Episodes
เริ่มซีรีส์พิเศษ ด้วย Dark Side of the Fairy Tales กับเรื่องดาร์คๆ มุมมืดๆ ของเทพนิยายสวยๆ ฝันหวานทั้งหลาย ประเดิมกันด้วย ‘เจ้าหญิงนิทรา’ สามเวอร์ชั่นเก่าแก่ ที่คุณอาจคิดไม่ถึงว่า เจ้าหญิงนิทราของเราจะสามารถ ‘ดาร์ค’ ได้ถึงขนาดนี้
Published 03/22/20
Published 03/22/20
อธิบายความเป็นเผด็จการ ผ่านมุมมองของ วิคเตอร์ เคล็มเพอร์เรอร์ และ ฮันนาห์ อาเร็นดท์ สองนักคิดชาวยิวที่ผ่านยุคเรืองอำนาจของฮิตเลอร์และนาซี ทั้งคู่พิจารณาความเป็นเผด็จการ โดยวิเคราะห์เรื่องของการใช้ภาษาและวิธีคิดต่างๆ และพบว่า เผด็จการล้วนมีลักษณะที่คล้ายกัน
Published 02/22/20
เคยมีการศึกษาคนใน 32 เมืองทั่วโลก กินเวลาถึง 10 ปี พบว่ามนุษย์เราเดินเร็วขึ้นราว 10% คำถามก็คือ ทำไมเราถึงเดินเร็วขึ้น เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการส่งผ่านข้อมูลข่าวสารอย่างไร
Published 02/17/20
หลายคนไม่มีความสุขเวลาต้องไปทำงานในเช้าวันจันทร์ นั่นเพราะมีออฟฟิศที่ไม่ค่อยน่าอภิรมย์สักเท่าไหร่ ต่อไปนี้คือ 8 วิธี ที่อาจช่วยให้คุณมีความสุขกับที่ทำงานได้มากขึ้น
Published 02/16/20
ความหน้าตาดี มีอะไรมาเป็นตัวกำหนดรับรู้หรือเปล่า ความหน้าตาดีมีลักษณะที่เป็น ‘สากล’ ด้วยไหม ทำไมเราถึงชอบคนนั้นคนนี้ คิดว่าคนนั้นคนนี้หน้าตาดีกว่าคนอื่นๆ มันมีคำอธิบายที่ ‘เป็นวิทยาศาสตร์’ หรือเปล่า
Published 02/15/20
การรู้จักตัวเองคือการ ‘เข้าใจ’ ตัวเองให้ดีขึ้น เมื่อเราเข้าใจตัวเองแล้ว เราจะเข้าใจมนุษย์คนอื่นๆ ได้มากขึ้นด้วย เพราะเราจะเห็นทั้งแง่งามและแง่อัปลักษณ์ที่อยู่ในตัวเราและมนุษย์คนอื่นๆ แต่กระนั้น เราจะ ‘รู้จัก’ ตัวเองได้อย่างไร
Published 02/11/20
ใครๆ ก็อยากเป็นคนฉลาด แต่รู้ไหมว่า คนฉลาดๆ ระดับไอคิวสูง Top 2% ของโลกนั้น อาจมีสภาวะที่เรียกว่า Overexcitablility มากกว่าคนทั่วไป ทั้งในทางจิตใจและร่างกาย สภาวะนี้คืออะไร แล้วมันไม่ดีอย่างไร ติดตามได้ใน Decode ตอนนี้
Published 02/11/20
หลายคนอาจไม่รู้ว่า โลกเรามี ‘สมาคมคนไอคิวสูง’ หรือ High IQ Society อยู่หลายสมาคมเลย แต่ละสมาคมมีวิธีวัดไอคิวแตกต่างกันไป แต่ที่เหมือนกันก็คือ ต้องเป็นคนที่มีความฉลาดระดับ 1-2% แรกของโลกทั้งนั้น ไปดูกันว่า สมาคมพวกนี้ตั้งขึ้นมาทำไม มีใครเป็นสมาชิกบ้าง และเวลาพบปะกัน คนฉลาดๆ เหล่านี้เขาทำอะไรกันบ้าง
Published 02/05/20
โลกยุคนี้คือโลกแห่ง distraction ความสนใของเราถูกเบี่ยงเบนได้ตลอดเวลา หนังสือเล่มใหม่ของ Nir Eyal นักเขียนชาวอิสราเอล พุ่งประเด็นไปที่เรื่องนี้โดยตรง ไปดูกันว่า อะไรทำให้เกิด distraction และเรามีเทคนิคจัดการกับมันอย่างไร
Published 02/04/20
เราคุ้ยกับคำว่า ‘ไวรัส’ กันดี แต่จริงๆ แล้ว ไวรัสคืออะไรกันแน่ มันมีชีวิตหรือเปล่า เกณฑ์ข้อไหนที่บอกว่ามันมีหรือไม่มีชีวิตบ้าง และจริงๆ แล้ว มันมีกำเนิดมาอย่างไรในทางวิวัฒนาการ มันแพร่พันธุ์อย่างไร และการแพร่นั้นทำร้ายเราอย่างไร ที่สำคัญก็คือ การแพร่ระบาดแต่ละครั้งจะหายไปไหมในที่สุด และหายไปได้อย่างไร
Published 01/31/20
ทุกวันนี้ คำว่า binge watching ไม่แปลกประหลาดอีกต่อไปแล้ว เพราะใครๆ ก็ดู คำถามก็คือ การดูซีรีส์ต่างๆ ต่อเนื่อง เกิดขึ้นได้อย่างไร มีอะไรเป็นตัวกระตุ้น และมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง
Published 01/28/20
โรคระบาดขนานใหญ่ที่เรียกว่า pandemic คืออะไร ต่างจาก epidemic อย่างไร นายแพทย์ที่ศึกษาโรคซาร์สจนเสียชีวิตมีคุณูปการอย่างไรกับเมืองไทย คนไทย และคนทั้งโลก และวิธีง่ายๆ ที่จะป้องกันไวรัสอู่ฮั่นคืออะไร
Published 01/24/20
เราชอบคิดว่า คนนอนดึกตื่นสายเป็นคนขี้เกียจ แต่จริงๆ แล้ว การนอนดึกตื่นสายหรือนอนเร็วตื่นช้า เป็นเรื่องของอุปนิสัยน้อยกว่าเรื่องของวิวัฒนาการและพันธุกรรม ไปติดตามดูวิทยาศาสตร์ของการนอนดึกตื่นสายกัน ว่าคนเรามีรูปแบบการนอนแตกต่างกันเพราะอะไร
Published 01/24/20
ปิกัสโซ่ชอบฝุ่น ฝุ่นในธรรมชาติเกิดจากอะไรได้บ้าง ฝุ่นที่มนุษย์สร้างขึ้นมีอะไรบ้างมนุษย์ผูกพันกับฝุ่นมากน้อยแค่ไหน และทำไมพัดลมที่หมุนอยู่ตลอดเวลาถึงมีฝุ่นจับได้
Published 01/20/20
เรารู้ว่า ฝุ่นมีผลต่อสุขภาพทางกายแน่ๆ โดยเฉพาะฝุ่นจิ๋วอย่าง PM 2.5 แต่มันส่งผลต่อสุขภาพทางจิตอย่างโรคซึมเศร้าหรือโรควิตกกังวลได้ด้วยหรือ ไปสำรวจเรื่องนี้กัน
Published 01/20/20
นักวิทยาศาสตร์วัดฝุ่นเป็นค่า ‘ไมครอน’ แต่ไมครอนคืออะไร ใหญ่เล็กแค่ไหน และฝุ่นใหญ่ฝุ่นเล็กต่างกันอย่างไร อะไรเป็นอันตรายกว่ากัน ฝุ่นมีแต่ข้อเสียหรือเปล่า ข้อดีของฝุ่นคืออะไร ไปสำรวจฝุ่นกัน
Published 01/20/20