Episodes
ในยุคสมัยโบราณที่มนุษย์มีความเชื่อเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ เกิดขึ้นจากพลังของเทพเจ้าหรือภูติผีปีศาจ แต่อริสโตเติล (Aristotle) กลับพยายามให้คำอธิบายปรากฏการณ์เหล่านี้ออกมาอย่างมีเหตุมีผลผ่านการเขียนหนังสือ Meteorologica ที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับอุตุนิยมวิทยา ทำให้บางแนวคิดของอริสโตเติลได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มาก่อนกาลของวงการวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน
Published 09/29/23
สิ่งของเครื่องใช้รอบตัวเรา ก่อนจะออกมาเป็นรูปทรงพร้อมใช้งานได้ ต้องมีการศึกษาวัสดุ เพื่อให้สิ่งของเครื่องใช้เหล่านี้สามารถนำมาใช้งานในด้านต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้มากขึ้น หรือที่เรียกว่า "วัสดุศาสตร์" EP. นี้ ชวนทำความรู้จักกับวัสดุศาสตร์ว่า สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ บนโลกนี้มีความเกี่ยวข้องกับศาสตร์ด้านนี้อย่างไร และทำไมต้องมีการศึกษาด้านนี้ขึ้นมาอย่างจริงจัง จาก ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ
Published 09/15/23
อินเดียสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของโลก ด้วยการส่งยาน "จันทรายาน-3" (Chandrayaan-3) ลงจอดขั้วใต้ของดวงจันทร์ได้สำเร็จเป็นชาติแรกของโลก หลังจากยาน "ลูนา-25" (Luna-25) ของรัสเซีย ประสบความล้มเหลวระหว่างการปรับวงโคจร จนสูญเสียการควบคุมและตกกระแทกลงบนพื้นผิวดวงจันทร์ในที่สุด แต่จะมีอะไรเกิดขึ้นกับทั้งสองประเทศนี้บ้าง หลังจากเสร็จภารกิจในครั้งนี้ไปแล้ว ชวนฟังกับ เติ้ล ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน
Published 09/08/23
รัสเซียกลับมาสำรวจดวงจันทร์อีกครั้งในรอบ 47 ปี กับภารกิจ Luna-25 นับตั้งแต่อดีตสหภาพโซเวียตส่งยานไปดวงจันทร์ในภารกิจ Luna-24 โดยมีเป้าหมายลงจอดบริเวณใกล้ขั้วใต้ของดวงจันทร์ ซึ่งถือเป็นบริเวณที่ค่อนข้างยากต่อการลงจอดยานอวกาศ EP. นี้ เติ้ล ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน จะมาเล่าให้ฟังถึง เหตุผลหลักของรัสเซียในการกลับไปดวงจันทร์อีกครั้ง หลังจากห่างหายไปนานเกือบ 50 ปี รวมถึงการแข่งขันสำรวจดวงจันทร์กับ Chandrayaan-3 ของอินเดีย
Published 08/25/23
แนวทางในการรักษาโรคต่าง ๆ ก้าวหน้าขึ้นไปอีกระดับหนึ่งด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ต่าง ๆ โดยหนึ่งในนั้นก็คือ "พันธุศาสตร์ไฟฟ้า" ที่ควบคุมการทำงานของหน่วยพันธุกรรมหรือยีนในร่างกาย โดยอาศัยการส่งสัญญาณไฟฟ้ากระแสตรงจากถ่านไฟฉาย เพื่อนำมารักษาโรคเบาหวานในคน ซึ่งมีงานวิจัยของสวิตเซอร์แลนด์ ที่ประสบความสำเร็จในการใช้เทคนิคพันธุศาสตร์ไฟฟ้า แต่เทคนิคนี้จะรักษาโรคเบาหวานได้อย่างไร และสามารถรักษาโรคอื่น ๆ นอกจากโรคเบาหวานได้หรือไม่ ดร.พงศกร สายเพ็ชร์ จะมาเล่าให้ฟังกัน
Published 08/18/23
PFAS สารเคมีสังเคราะห์ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า มีคุณสมบัติทนความร้อน น้ำ และน้ำมันได้ดี จึงถูกนำมาใช้กับวัสดุอุปกรณ์ที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน แต่อีกด้านกลับพบว่าสารเคมีประเภทนี้ส่งผลต่อสุขภาพ และตกค้างในสิ่งแวดล้อมได้เป็นเวลานานจนถูกเรียกว่า "สารเคมีตลอดกาล" ทำให้มีการรณรงค์งดใช้สาร PFAS ในอุตสาหกรรม เพราะอะไรสารเคมีกลุ่ม PFAS ถึงย่อยสลายในธรรมชาติได้ยาก และมีวิธีแก้ปัญหาหรือทางเลือกอื่นหรือไม่ ชวนฟังกับ ดร.พงศกร สายเพ็ชร์
Published 08/04/23
ย้อนรอยโครงการแมนฮัตตันในสหรัฐฯ ศูนย์รวมนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลกที่นำโดย เจ โรเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ (J. Robert Oppenheimer) เพื่อพัฒนาระเบิดอะตอม นำไปสู่การทิ้งระเบิดที่เมืองฮิโรชิมา และนางาซากิของญี่ปุ่นจุดจบของสงครามโลกครั้งที่ 2 เบื้องหลังการสร้างอาวุธนิวเคลียร์เปลี่ยนโลกกับการวิจัยที่เป็นความลับสุดยอด ก่อนจะประกาศความสำเร็จให้โลกรู้ ในขณะเดียวกันโครงการนี้ยังเป็นจุดเริ่มต้นข้อถกเถียงของการใช้อาวุธนิวเคลียร์ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนผู้บริสุทธิ์ ฟังจาก ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ
Published 07/28/23