำประวัติของท่านไว้อย่างน่าสนใจ  แต่จะมีที่ใด หรือใคร จัดทำได้ละเอียดลออดังที่พบข้อมูลจากเอกสารส่วนบุคคลของท่านนี้หรือไม่ ยังไม่มีข้อมูล และข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจจากสมุดบันทึกเล่มนี้ซึ่งจะเล่าสู่กันฟัง อยู่ในหัวข้อ ซ้อมรบ...
Published 07/02/22
ยุคนี้ ใครๆ ก็สามารถเป็นครีเอเตอร์ ด้วยการนำเสนอผลงานบนโลกโซเชียลได้ แต่ไม่ว่าผลงานจะดีแค่ไหนถ้าขาดรายได้ ก็อาจทำให้หลายคนถอดใจเลิกทำในสิ่งที่รัก วันนี้โลกโซเชียลมีตัวช่วยให้เราได้ทำในสิ่งที่ตัวเองรัก พร้อมกับการสร้างรายได้ โดยมีแพลตฟอร์มระดมทุนออนไลน์แนว Crowdfunding ซึ่งถ้าสิ่งที่คุณทำ ไม่ว่าจะเป็น นักเขียน นักพูดพอดแคสต์ นักคอสเพลย์ ศิลปิน สรุปก็คือ ครีเอเตอร์ทุกสาย ถ้าโครงการ หรือ คอนเทนท์คุณมีความน่าสนใจพอ ก็จะได้รับการระดมทุนนำเงินไปสานต่อให้สำเร็จ หรือพัฒนาให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นได้ Ko-fi...
Published 06/18/22
งานพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยศิลปากรมีประวัติความเป็นมายาวนานเข้มขลัง นับจากปีแรกของการสถาปนามหาวิทยาลัย เมื่อ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 มีนักศึกษาคนแรกและคนเดียวที่จบการศึกษาในปีการศึกษา 2496 ระดับปริญญาตรี จากคณะจิตรกรรมประติมากรรม  คือ นายชลูด นิ่มเสมอ จากนั้นจึงมีผู้จบการศึกษาในระดับเดียวกัน รวมทั้งระดับอนุปริญญา ทั้งที่ร่วมและต่างคณะอีก 3 คณะ ทยอยจบการศึกษาในปีต่อ ๆ มา คือ คณะสถาปัตยกรรมไทย (สถาปัตยกรรมศาสตร์ในปัจจุบัน) ปี 2498 คณะโบราณคดี ปี 2498 และคณะมัณฑนศิลป์ ปี 2499...
Published 06/10/22
เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง หรือ ไหว้ขนมจ้างนั้น เดิมทีเกิดจากการบูชาเทพเจ้ามังกร ซึ่งเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาของชาวไป่เยว่มาตั้งแต่สมัยอดีต การสักตัวด้วยรูปมังกรของพวกเขาจึงเป็นสัญลักษณ์บ่งว่าตนคือลูกหลานมังกร โดยชาวไป่เยว่นั้นเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงตั้งแต่ช่วงกลางลงไปยังตอนใต้ พวกเขาใช้พาหนะเดินทางคือเรือที่ทำจากไม้ท่อนเดียว ในอดีตจึงมีการจัดแข่งพายเรือมังกรเพื่อเป็นการเคารพบูชาเทพเจ้ามังกร ในการแข่งเรือพายนั้นจะมีการนำเอาอาหารใส่ลงกระบอกไม้ไผ่...
Published 06/04/22
การแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่จากการพบ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เมื่อธันวาคม พ.ศ. 2562 หรือ ปี 2019 ที่เมืองอู่ฮั่น เมืองหลวงของมณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน มีการระบาดลุกลามอย่างรวดเร็ว กระทั่งองค์การอนามัยโลก ประกาศให้เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ เมื่อมกราคม 2563 และประกาศให้เป็นโรคระบาดทั่ว ในเวลาเพียง 2 เดือนถัดมา คือ มีนาคม 2563 วิกฤติการครั้งนี้ คงเป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ส่งผลกระทบกับวิถีชีวิตของคนทั้งโลก ไม่ว่าจะเป็นด้านการใช้ชีวิตประจำวันส่วนตัว...
Published 05/28/22
ย่างเข้ารอยต่อร้อนสู่ฝน นับเป็นช่วงเวลาอิ่มเอมของคนรักผลไม้ไทย เพราะนั่นคือสัญญานบ่งบอกว่าถึงฤดูกาลของผลไม้เมืองร้อนยอดนิยมระดับราชาและราชินีผลไม้ของเมืองไทยคือทุเรียนและมังคุด ที่พ่อค้าแม่ขายหน้าเก่ามือใหม่ต่างซื้อหามาวางขายกันดาดดื่น ถึงขนาดว่าในบางปีบางคนถึงกับตั้งตัวได้ยามหน้าทุเรียนกันเลยทีเดียว จึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทุเรียนซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงกว่าผลไม้อื่นมานมนานแล้วตั้งแต่อดีตปัจจุบันราคาจะสูงขึ้นไปอีกเท่าไร จากสมัยก่อนที่มักขายกันแบบยกเป็นลูก ราคาคะเนตามขนาดแต่ละลูกตามใจแม่ค้า...
Published 05/19/22
ความจากตอนที่แล้ว ทำให้เราได้ทราบเบื้องลึกเบื้องหลังความเป็นมาบนเส้นทางนักเขียนที่ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ทั้งยังมีบุคคลสำคัญในชีวิตคือคุณแม่ของท่านผู้เป็นทั้งผู้ส่งเสริมและขัดขวางการเป็นนักประพันธ์อาชีพของรองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิง วินิตา ดิถียนต์ ซึ่งเชื่อว่าคนส่วนใหญ่มักจะคุ้นเคยท่านจากนามปากอันโด่งดัง คือ ว. วินิจฉัยกุล และ แก้วเก้า ซึ่งบทประพันธ์จากสองนามนี้ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ และภาพยนตร์ ตลอดจนได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย...
Published 05/13/22
หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่หลงไหลในวรรณกรรมประเภทนวนิยาย เชื่อว่าจะคุ้นเคยกับชื่อสกุล วินิจฉัยกุล เป็นอย่างดี ด้วยถูกนำมาใช้เป็นนามปากกาของนักประพันธ์นวนิยายร่วมสมัยผู้สร้างสรรค์ผลงานคุณภาพหลากหลายแนว ทั้งจินตนิยาย ประวัติศาสตร์ โรแมนติก สะท้อนชีวิตและสังคม ภายใต้นามปากกาว่า ว. วินิจฉัยกุล แก้วเก้า ปารมิตา รักร้อย วัสสิกา และอักษราณีย์ ซึ่งเชื่อว่าแต่ละนามปากกานั้นเป็นชื่อที่นักอ่านนวนิยายชาวไทยรู้จักเป็นอย่างดี โดยท่านเจ้าของหลากนามปากกานี้ คือ รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิง วินิตา ดิถียนต์...
Published 05/07/22
อัตลักษณ์ความเป็นไทยแสดงออกได้ในหลากรูปแบบ ซึ่งแต่ละชุมชนท้องถิ่นต่างก็มีอัตลักษณ์อันบ่งบอกถึงตัวตนของชุมชนนั้นๆ สืบทอดส่งต่อเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นอันดีงามจากรุ่นสู่รุ่น และความชัดเจนในอัตลักษณ์ท้องถิ่นนั้นมักสื่อผ่านจากภูมิปัญญาของท้องถิ่นในวิถีการดำรงชีวิต ซึ่ง "ผ้า" นับเป็น 1 ในปัจจัยหลักที่ถูกนำมาใช้เพื่อสนองปัจจัยในชีวิตประจำวัน โดยการประดิษฐ์เป็นเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ ต่างๆ แต่ทั้งนี้ เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปการรับเอาวัฒนธรรมตลอดจนเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่หลั่งไหลเข้าสู่ชุมชน...
Published 04/30/22
ตามธรรมเนียมโบราณ ก่อนที่จะสร้างบ้านเมือง ณ แห่งใด จะต้องมีการทำพิธียกเสาหลักเมืองในสถานที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ เพื่อเป็นมิ่งขวัญ อันสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะตั้งมั่นขึ้นนั้น ในการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 เวลา 6.54 นาฬิกา ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ...
Published 04/23/22
หากกล่าวถึงวันสงกรานต์ เรามักจะนึกถึงเรื่องการทำบุญตักบาตร การอุทิศส่วนกุศลให้ญาติพี่น้อง และที่สำคัญ คือ ประเพณีการสงน้ำพระ การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ แม้กระทั่งการรดน้ำกันเอง และส่วนประกอบที่จะขาดเสียมิได้ในการรดน้ำ คือ น้ำอบไทย ที่อบด้วยควันกำยาน หรือเทียนอบ และน้ำมาปรุงด้วยเครื่องหอม มีลักษณะเป็นน้ำใสสีเหลืองอ่อนๆ ซึ่งมีความแตกต่างจากน้ำหอม หรือน้ำอบฝรั่ง ทั้งลักษณะของกลิ่นและขบวนการผลิต และหากจะนึกถึงน้ำอบไทย เชื่อว่าแทบทุกครัวเรือนต่างรู้จักชื่อ น้ำอบนางลอย ของแม่เฮียง ธ. เชียงทอง...
Published 04/15/22
หากจะกล่าวถึงนามศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก เชื่อว่า ชื่อนี้เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในวงการพุทธศาสนา แม้ท่านจะละจากสมณเพศมาเป็นเวลานานแล้วก็ตาม ส่วนในวงวิชาการนั้นย่อมไม่ต้องกล่าวถึงความมีชื่อเสียงของท่าน แม้กระทั่งในสังคมไทยทั่วไปก็ตาม ดังความที่ท่านกล่าวในอัตชีวประวัติว่า ท่านเป็น อาจารย์ หรือ นักวิชาการทางด้านพุทธศาสนาและภาษาบาลี ซึ่งต้องกล่าวว่าสามเณรเปรียญ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ท่านนี้แตกฉานเชี่ยวชาญทางภาษายิ่ง สิ่งที่ยืนยันประการหนึ่ง คือ...
Published 04/08/22
หากจะนิยาม ความเก่ง+ความเฮง  คือ ความสำเร็จ พี่พร้อมขอเสริมว่า ความสำเร็จที่ยั่งยืนนั้น ควรต้องมีพร้อมทั้ง เก่ง ดี และมีสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมของการทำงานในยุคปัจจุบัน เรามักจะพบว่าหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือ เอกชน นอกจากจะให้ความสำคัญด้านทักษะทางวิชาชีพ (Hard Skills) แล้ว คุณสมบัติอีกอย่างที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าคือ Soft Skills โดยเห็นได้จากการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน ล้วนมีความต้องการคนที่มีทักษะหลากหลายไม่เพียงแค่ความรู้จากการเรียน เช่น ทักษะการแก้ปัญหา การทำงานเป็นทีม...
Published 04/02/22
เรื่องราวเล่ห์กลของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสายที่โทรมาเป็นแก๊งมิจฉาชีพ กลโกงซึ่งมิจฉาชีพทางโทรศัพท์เหล่านี้ใช้ มีลักษณะอย่างไรที่พึงสังเกตได้ และวิธีสนุกๆ เตรียมรับมือ 18 มงกุฎ ทำยังไงดี . ขอบคุณข้อมูลจาก - “ศาลอาญาสูงสุดกรุงเทพ คุณมีหมายเรียก กรุณากด 9 เพื่อฟังรายละเอียด” โดย Watcharaphon Kupraditz เมื่อ 24 มีนาคม 2565 จาก https://www.facebook.com/watcharaphon.kupraditz - กลโกงทางโทรศัพท์ โดย ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน เข้าถึงเมื่อ 25 มีนาคม 2565 จาก...
Published 03/26/22
หอภาพยนตร์แห่งชาติ นับเป็นหน่วยงานสำคัญที่มีบทบาทด้านการอนุรักษ์ภาพยนตร์ ด้วยการขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติ ซึ่งได้ดำเนินการมาแล้วโดยจะครบ 12 ครั้ง ในปีปัจจุบัน (2565) และมีรายชื่อภาพยนตร์ที่ขึ้นทะเบียนแล้วถึง 221 รายชื่อ ขอเชิญชวนทุกท่านที่สนใจร่วมเสนอ "หนึ่งหนังไทยในดวงใจ" เพื่อขึ้นทะเบียนในครั้งที่ 12 ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 30 เมษายน 2565 ติดตาม รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.fapot.or.th ขอบคุณข้อมูลจาก - จดหมายข่าวหอภาพยนตร์ 12, 68 (มีนาคม-เมษายน) 2565 -...
Published 03/19/22
กรรม หมายถึงการกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา คือ ทำด้วยความตั้งใจ หรือจงใจทำ แสดงออกด้วยกาย ด้วยวาจา จะดีหรือชั่วก็ตาม โดยการกระทำที่ดี เรียกว่า กรรมดี ที่ชั่ว เรียกว่า กรรมชั่ว ในพระไตรปิฏกและอรรถกถา ไม่ปรากฏพุทธพจน์กล่าวถึงคำว่า "แก้กรรม" แต่ปรากฏคำว่า "ดับกรรม" และ "สิ้นกรรม" โดยพระพุทธองค์ทรงแสดงทางดับกรรมไว้ใน อริยมรรค คือ มรรคอันมีองค์ 8 อันได้แก่ เห็นชอบ ดำริชอบ พูดชอบ กระทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ และตั้งจิตมั่นชอบ ที่ให้ถึงซึ่งความดับกรรม คือ ปฏิปทา ตามหลักคำสอนของพระพุทธองค์...
Published 03/11/22