Episodes
ปฏิเสธไม่ได้ว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีบางอย่างก็มาพร้อมกับสงครามและความรุนแรง  เราอาจเคยเห็นตัวอย่างเครื่องถอดรหัส ‘อีนิกมา’ ของ อลัน ทัวริง ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ท้ายสุดถูกพัฒนามาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปทำความรู้จักกับ ‘เครื่องบินรบล่องหน’ หรือ ‘Stealth Aircraft’ ยุทโธปกรณ์ที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายในสงครามยุคปัจจุบัน คำว่า ‘ล่องหน’ ในที่นี้ ล่องหนอย่างไร มีพัฒนาการมาแบบไหน...
Published 11/24/23
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปทำความรู้จักกับ ‘อัตโตวินาที’ ความเร็วระดับ ‘1 ล้านล้านล้าน’ ส่วนของ 1 วินาที ความเร็วเหนือจินตนาการ เร็วจนได้รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ปี 2023 นักฟิสิกส์ค้นพบความเร็วระดับนี้ได้อย่างไร มันเอาไปทำอะไรได้บ้าง แล้วทำไมการค้นพบครั้งนี้ถึงเป็นอีกก้าวสำคัญที่พลิกโฉมวงการวิทยาศาสตร์จนเป็นที่มาของการได้รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์? หาคำตอบได้ในเอพิโสดนี้ ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE...
Published 11/17/23
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปทำความรู้จักกับ ‘ดาวพฤหัสบดี’ พี่ใหญ่ของระบบสุริยะ ดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 5 และมีดวงจันทร์บริวารถึง 95 ดวง! ทำไมดาวพฤหัสบดีถึงเป็นเครื่องดูดฝุ่นของระบบสุริยะ? ทำไมยานอวกาศถึงต้องบินไปโฉบดาวพฤหัสบดีก่อนไปต่อ? ความน่าสนใจของดวงจันทร์ 4 ดวงแรกที่ถูกค้นพบคืออะไร? เรามีโอกาสจะค้นพบสิ่งมีชีวิตบนดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีหรือไม่? หาคำตอบได้ในเอพิโสดนี้ ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ...
Published 11/10/23
‘อะไรเล็กที่สุดในจักรวาล’ คือสิ่งที่ถามกันมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ การค้นพบอะตอม นิวเคลียส จนถึงอิเล็กตรอน โปรตอน นิวตรอน และอนุภาคเล็กๆ อีกมากมาย ทำให้นักฟิสิกส์ในยุคหนึ่งเชื่อว่าพวกมันคือสิ่งที่เล็กที่สุด ทว่าปัจจุบันเราพบว่าอนุภาคเหล่านั้นส่วนใหญ่ไม่ใช่อนุภาคมูลฐาน หรืออนุภาคที่เล็กที่สุด  รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปทำความรู้จัก ‘Standard Model’ หรือแบบจำลองมาตรฐาน ค้นหาอนุภาคที่เล็กที่สุดเท่าที่ค้นพบได้ ณ...
Published 11/03/23
“โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด” สเกลโน้ตที่ไม่ว่าใครก็ต้องคุ้นหู แล้วเราเคยสงสัยไหมว่า ตัวโน้ตเหล่านี้มีที่มาจากไหน เริ่มมีตั้งแต่เมื่อไร แล้วทำไมต้องเป็นเสียงเหล่านี้  รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปทำความรู้จัก ‘ดนตรี’ ในโลกของฟิสิกส์ เล่าที่มาของตัวโน้ต และคำอธิบายว่าทำไมเครื่องดนตรีบางอย่าง เช่น กีตาร์ หรือไวโอลิน ต้องมีรู  ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
Published 10/27/23
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปทำความรู้จัก ‘สัมพัทธภาพทั่วไป’ ทฤษฎีเกี่ยวกับความโน้มถ่วงที่คิดค้นโดย อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์ชื่อดัง ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปคืออะไร ทำไมจึงสามารถอธิบายในสิ่งที่ทฤษฎีความโน้มถ่วงแบบนิวตันทำไม่ได้ ทฤษฎีนี้ช่วยเราทำความเข้าใจเอกภพในมุมใหม่ได้อย่างไร แล้วทำไมจึงเป็นทฤษฎีที่พลิกมุมมองการทำความเข้าใจเอกภพไปตลอดกาล ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
Published 10/20/23
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปทำความรู้จัก ‘เทอร์โมไดนามิกส์’ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับ ‘ความร้อน’ ที่ยิ่งรู้จักอาจยิ่งทำให้รู้สึกว่าการนิยามคำว่า ‘อุณหภูมิ’ นั้นไม่ง่ายเลย   ทำไมเราถึงสร้างมาตรฐานของอุณหภูมิยาก ความซับซ้อนของเทอร์โมไดนามิกส์คืออะไร ทำไมจนถึงตอนนี้คำถามเรื่องอุณหภูมิยังเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถหาคำตอบได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
Published 10/13/23
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปทำความรู้จัก ‘คลื่นเสียง’ ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการรับรู้โลกของพวกเรารวมถึงสัตว์ทุกชนิด หาคำตอบว่าเสียงคืออะไร คุณสมบัติของเสียงเป็นอย่างไร ทำไมหากเราเคลื่อนที่ออกจากจุดกำเนิดเสียงเราจะได้ยินเสียงทุ้มลงเรื่อยๆ ในอวกาศมีเสียงหรือไม่ และกลไกน่ามหัศจรรย์ของค้างคาวในการปล่อยคลื่นเสียงเพื่อช่วยในการมองเห็นคืออะไร  ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
Published 10/06/23
“คาดว่าเสียชีวิตมาไม่ต่ำกว่า…ชั่วโมง” ประโยคคุ้นหูในการ์ตูนหรือภาพยนตร์นักสืบเมื่อเกิดเหตุฆาตกรรม ที่ตามมาด้วยการตรวจสอบศพเพื่อหาหลักฐานและสันนิษฐานเวลาเสียชีวิต รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไป ‘สืบจากศพ’ หาหลักฐานเวลาเสียชีวิตด้วยหลักฟิสิกส์ ดูร่องรอยต่างๆ จากศพ ทั้งการแข็งตัว การเย็นตัว รอยจ้ำเลือด จนถึงกระเพาะอาหารและดวงตา แม้ฆาตกรจะพยายามปกปิดหลักฐาน อำพรางศพ หรือใช้กลเม็ดใด ก็ไม่อาจหนีพ้นสัจธรรมของฟิสิกส์ได้ เพราะความจริงมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น! ดำเนินรายการโดย...
Published 09/29/23
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปทำความรู้จัก ‘4 แรงพื้นฐาน’ ได้แก่ แรงโน้มถ่วง, แรงแม่เหล็กไฟฟ้า, แรงอย่างอ่อน และแรงอย่างเข้ม ทั้ง 4 แรงนี้คืออะไร ถูกค้นพบได้อย่างไร แล้วทำไมยิ่งนักวิทยาศาสตร์ศึกษา ยิ่งค้นพบว่ายังไม่สามารถเข้าใจมันได้อย่างถ่องแท้  แถมเมื่อเร็วๆ นี้ กระแสการค้นพบหลักฐานการมีอยู่ของ ‘แรงพื้นฐานที่ 5’ ก็ดูเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นอยู่ไม่น้อยสำหรับแวดวงวิทยาศาสตร์ แรงที่ว่านี้คืออะไร น่าตื่นเต้นแค่ไหน หาคำตอบได้ในเอพิโสดนี้ ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ...
Published 09/22/23
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปทำความรู้จัก ‘สุญญากาศ’ ที่เราอาจพอรู้จักกันบ้างในแง่ของ ‘ที่ว่างที่ปราศจากอากาศ’ แต่รู้หรือไม่ว่า ความจริงแล้วในสุญญากาศนั้นมีอะไรให้เราศึกษามากกว่าคิด สุญญากาศถูกค้นพบได้อย่างไร มีการต่อยอดและนำไปใช้ประโยชน์ต่ออย่างไร แล้วทำไมมันจึงเป็น ‘ที่ว่างที่ไม่ว่าง’ หาคำตอบได้ในเอพิโสดนี้ ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
Published 09/15/23
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปทำความรู้จัก ‘คลื่นวิทยุ’ คลื่นที่อยู่รอบตัวเราแต่ไม่อาจมองเห็น  คลื่นวิทยุมาจากไหน ค้นพบได้อย่างไร จนนำมาสู่การใช้ประโยชน์ได้มหาศาลในทุกวันนี้ แล้วคลื่นวิทยุอย่าง AM และ FM ต่างกันอย่างไร หาคำตอบได้ในเอพิโสดนี้ ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
Published 09/08/23
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปทำความรู้จัก ‘อุกกาบาต’ วัตถุปริศนาจากอวกาศที่พลัดหลงมาสู่พื้นโลก อุกกาบาตคืออะไร เป็นต้นเหตุให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์จริงหรือ แล้วมันมีโอกาสที่จะพุ่งชนโลกอีกหรือไม่ในอนาคต หาคำตอบได้ในเอพิโสดนี้ ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
Published 09/01/23
รวมประวัติชีวิตและตัวตนเบื้องหลังนักวิทยาศาสตร์ชื่อดัง ผู้บุกเบิกทฤษฎีและค้นพบความเป็นไปได้ใหม่ๆ พร้อมทำความเข้าใจแนวคิดสำคัญ ไล่ตั้งแต่ กาลิเลโอ ผู้วางรากฐานวิทยาศาสตร์สมัยใหม่, ไอน์สไตน์ ผู้ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป, โรเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ รวมทั้งนักฟิสิกส์ระดับหัวกะทิอีกหลายคน กับโครงการแมนแฮตตันและระเบิดนิวเคลียร์, อลัน ทัวริง กับเครื่องอินิกมาอันโด่งดัง และจุดจบชีวิตที่น่าเศร้า ต่อด้วย ไมเคิล ฟาราเดย์ ผู้บุกเบิกพลังงานไฟฟ้า และ สตีเฟน ฮอว์คิง...
Published 08/25/23
ไม่นานมานี้มีข่าวใหญ่ที่ทำให้ชาวโลกตื่นตระหนกกันอีกครั้ง นั่นคือการเฝ้าระวังผลกระทบของ ‘พายุสุริยะ’ ที่อาจทำให้ระบบสื่อสารทั่วโลกล่มสลาย รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปหาคำตอบว่า ‘พายุสุริยะ’ คืออะไร แล้วมันส่งผลต่อระบบสุริยะ รวมถึงโลกของเราในแง่ไหนบ้าง ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
Published 08/18/23
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปสำรวจความเป็นไปได้ของการย้ายไปอยู่บน ‘ดาวอังคาร’ ไล่ตั้งแต่คุณสมบัติพื้นฐานของดาวดวงนี้ ตัวแปรที่น่ากังวล จนถึงโปรเจกต์สุดล้ำของเจ้าพ่อเทคโนโลยีอย่างอีลอน มัสก์ ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
Published 08/11/23
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปสำรวจวิธีคิดเบื้องหลังการสร้างระเบิดปรมาณู รวมถึงบทบาทในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ของนักฟิสิกส์ชื่อดัง ทั้ง โรเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ และ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์  ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
Published 08/04/23
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปสำรวจชีวิตของ อลัน ทัวริง หรือ ‘บิดาแห่งคอมพิวเตอร์’ ตั้งแต่พื้นเพและความอัจฉริยะในวัยเด็ก เบื้องหลังและกลไกการถอดรหัสลับนาซี จนถึงชีวิตบั้นปลายที่จบลงอย่างเป็นปริศนา พร้อมชวนจินตนาการว่า ถ้าวันนั้นไม่มีอลัน ทัวริง โลกวันนี้จะเป็นอย่างไร? ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
Published 07/28/23
รู้หรือไม่ว่า หลายปรากฏการณ์ที่ดูเหมือนจะเป็น ‘วิทยาศาสตร์’ แท้จริงแล้วอาจเป็นเรื่องหลอกลวง ไกลห่างจากหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้ รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ ชวนสำรวจและแยกแยะความต่างระหว่าง ‘วิทย์แท้’ และ ‘วิทย์เทียม’ ตั้งแต่การคิดค้นเครื่องจักรนิรันดร์ สัตว์ประหลาดยุคดึกดำบรรพ์ มนุษย์ต่างดาว แท่งเหล็กปริศนา ไปจนถึงการรักษาโรคด้วยวิธีแปลกๆ ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
Published 07/21/23
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปไขข้อสงสัยเกี่ยวกับ ‘การเล่นแร่แปรธาตุ’ ที่มีประวัติศาสตร์ย้อนไปนานตั้งแต่สมัยก่อนคริสตกาล เหตุใดคนยุคโบราณจึงสนใจการเล่นแร่แปรธาตุ คนยุคต่อมามีการศึกษาทดลองเรื่องนี้อย่างไร แล้วในแง่วิทยาศาสตร์สามารถทำได้จริงหรือไม่ ติดตามได้ในเอพิโสดนี้  ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
Published 07/14/23
เคยสงสัยไหมว่า เรามีวิธีศึกษา ‘ทางช้างเผือก’ รวมถึงกาแล็กซีอื่นๆ อย่างไร ลักษณะกาแล็กซี่ที่เห็นเป็นรูปกังหันถูกบันทึกด้วยอะไร ทั้งที่เรายังไม่สามารถส่งยานอวกาศออกไปไกลขนาดนั้นได้       รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปปูพื้นฐานเกี่ยวกับกาแล็กซี พร้อมสำรวจกายวิภาคของกาแล็กซีทางช้างเผือกที่เราอาศัยอยู่  ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
Published 07/07/23
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปสำรวจกลไกของเตาอบ ‘ไมโครเวฟ’ ว่าเหตุใดคลื่นที่มองไม่เห็นจึงเปลี่ยนเป็นความร้อนได้ แล้วทำไมจานรองอาหารด้านในถึงต้องหมุนตลอดเวลา?   ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
Published 06/30/23
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ ส่งท้าย Pride Month ด้วยการพาไปทำความรู้จัก ‘นักวิทยาศาสตร์สตรี’ ที่สร้างผลงานเปลี่ยนโลก แต่โลกกลับไม่ค่อยรู้จักพวกเธอเท่าไรนัก ไม่ใช่เพราะพวกเธอไม่เก่ง แต่เพราะในยุคสมัยหนึ่ง วงการวิทยาศาสตร์แทบไม่เปิดโอกาสให้แสงส่องถึงพวกเธอเลย ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
Published 06/23/23
รู้หรือไม่ว่า ทฤษฎี Butterfly Effect ที่หลายคนหลงใหล รวมถึงวลี ‘เด็ดดอกไม้ สะเทือนถึงดวงดาว’ มีต้นตอมาจากการพยากรณ์อากาศที่คลาดเคลื่อน! รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปทำความเข้าใจว่า ที่มาที่ไปของทฤษฎีนี้คืออะไร แล้วเหตุใดเมื่อผีเสื้อกระพือปีกในซีกโลกหนึ่ง จึงส่งผลให้เกิดพายุใหญ่ในอีกซีกโลกหนึ่งได้  ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
Published 06/16/23