Episodes
จากการโหวตนายกของพิธา ไม่สามารถผ่านการรับรองให้เป็นนายกรัฐมนตรีได้จากรัฐสภาถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรกไม่ผ่านเพราะเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่งของรัฐสภา 375 เสียง เนื่องจากบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 60 กำหนดให้ต้องใช้เสียง สว ด้วย และครั้งที่สองไม่แม้แต่จะได้โหวต เพราะ ที่ประชุมรัฐสภาได้มีการลงมติว่าไม่สามารถเสนอญัตติซ้ำได้ จึงเป็นที่มาของการถกเถียงว่า การเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นนายกรัฐมนตรีได้นั้น เป็นญัตติหรือไม่ และรัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้หรือไม่ ว่าเสนอชื่อได้ 1 ครั้งต่อ 1 คน .ดังนั้น...
Published 07/20/23
ในที่สุด การโหวตประธานสภาผู้แทนราษฎรก็สิ้นสุดลงแล้ว โดยประธานสภาตกเป็นของวันมูหะมัดนอร์ มะทา จากพรรคประชาชาติ ขณะที่เพื่อไทยกับก้าวไกลต่างได้รองประธานสภาคนละตำแหน่ง การต่อรองเก้าอี้ประธานสภานับเป็นก้าวแรกของการจัดตั้งรัฐบาลของ 8 พรรคร่วม ซึ่งตลอดมาก้าวไกลมีท่าทีที่ต้องการตำแหน่งนี้มาตลอด โดยให้เหตุผลว่าเป็นธรรมเนียมที่พรรคอันดับหนึ่งต้องได้เก้าอี้ประธานสภา ขณะที่เพื่อไทยก็ไม่ยอมให้ก้าวไกลได้เก้าอี้ประธานสภาไปได้โดยง่าย จนสุดท้ายเพื่อที่จะรักษาพรรคร่วมเอาไว้...
Published 07/05/23
ก้าวต่อไปของก้าวไกล หลังจากใช้เวลากว่าหนึ่งเดือน ทางกกต. ก็ได้ทำการรับรองส.ส.เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะนำมาสู่การเปิดประชุมสภาเป็นลำดับต่อไป ทว่าความท้าทายของพรรคก้าวไกลในการจัดตั้งรัฐบาลยังคงมีอยู่ ไม่ว่าจะตำแหน่งประธานสภาที่ยังไม่แน่นอน หรือจะสามารถโหวต 'พิธา' ให้เป็นนายกรัฐมนตรีได้หรือไม่ แล้วถ้าเป็นรัฐบาลได้ แล้วจะแบ่งสรรงานกับพรรคร่วมยังไง แล้วอะไรคือความท้าทายที่ก้าวไกลต้องเผชิญ...
Published 06/28/23
ทั้ง ๆ ที่ Spider-Man กับ The Little Mermaid มีตัวเอกเป็นคนผิวสีเหมือนกัน แต่ผลตอบรับกลับต่างกัน?” หากกล่าวถึงภาพยนตร์ที่โด่งดัง ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมาย่อมมีชื่อของ Spider-Man: Across the Spider-Verse และ The Little Mermaid ฉบับคนแสดงของดิสนีย์อย่างแน่นอน แม้ว่าทั้งคู่จะเป็นภาพยนตร์ที่ต่างทั้งประเภท กลุ่มลูกค้า และค่าย แต่สิ่งหนึ่งที่ทั้งสองเหมือนกันก็คือ การที่มีตัวเอกเป็นคนผิวสีทั้งคู่ หากแต่ผลตอบรับของภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องกลับต่างกัน ขณะที่ The Little Mermaid...
Published 06/15/23
"Pride Month กับพรรคการเมืองและการเสนอนโยบายสมรสเท่าเทียม" ใน Pride Month Bangkok ปีนี้ เราได้เห็นบรรดาพรรคการเมืองออกมาร่วมขบวนเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศกันอย่างคึกคัก นั่นก็อาจเป็นเพราะพรรคก้าวไกลที่จะได้เสียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุดของประเทศนั้น เป็นพรรคที่โอบรับความต้องการของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศเอาไว้อย่างชัดเจนที่สุด ในปีนี้จึงมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 5 หมื่นคน และมีสัญญาณว่าจะมีการผลักดัน สมรสเท่าเทียม ให้ผ่าน...
Published 06/07/23
"ค่าแรงขั้นต่ำ ทำได้จริง หรือแค่นโยบายประชานิยม" ยังไม่ทันได้เป็นรัฐบาลเต็มตัว แต่ว่าที่นายกฯพิธา ก็ต้องเจอกับคำถามราวกับว่าเข้ามาบริหารประเทศแล้ว สิ่งหนึ่งที่ท้าทายที่สุดคือ นโยบายค่าแรง 450 บาท ต่อวัน ซึ่งเป็นประเด็นอย่างมากในสังคม เพราะค่าแรงทุกวันนี้มันน้อยเหลือเกิน และค่าครองชีพก็สูงมาก เกี่ยวกับว่าจะขึ้นได้ไหม ควรขึ้นไหม และจะมีผลกระทบต่อผู้ประกอบการอย่างไร รวมถึงผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจโดยรวมมากแค่ไหน เมื่อกว่า 10 ปี ที่แล้ว ที่เราขึ้นค่าแรง 300 บาท เมื่อขึ้นแล้ว...
Published 05/31/23
"ผ่านไปสองสัปดาห์ ยังไร้วี่แวว กกต. รับรองผลการเลือกตั้ง" การเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 ผ่านไปแล้วจะสองสัปดาห์ แต่ กกต. ก็ยังไม่มีวี่แววจะรับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ ทำให้ยังไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดได้รับการรับรองเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ก็เท่ากับว่าเปิดสภาไม่ได้ เพราะไม่ได้มีการรับรองเกิน 95% ตามรัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการดีล ล็อบบี้ และเล่นแร่แปรธาตุกับผลการเลือกตั้งมากยิ่งขึ้น ทำให้ผลการเลือกตั้งสุดท้ายแล้ว...
Published 05/26/23
"หลังเลือกตั้ง 66 จัดตั้งรัฐบาลในระบบรัฐสภา ต้องมีการต่อรอง?" เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า "ฝ่ายค้านเดิม" ได้รวมเสียงกันได้กว่า 313 เสียงในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ในสภาวะการณ์ปกติที่ไม่มีบทเฉพาะกาล แต่ ณ ขณะนี้ยังมีบทเฉพาะกาลที่ให้วุฒิสภานั้นมีส่วนในการลงคะแนนเสียงในการเลือกนายกรัฐมนตรีในสภาได้อยู่ การต่อรองของพรรคอันดับ 1 ที่สมควรจะเป็นพรรคที่เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลตามธรรมเนียมของระบบรัฐสภานั้น จึงไม่ได้ต้องต่อรองเพียงเฉพาะพรรคการเมืองร่วม แต่ยังต้องต่อรองกับวุฒิสมาชิกด้วย...
Published 05/25/23
"สัปดาห์นี้จะเลือกตั้งแล้ว" การเลือกตั้งกำลังจะมาถึง ประกอบกับบทเรียนที่ได้จากการเลือกตั้งล่วงหน้า/นอกเขต ในวันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ทำให้เรามองเห็นถึงความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในการเลือกตั้ง และอาจทำให้ผลคะแนนนั้นผิดเพี้ยนไปได้ เราจึงชวนเฟมในฐานะผู้สังเกตการณ์หาเสียง มาวิเคราะห์ถึงการหาเสียง กติกา และการทำงานของ กกต. ที่ผ่านมา เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเลือกตั้งให้มากที่สุด การหาเสียงนั้นดำเนินไปอย่างดุเดือด มีการงัดกลยุทธ์แตกต่างในการหาเสียง ทั้งในพื้นที่และโซเชียลมีเดีย...
Published 05/10/23
ใกล้เลือกตั้งแล้ว!!! สัปดาห์นี้เราเลยขอมาถามความเห็นนักวิชาการจากสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้าของเราว่าอยากเห็นนโยบายแบบไหนจากพรรคการเมืองบ้าง วันนี้เราอยู่กับป่านและขวัญข้าวเพื่อคุยถึงเรื่องนโยบายที่อยากให้เกิดขึ้น ซึ่งก็มีตั้งแต่ นโยบายการต่างประเทศ เศรษฐกิจระหว่างประเทศ การพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้ให้ประเทศ ไปจนถึงนโยบายด้านการอวกาศ ที่อาจทำให้ไทยหลุดพ้นจากความยากจนได้อย่างจริงจัง มากกว่านโยบาย ลด แลก แจก แถม ที่ใช้หาเสียงกันในตอนนี้ SoundCloud:...
Published 05/03/23
"พรรคทหาร จากสามัคคีธรรม-รสช ถึง พปชร/รทสช/คสช" การเลือกตั้ง 62 และ 66 ที่จะถึงนี้ นับว่าเป็นการเลือกตั้งครั้งที่ 2 หลังจากการรัฐประหารในปี 57 และยังเกิดพรรคการเมืองที่มีผู้ที่มีบทบาทในการรัฐประหารมาดำรงตำแหน่งทางการเมือง วันนี้เราจึงชวนพี่ปาร์คมาพูดคุยเกี่ยวกับการเมืองช่วงการยึดอำนาจในปี 34 ถึงความคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ และความเกี่ยวข้องของพรรคการเมืองในการยึดอำนาจปี 57 และพรรคการเมืองที่ก่อตั้งมาหลังจากนั้น และพูดคุยถึงความเป็นไปได้ หลังจากอิทธิพลของทหารหมดไปแล้ว จะเป็นอย่างไร...
Published 04/26/23
ส่องนโยบายการศึกษาในเลือกตั้ง 2566 วันนี้เราลองมาดูนโยบายทางการศึกษาของพรรคการเมืองกันบ้าง ที่ผ่านมา การศึกษามักถูกละเลยให้เป็นประเด็นที่มีความสำคัญลำดับท้าย ๆ เสมอ (แม้งบประมาณจะเยอะก็ตาม) แต่เพราะอะไรล่ะ? เพราะการศึกษาไม่สำคัญ หรือเพราะเรามีต้นทุนไม่พอที่จะให้ระบบการศึกษาที่ดีได้? คำตอบคงจะมีหลายแบบ แต่เราลองมาดูว่า นโยบายด้านการศึกษาของพรรคการเมืองต่าง ๆ เป็นอย่างไร และจะทำให้นักเรียน นักศึกษา เติบโตไปเป็นประชากรที่มีคุณภาพ...
Published 04/23/23
"พรรคนี้เป็นอย่างไรบ้าง? พรรคการเมืองและการสื่อสารกับสังคม" เรียกว่าเป็นปราฏการณ์ใหม่ทางการเมืองกับคอนเทนต์ พรรคนี้เป็นอย่างไรบ้าง ของช่องคุณฟาโรส ที่ทำให้เราเห็นถึงการสื่อสารระหว่างพรรคการเมืองและสาธารณะในภาพรวม วันนี้รายการได้เชิญจากพี่ปาร์ค ปุรวิชญ์ และป่าน มาพูดคุยในเรื่องของการหาเสียง และการสะท้อนพรรคของตนเองให้แก่สังคม...
Published 04/12/23
จะเลือกตั้ง 66 กันอยู่แล้ว เราจึงมาส่องถึงปัญหาที่เกิดขึ้นของประขาชนในกลุ่มต่าง ๆ พบว่า มีเรื่องการถูกลดค่ารอบของไรเดอร์ส่งอาหารของแพลตฟอร์มต่าง ๆ ทำให้ตัวไรเดอร์เองเกิดความเดือดร้อน แต่จะแก้ปัญหานี้อย่างไร จะเยียวยาไรเดอร์แค่นี้จะเพียงพอหรือไม่ หรือจะต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เพื่อยกระดับเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจของไทยให้ทัดเทียมโลก แต่การจะไปถึงจุดหมายนั้น มันจะยากง่ายอย่างไร รวมถึงปัญหาที่สัมพันธ์กับห่วงโซ่อุปทานโลก มีนโยบายของพรรคไหน...
Published 04/05/23
ปัญหาฝุ่น PM2.5 กับผลผลิตทางการเกษตรราคาถูก เป็นที่ชัดเจนว่า ฝุ่น PM2.5 นั้น ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการเผาเพื่อเหตุผลทางการเกษตรในประเทศเพื่อนบ้านเรา หลักฐานชี้ชัดว่า พบจุดความร้อนในพื้นที่โดยรอบของประเทศไทย ส่งผลให้ไทยได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะจังหวัดที่มีเขตแดนติดกับต่างประเทศ แต่ประเด็นคือ เราจะแก้ปัญหานี้อย่างไร และแก้ที่ใคร ตั้งแต่ระดับกระทรวง ระดับผู้นำประเทศ หรือระดับภูมิภาค เลขาธิการอาเซียน จะช่วยได้จริงหรือไม่ เพราะการปลูกพืชผักเหล่านี้เป็นอุตสาหกรรมนั้น...
Published 03/29/23
การเลือกตั้งใกล้เข้ามาแล้ว หลังจากมีการยุบสภาอย่างเป็นทางการ เราจึงได้เชิญพี่ปาร์ค ปุรวิชญ์ มาพูดคุยเรื่องการแบ่งเขต และแขวงเลือกตั้ง ว่าเข้าข่าย Gerrymandering หรือไม่ และหากเป็น ใครจะได้ประโยชน์ ประกอบกับการยุบสภา ที่ใกล้วันหมดวาระแล้วนั้น จะชิงความได้เปรียบทางการเมืองได้อย่างไร SoundCloud: bit.ly/3gFv2JZBlockdit: bit.ly/2Bi4tujPodbean: bit.ly/36QsT9VApple Podcasts: apple.co/2TQtROkSpotify: spoti.fi/2XJqvgX#TheInfinity #InfinityPodcast #DemocracyXInnovations ##สำนักนวัตกรรมฯ
Published 03/22/23
จะเลือกตั้งแล้ว เรามาคุยกันเรื่องอุดมการณ์ทางการเมืองกันดีกว่า ตกลงคนที่บอกว่าตัวเองนั้นซ้าย ซ้ายจริงไหม แล้วที่ว่าพรรคนั้นฝ่ายขวา ขวาคืออะไร มีขวาจริง ขวาไม่จริงบ้างไหม มาดูกันว่าแต่ละพรรคการเมืองแลดูจะมีจุดยืน หรือถูกมองว่ามีจุดยืนอยู่ตรงไหน SoundCloud: bit.ly/3gFv2JZ Blockdit: bit.ly/2Bi4tuj Podbean: bit.ly/36QsT9V Apple Podcasts: apple.co/2TQtROk Spotify: spoti.fi/2XJqvgX #TheInfinity #InfinityPodcast #DemocracyXInnovations #สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย
Published 03/15/23
คุยเรื่องวันสตรีสากล กับความสัมพันธ์ระหว่างอัตลักษณ์ กับผลิตผลทางเศรษฐกิจ ตอนนี้เรามาในธีมของวันสตรีสากล 8 มีนาคม แต่ต้องบอกไว้ก่อนว่าเป็นการพูดคุยของผู้ชาย 2 คนเท่านั้น 😁 เราตั้งคำถามว่า เหตุใดในสังคมตะวันตก จึงมีประเด็นเรื่องความไม่เท่าเทียมทางเพศ ความไม่เท่าเทียมทางเชื้อชาติ และการแบ่งแยก มากกว่าสังคมไทย (จริงไหมนะ?) ขณะที่สังคมไทย อาจไม่ปรากฎการแบ่งแยก หรือการเหยียดที่เป็นเชิงระบบ (systematic racism/sexism/inequality) ที่อาจไม่มีความแตกต่างในการจ่ายค่าจ้าง หรือ สิทธิพิเศษ...
Published 03/08/23
“เรียนอะไร ดูหนังอะไร บ่งบอกสถานะทางสังคมและชนชั้นได้จริงหรือ?” ใกล้เข้าถึงการเลือกตั้ง จึงเกิดวิวาทะร้อนแรงขึ้นในหลายกลุ่ม แต่วันนี้เราจะมาพูดเรื่องที่เกิดเป็นกระแสในโลกออนไลน์(อีกแล้ว!) ว่าการดูหนังเครียดหรือเรียนปรัชญา วรรณกรรม นั้นเป็นเรื่องของคนมีเอกสิทธิ์พิเศษ หรือ priviledge หรือไม่ เนื่องจากการดูหนังแนวสืบสวนหรือแนวระทึกขวัญ เป็นหนังที่ต้องใช้พลังมากพอสมควร ซึ่งมนุษย์เงินเดือนน่าจะอยากดูหนังตลกเพื่อคลายเครียดหรือไม่ หรือการเรียนปรัชญาหรือวรรณกรรม...
Published 03/01/23
จะทำอย่างไรหากมนุษย์ต่างดาวบุกโลก วันนี้เรามาคุยกันในกรณีว่า...หากมีผู้มาเยือนจริง จะมาในแง่ของการมาดี หรือมาร้าย เราได้ยกตัวอย่างเรื่องราวใน pop culture ที่เคยเกิดขึ้นในนิยาย ภาพยนตร์ หรือเกม เช่น War of the Worlds, Star Trek, Arrivals, Mass Effect ว่าหากมีกรณีมนุษย์ต่างดาวบุกโลก หรือมียานอวกาศจากนอกโลกมาเยือน เราจะรับมือกันอย่างไร และรัฐต่าง ๆ จะจับมือกันเพื่อต่อสู้กับผู้มาเยือนหรือไม่ หรือจะสะสมเครื่องมือ เพื่อสู้กันเอง มากไปกว่านั้น หรือรัฐอาจใช้ข้อมูลเหล่านี้...
Published 02/23/23
"Hogwarts Legacy กับการโดน boycott" การออกมาของเกม Hogwarts Legacy กลายเป็นประเด็นทางสังคมออนไลน์และวงการสตรีมมิง เนื่องจากการแบน/boycott หรือ cancel โดยเกมเมอร์และเหล่าผู้ใช้ที่ไม่ถูกใจการวางตัวของ J.K. Rowling นักเขียนนิยาย Harry Potter เจ้าของลิขสิทธิ์ของเกมนี้ ที่เป็น TERF (Trans-Exclusionary Radical Feminist) ที่มีจุดยืนว่า Trans หรือคนข้ามเพศ ไม่ใช่ผู้หญิง และการเป็นคนข้ามเพศนั้นเบียดบังพื้นที่ของผู้หญิงแท้ ๆ ไม่เท่านั้นยังลุกลามไปสู่สตรีมเมอร์ชื่อดังของไทย ที่โดนวิพากษ์คาหน้าจอ...
Published 02/15/23
The Last of Us on HBO การสร้างมาตรฐานใหม่ของซีรีส์ ที่ปรับจากเกม เพิ่งผ่านพ้นไปได้ 4 ตอนกับซีรีส์ The Last of Us ที่ถูกปรับจากเกม ซึ่งในตอนแรกได้มีการกล่าวชื่นชมว่าเป็นการปรับจากเกมมาสู่ซีรีส์ได้อย่างเคารพต้นฉบับมากที่สุด และการเล่าเรื่องอย่างระทึกขวัญ ทำให้เป็นซีรีส์ที่ไม่เพียงแต่ปรับจากเกม แต่ยังเป็นการเล่าเรื่องที่ดีในตัวเองอีกด้วย แต่เนื้อเรื่องในตอนที่ 3 ที่ทางผู้สร้างได้ตัดสินใจไม่ทำตามต้นฉบับ และปรับเปลี่ยนเนื้อเรื่องไปเป็นอีกแนวทางโดยสิ้นเชิง...
Published 02/08/23
"ปัญญาประดิษฐ์ AI Chatbot มีผลประทบต่อชีวิตเรามากแค่ไหน" การเลิกจ้างงานเป็นแผงของบริษัท Big Tech สะท้อนให้เห็นถึงอะไร? เทคโนโลยีจะเข้ามาแทนที่การทำงานของมนุษย์หรือไม่ วันนี้เราจึงมาชวนคุยเกี่ยวกับ ChatGPT ที่เราได้เข้าไปลองเล่นและแชทคุยกับ chatbot ดังกล่าว ซึ่งพบว่ามีคำตอบที่น่าสนใจ และมีการประมวลผลที่รวดเร็ว และยังสามารถเขียนคำตอบเป็นบทความขนาดยาวได้อีกด้วย แสดงให้เห็นว่า chatbot ดังกล่าวถูกสร้างมาเพื่อเรียนรู้และพัฒนาตนเอง นอกจากนี้ ยังมีการใช้ AI ในรูปแบบอื่น ๆ เช่น การให้ AI วาดภาพได้...
Published 01/25/23
"การซื้อชื่อผู้แต่งในบทความวิชาการ จริยธรรมหรือความจำเป็น ในยุคการจ้างงานแบบไม่มั่นคง?" เพิ่งยังไม่ผ่านไปกับดราม่าที่ขุดประวัติการตีพิมพ์ผลงานวิชาการของนักวิชาการในไทย ไม่ว่าจะเป็นการขุดโดยนักสืบโซเชียล หรือการออกข่าวโทรทัศน์ แน่นอนว่าการซื้อขายงานวิชาการโดยการเอาชื่อไปแปะเพื่อประโยชน์ของชื่อผู้แต่ง ไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่งนั้น เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง และไม่สมควรทำ แต่การตั้งคำถามว่าเพราะเหตุใด นักวิชาการจึงต้องถูกบีบคั้นให้มีงานตีพิมพ์ที่กำหนดจำนวน เพื่อเลื่อนตำแหน่ง...
Published 01/21/23
"ธุรกิจจีนในไทยและความฟรีสไตล์" ที่ผ่านมาในรอบทศวรรษ การรับมือกับการทำธุรกิจกับจีนของไทยนั้นเป็นไปในทิศทางยอมให้จีนได้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นอย่างสูง จนเราอาจจะต้องกลับมาถามถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับรัฐไทยในภาพรวม นอกจากนี้ ประเทศไทยที่พึ่งพาภาคการท่องเที่ยว ที่ตั้งความหวังไว้กับนักท่องเที่ยวจีนที่เพิ่งจะได้เดินทางเข้ามาในประเทศในช่วงต้นปีมานี้ แต่ยังมิได้มีการเตรียมการสำหรับการท่องเที่ยว เช่น การบริการตรวจ PCR ที่มีความรวดเร็ว หรือ การให้บริการจำหน่ายวัคซีนเพื่อหารายได้...
Published 01/12/23