Episodes
เมื่อปี ค.ศ. 1947 ในประเทศอเมริกา… มีหญิงสาวคนหนึ่งเดินเข้ามาที่โรงพยาบาล พร้อมกับอาการติดเชื้อในกระแสเลือด จากการที่เธอได้ไปทำแท้งมาก่อนหน้านี้ ซึ่งสิ่งที่ตามมาหลังจากนั้นคือ “ภาวะไตวาย” สำหรับการรักษาภาวะไตวาย ถ้าเกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน หญิงสาวคนนี้คงไม่ต้องกังวลอะไรมากมาย เพียงนำไตเทียมมาต่อเข้าในร่างกาย ก็มีโอกาสพ่นขีดอันตรายได้ไม่ยากนัก แต่เมื่อ 75 ปีที่แล้วนั้น ยังไม่มีองค์ความรู้ ไม่มีวิธีรักษาภาวะไตวายเหมือนกับในปัจจุบันนี้ ทำได้เพียงภาวนาให้หายจากอาการนี้อย่างปลอดภัยเท่านั้น ทั้งนี้...
Published 02/06/23
วันนี้ซีรีส์สงครามครูเสดของช่องหลงไปในประวัติศาสตร์ก็เดินทางมาถึงตอนสุดท้ายของซีซัน 1 กันแล้วนะคะ  สงครามครูเสด (Crusade) ตอนที่ 7 จะเป็นเรื่องราวการปิดล้อมและพิชิตเมืองเยรูซาเลม (Jerusalem) หลังจากที่กองทัพครูเสดพิชิตเมืองแอนติออก (Antioch) ได้สำเร็จแล้ว อะไรทำให้พวกเขายังอยู่ในเมืองแอนติออกต่อนานถึง 6 เดือน ? ทำไมพวกเขาถึงไม่รีบออกเดินทางไปยึดเมืองเยรูซาเลมกันต่อ ? การถอนกำลังออกของ Prince of Antioch ในขณะนั้นจนกองทัพครูเสดมีขนาดลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง...
Published 01/23/23
หลงไปในประวัติศาสตร์เอพิโสดนี้กัน เรายังอยู่ในสงครามครูเสด ครั้งที่ 1  จากตอนที่แล้ว การบุกพิชิตเมืองไนเซียได้สิ้นสุดลงในเเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 1097 หลังจากนั้นไม่นาน กองทัพครูเสดก็ได้เริ่มเดินทางเข้าสู่ดินแดนตะวันออกกลาง ในระหว่างทางก็มีการต่อสู้กับเมืองเล็กเมืองน้อยไปเรื่อยๆ จนสุดท้ายได้เดินทางไปถึงเมืองสำคัญอีกหนึ่งเมืองที่ชื่อว่า Antioch เมืองใหญ่ที่เก่าแก่และรุ่งเรือง  การปิดล้อมในครั้งนี้จะเป็นยังไง กองทัพครูเสดจะพิชิตเมืองแอนติออกได้สำเร็จหรือไม่ ติดตามฟังเรื่องราวกันค่ะ
Published 11/26/22
หลังจากการล้มเหลวของกองทัพครูเสดชาวบ้านผ่านไป 2 เดือน สงครามครูเสด ครั้งที่ 1 ก็ได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อกลุ่มกองทัพครูเสดขุนนางต่างๆ เดินทางมาถึงกรุงคอนสแตนติโนเปิลตามที่พระสันตะปาปานัดหมาย เรื่องราวตั้งแต่เริ่มต้นจนไปสู่การพิชิตเมืองไนเซียจะเป็นยังไง กองทัพครูเสดกลุ่มนี้มีใครบ้าง และทำไมจึงยึดเมืองไนเรียเป็นเมืองแรก ติดตามได้ใน episode นี้ค่ะ
Published 11/08/22
วันนี้เราจะไปดูเรื่องราวของคนสองกลุ่มที่ออกไปรบก่อนจะเกิดสงครามครูเสด ครั้งที่ 1 กลุ่มคนแรกๆ ที่ออกไปรบในสงครามครูเสดไม่ใช่อัศวิน แต่เป็นกลุ่มชาวบ้านชาวทั่วไป อะไรทำให้พวกเขาเลือกทิ้งบ้านแล้วออกไปรบในสงคราม ปัจจุบันเราเรียกกลุ่มแรกว่า People’s Crusade หรือครูเสดชาวบ้าน และคนอีกกลุ่มคือ Millenarian หรือ Millennialism ที่สุดท้ายแล้วกลายมาเป็นกองทัพออกไปไล่ล่าสังหารชาวยิว 
Published 10/18/22
วันนี้เราจะไปดูวิวัฒนาการของสิ่งที่เรียกว่าครูเสด และตอบคำถามสองข้อสั้นๆ อย่างแรก สงครามครูเสดคืออะไร ?  ต่างจากสงครามอื่นๆ อย่างไรบ้าง ? ทำไมสงครามครูเสดจึงไม่ใช่แค่ชาวคริสต์รบกับชาวมุสลิม ? สอง ทำไมผู้คนมากมายถึงออกเดินทางไปรบอย่างที่คาดคิดมาก่อน
Published 10/04/22
จากคำถามที่ทิ้งท้ายในตอนที่แล้ว วันนี้เราจะไปหาคำตอบว่าทำไมศาสนาที่สอนให้คนไม่ฆ่ากันถึงชวนคนไปรบในสงคราม อะไรคือไอเดียเบื้องหลังของ Holy War (สงครามศักดิ์สิทธิ์) ? สงครามกลายเป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ได้อย่างไร ?  ติดตามเรื่องราวได้ในซีรีส์สงครามครูเสด ตอนที่ 2 กับหลงไปในประวัติศาสตร์ 
Published 09/28/22
เริ่มต้นซีรีส์สงครามครูเสด ตอนที่ 1 เราจะเดินทางย้อนเวลากลับไปที่ฝรั่งเศส ในวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1095 หรือเมื่อประมาณ 1,000 ปีที่แล้ว เราจะไปดูว่าการประชุมที่แกลร์มง (Council of Clermont) คือการประชุมอะไร เกี่ยวข้องกับสงครามครูเสดยังไง พระสันตะปาปา Urbano II ประกาศอะไรต่อชาวคริสต์ ถึงได้กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของมหากาพย์สงครามครูเสดที่ยาวนาน 200 ปี 
Published 09/15/22
หลงไปในประวัติศาสตร์ซีรีส์นี้ จะพาทุกคนเดินทางย้อนเวลากลับไปดู สงครามครูเสดในแง่ของประวัติศาสตร์ ว่ามันมีหน้าตาเป็นแบบไหน ซับซ้อนยังไง ไอเดียเบื้องหลังที่ทำให้สงครามครูเสดเกิดขึ้นคืออะไร ติดตามดูเรื่องราวน่าสนใจที่ซ่อนอยู่ได้ในซีรีส์สงครามครูเสด (Crusade) กันค่ะ
Published 09/07/22
ในตอนที่แล้วเราจะเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครอง มันมีผลให้ศาสนาทางตะวันตกแยกห่างจากตะวันออกยังไง วันนี้เราจะมาคุยกันต่อโดยจะมาดูว่า ความต่างของภาษา วัฒนธรรม นำไปสู่ความเชื่อและพิธีกรรมที่ต่างกันระหว่างโรมันคาทอลิกและกรีกออร์โธดอกซ์ได้ยังไง ซึ่งความต่างเหล่านี้จะค่อยๆ สะสมจนนำไปสู่จุดแตกหักในปี ค.ศ. 1054
Published 07/19/22
เริ่มต้นซีรีส์ใหม่วันนี้ เราจะพาย้อนเวลากลับไปดูว่าทำไมคริสต์โรมันคาทอลิกทะเลาะกับกรีกออร์โธดอกซ์ถึงทะเลาะกันอย่างรุนแรงจนกลายเป็นคู่แค้นกันในช่วงยุคกลางของยุโรป เป็นความบาดหมางที่ลากยาวมาจนเกือบถึงยุคปัจจุบันของเรา แล้วจึงค่อยๆ กลับมาคืนดีกันในช่วงราวๆ ปี 1960 ปัจจุบันเราเรียกเหตุการณ์นี้ว่า The Great Schism หรืออีกชื่อเรียกหนึ่งคือ East–West Schism
Published 07/18/22
เรื่องราวที่เราจะคุยกันในวันนี้ อาจจะเริ่มต้นจากวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1877 หรือประมาณ 250 ปีที่แล้ว มีชายหนุ่มอายุประมาณ 20 ทั้งหมด 12 คนมานัดเจอกันที่โรงพิมพ์แห่งหนึ่ง พวกเขาทั้ง 12 คนมีจุดหมายที่ยิ่งใหญ่อยู่อย่างหนึ่ง สิ่งที่พวกเขาต้องการร่วมกันนั่นก็คือ เขาต้องการให้อังกฤษเลิกการค้าทาสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก
Published 05/11/22
ไอเดียสิทธิเสรีภาพหรือความเท่าเทียมกัน กลายมาเป็นไอเดียกระแสหลักของสังคมได้อย่างไร? วันนี้หลงไปในประวัติศาสตร์จะพาไปเซอร์เวย์ถึงเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ช่วงนั้นที่นำไปสู่การวิวัฒนการการของความคิดและสังคมเกี่ยวกับเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน
Published 04/08/22
ใน Episode นี้เราจะมาดูกันว่าการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดของการเลิกค้าทาส มันเกิดขึ้นได้อย่างไร? และตัวไอเดียนี้มันมีวัฒนาาการมาอย่างไรบ้าง?
Published 04/01/22
สำหรับซีรี่ส์ใหม่ในวันนี้ เราจะคุยกันถึงการเลิกค้าทาสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกของอังกฤษเรื่องราวที่น่าสนใจไม่ใช่แค่การที่ประเทศอังกฤษเลิกค้าทาส แต่มันเมีเรื่องราวที่มีรากที่มายาวนานมาก และความแปลกของความน่าสนใจของเรื่องราวนี้คือในวันที่อังกฤษประกาศเลิกค้าทาส ในเวลานั้น ประเทศที่เป็นผู้นำ และได้ผลประโยชน์จากการค้าทาสมากที่สุดก็คือประเทศอังกฤษนั่นเอง ทำไมอังกฤษถึงได้ทำแบบนั้น ? เราจะมาหาคำตอบนี้ไปพร้อมๆกัน
Published 03/03/22
ตอนพิเศษในซีรี่ส์การค้าทาสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก ในตอนนี้เราจะพาย้อนไปใน ปี ค.ศ. 1781 ในเรือทาส กับ คน 142 คนโดนโยนทิ้งลงทะเล และนี่คือเรื่องราวของการสังหารหมู่นั้น
Published 02/21/22
จาก 4 ตอนที่ผ่านมา เราพูดเรื่องการค้าทาสในมุมมองทางฝั่งยุโรปเป็นหลัก สำหรับ Episode นี้ เราจะมาดูในฝั่งของชาวแอฟริกันกันบ้าง ว่าพวกเขามีมุมมองและประสบการณ์อย่างไร ตลอด 300-400 ปีที่เกิดการค้าทาสขึ้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง การเข้ามาของยุโรปเปลี่ยนตลาดค้าทาสของแอฟริกัน คนที่ถูกจับเป็นรทาสต้องพบเจอกับอะไร และสิ่งเลวร้ายต่างๆที่เกิดขึ้นมันเป็นอย่างไร
Published 01/27/22
อังกฤษเข้ามาในวงการค้าทาสได้อย่างไร? ทำไมการเข้ามาในวงการค้าทาสของอักฤษจึงสำคัญ เพราะในเวลาต่อมา อังกฤษจะเปรียบเสมือนผู้เล่นเบอร์หนึ่ง ของพ่อค้าที่ค้าขายทาสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก เรื่องราวเป็นมาอย่างไร ตามมาลงไปในประวัติศาสตร์พร้อมๆกันค่ะ
Published 01/06/22
ในปี คศ. 1470 ปริมาณการบริโภคน้ำตาลของชาวยุโรป เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการค้าทาส ในเวลานั้นเป็นที่รู้กันดีว่า “น้ำตาล” เป็นสินค้าที่มีมูลค้ามหาศาลมากเรียกว่าเป็นทองคำสีขาว การปลูกอ้อยและผลิตน้ำตาลเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานคนจำนวนมหาศาลมาก สุดท้ายสิ่งที่โปรตุเกสทำคือขนแรงงานมาจากที่อื่น รวมไปถึงแรงงานคนผิวดำที่โปรตุเกสซื้อมาจากตลาดค้าทาสในยุโรป และในเวลาต่อมารูปการขนแรงงานทาสในครั้งนี้จะกลายเป็นต้นแบบที่ชาวยุโรปนำไปใช้บนเกาะต่างๆในมหาสมุทรแอตแลนติก จนนำไปสู่สิ่งที่เรารู้จักกันในชื่อว่า...
Published 12/26/21
วันนี้เราจะมาคุยกันเรื่องประวัติศาสตร์การเริ่มต้นของการค้าทาส ยุโรปเข้ามาค้าทาสกันอย่างเป็นเรื่องเป็นราวได้อย่างไร?ไปจนถึงเรื่องของการทำไร่ ปลูกอ้อยเพื่อผลิตน้ำตาล ซึ่งประวัติศาสตร์ของการผลิตน้ำตาลนั้นมาควบคู่ไปกับการใช้แรงงานทาสมาตลอด หรืออาจจะพูดง่ายๆได้ว่า การทำน้ำตาลนั้นมันนำมาสู่การค้าทาสอย่างมากมายมหาศาล เรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้น มาหลงไปในประวัติศาสตร์ไปพร้อมๆกันค่ะ
Published 12/17/21
การค้าทาสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก หรือ Atlantic slave trade อุตสาหกรรมการค้าทาสที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของมนุษย์ชาติที่มีการขนย้ายคนผิวดำจากทวีปแอฟริกามายังทวีปอเมริกาอย่างมหาศาล มากกว่า 10 ล้านคนตลอดระยะเวลากว่า 400 ปี เรื่องราวทั้งหมดเป็นมาอย่างไร และบทสรุปสุดท้ายจนไปถึงการเลิกทาสนั้นเกิดอะไรขึ้น
Published 12/10/21
มาถึงตอนจบของซีรี่ส์นี้กันแล้ว ในตอนที่แล้วเราพูดกันถึงเรื่องของสเปนได้มาค้นพบอาณาจักรอินคาได้อย่างไร วันนี้เราจะมาคุยกันเรื่องทางฝั่งอินคากันบ้าง ทำไมในตอนแรกชาวอินคาถึงไม่สนใจการมาของชาวสเปน ทำไมชาวอินคาจึงต่อสู้กันเอง? และเหตุการณ์ทั้งหมดจะนำไปสู่การล่มสลายของอารยธรรมอันยิ่งใหญ่นี้ได้อย่างไร
Published 11/05/21
หลังจากที่เล่าเรื่องรางการล่มสลายของ Aztec กันไปแล้ว วันนี้เรามาพูดถึงอีกหนึ่งจักรวรรดิโบราณที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ในยุคก่อนโคลัมบัส อย่าง อินคา กันบ้าง ซึ่งทั้งสองเหตุการณ์มีหลายๆอย่างที่คล้ายกัน เกิดขึ้นในเวลาที่ไล่เลี่ยกันมาก การล่มสลายของอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่มาก ที่ล่มสลายลงด้วยการมาเยือนของนักสำรวจชาวสเปนเพียงหลักร้อยคน เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ตามมาหลงไปในประวัติศาสตร์ไปพร้อมๆกันค่ะ
Published 11/03/21
เดินทางมาถึงตอนสุดท้าย ซึ่งเป็นตอนจบของการล่มสลายของ Aztec บทสรุปสุดท้ายของอาณาจักรและอารยธรรมที่รุ่งเรือที่สุดแห่งหนึ่งของโลกยุคโบราณจะจบลงอย่างไร ตามมาหลงไปในประวัติศาสตร์ไปด้วยกันค่ะ
Published 08/27/21
คอร์เตสและเหล่า conquistador ของเขาก็เดินทางมาถึงเมือง Tenochtitlan ที่ในเวลานั้นเป็นเมืองที่ใหญ่ร่ำรวยและสวยงามที่สุดในทวีปอเมริกา แต่เมืองใหญ่ที่มีอารยธรรมมายาวนาน 200 กว่าปีนี้ กำลังจะล่มสลายลงด้วยการมาของชาวยุโรป ราวๆเพียงแค่ 50 กว่าคน พวกเขาทำได้อย่างไร ตามมาหาคำตอบไปด้วยกันค่ะ
Published 08/26/21