Episodes
เวลาหลงทางอยู่กลางป่า หากไม่มีเข็มทิศ สิ่งที่จะช่วยบอกทิศเราได้ก็คือ ‘ดาวเหนือ’ แต่เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ นอกจากจะไม่ทราบว่าดาวเหนืออยู่ตรงไหนแล้ว ยังไม่ทราบด้วยว่า ดาวเหนือไม่ได้มีแค่ดวงเดียว!      รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปรู้จักดาวเหนือในมุมที่เหนือความคาดหมาย  ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
Published 06/09/23
“สั้นเว้า ยาวนูน” เชื่อว่าหลายคนเคยท่องคำนี้ตอนเรียนคาบวิทยาศาสตร์  แต่เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมเลนส์แว่นตาที่เราใช้กันอยู่ ไม่ว่าสำหรับสายตาแบบไหน จึงเป็นเลนส์บางๆ ที่มีลักษณะไม่ต่างกันมากนัก รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปรู้จักเบื้องหลังการทำงานของเลนส์ ตั้งแต่กล้องจุลทรรศน์ยันแว่นสายตา ว่ามีกลไกการทำงานแบบไหน และเกี่ยวข้องกับการหักเหแสงอย่างไร ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
Published 06/02/23
เชื่อหรือไม่ว่า สสารและอนุภาคที่เรารู้จักกันดีในปัจจุบัน คิดเป็นเพียง 5% เท่านั้นของมวลสสารทั้งหมดในเอกภพ  ขณะที่ ‘สสารมืด’ ที่หลายคนสนใจศึกษา แม้จะมองไม่เห็น จับต้องไม่ได้ แต่หลายทฤษฎีชี้ตรงกันว่ามันมีอยู่จริง  รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปหาคำตอบว่าสสารที่ว่านี้คืออะไร ทำไมจึงเต็มไปด้วยความลึกลับ ซับซ้อน ย้อนแย้ง ทำนองว่ายิ่งศึกษา ยิ่งพบว่ามีแต่ความไม่รู้! ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
Published 05/26/23
จะเป็นอย่างไรหากเราย้ายไปอยู่บนดาวที่เวลา 1 วัน ยาวนานกว่า 1 ปี? ฟังดูประหลาด แต่นั่นคือธรรมชาติของ ‘ดาวศุกร์’ ดาวเคราะห์เพื่อนบ้านของเราที่มีคุณสมบัติแปลกๆ นับไม่ถ้วน ตั้งแต่พายุฝนกรด การหมุนรอบตัวเองแบบอินดี้ ภูเขาไฟที่รอวันปะทุ จนถึงอุณหภูมิอันร้อนรุ่มดั่งนรก รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปสำรวจดาวศุกร์ในมุมที่หลายคนไม่เคยรู้จัก ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
Published 05/19/23
ช่วงที่ผ่านมาบิลค่าไฟน่าจะทำให้ใครหลายคนปวดหัว แต่รู้หรือไม่ว่า ย้อนไปก่อนหน้านี้ 200 ปี มนุษย์เรายังคิดวิธีผลิตไฟฟ้าไม่ได้ด้วยซ้ำ! รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปดูจุดกำเนิดและวิวัฒนาการของ ‘ไฟฟ้า’ พลังงานเปลี่ยนโลกที่บุกเบิกโดย ไมเคิล ฟาราเดย์ นักฟิสิกส์คนสำคัญแห่งยุคสมัย  ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
Published 05/12/23
คดีฆาตกรรมกำลังเป็นข่าวใหญ่ ว่าแต่ ‘ฟิสิกส์’ ช่วยพิสูจน์อะไรได้บ้าง? คำตอบคือช่วยได้แน่นอน ตั้งแต่การตรวจสอบวิถีกระสุน ร่องรอยบาดแผล จนถึงลักษณะของคราบเลือดในที่เกิดเหตุ รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปเจาะลึกการสังเกต ‘เลือด’ ในคดีฆาตกรรม ว่าหยดเลือดและคราบเลือดแต่ละแบบนั้น บอกอะไรเราได้บ้าง และมันสามารถอำพรางได้จริงหรือ ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
Published 05/05/23
เคยสงสัยกันไหมว่า ถ้าโลกนี้ไม่มี ‘น้ำ’ ชีวิตเราหรือสรรพสิ่งต่างๆ บนโลกนี้จะแตกต่างหรือผิดเพี้ยนไปจากเดิมหรือไม่ อย่างไร? แล้วเหตุใดสิ่งที่หาได้ทั่วไปบนโลกของเรา จึงกลายเป็นสิ่งล้ำค่าที่หายากนักบนดาวดวงอื่น  รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปสำรวจความมหัศจรรย์ของ ‘น้ำ’ สารประกอบใสๆ ที่มีคุณสมบัติที่ไม่เหมือนใคร พร้อมเหตุผลเบื้องหลังในการค้นหาแหล่งน้ำใหม่ๆ บนดาวที่ไกลออกไป       ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา...
Published 04/28/23
ในหนังสือ A Brief History of Time สตีเฟน ฮอว์คิง เขียนข้อความไว้ท้ายเล่มว่า “หากทฤษฎีที่ใช้อธิบายทุกสรรพสิ่ง (Theory of Everything) ถูกสร้างขึ้นมาได้สำเร็จ มันอาจทำให้มนุษย์เข้าใจจิตใจของพระเจ้าได้” แม้จะลาลับไปหลายปีแล้ว แต่หลายสิ่งที่ฮอว์คิงทิ้งไว้ยังคงเป็นเชื้อไฟให้คนรุ่นใหม่ๆ หันมาสนใจวิทยาศาสตร์มากขึ้น ทว่านอกเหนือจากความฉลาดปราดเปรื่อง เรื่องชีวิตของเขาก็น่าสนใจไม่แพ้กัน โดยเฉพาะการฝ่าฟันกับอุปสรรคทางร่างกาย จนกลายเป็นอัจฉริยะในที่สุด รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้...
Published 04/21/23
หลังเว้นว่างไปสองสัปดาห์ รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ ได้เวลาคัมแบ็กอีกครั้ง พร้อมเอพิโสดที่ทีมงานพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ‘เป็นหนึ่งในตอนที่ท้าทายและเปิดโลกที่สุด’ ความเดิมตอนที่แล้ว เราได้ปูพื้นฐาน ‘ทฤษฎีควอนตัม’ ไปแล้วกันแบบหอมปากหอมคอ พร้อมทิ้งปมไว้ว่ามีการทดลองหนึ่งเกี่ยวกับหลักควอนตัมที่ยังถูกพูดถึงจนวันนี้ การทดลองนั้นมีชื่อว่า ‘แมวของชโรดิงเจอร์’ การทดลองที่ว่านี้คืออะไร แมวเกี่ยวข้องอย่างไรกับควอนตัม ร่วมหาคำตอบไปพร้อมๆ กันในเอพิโสดนี้ ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์...
Published 04/14/23
นานมาแล้วนักฟิสิกส์เคยเชื่อว่าแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับกลศาสตร์ที่พวกเขาคิดค้นขึ้นมาสามารถใช้อธิบายทุกสรรพสิ่งได้ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะใหญ่หรือเล็กแค่ไหน ทว่านั่นเป็นความเข้าใจผิดมหันต์ เมื่อนักฟิสิกส์รุ่นหลังหันมาศึกษาสิ่งเล็กๆ ในระดับอนุภาค ก่อนจะพบว่ามันไม่สามารถใช้กรอบทฤษฎีที่มีอยู่ได้อีกต่อไป นั่นคือจุดที่ทำให้เกิดการต่อยอดทฤษฎีใหม่ที่เรียกว่า ‘ควอนตัมฟิสิกส์’ เป็นทฤษฎีที่พลิกมุมมองจากหน้ามือเป็นหน้ามือ เหนือจินตนาการ ก่อนจะกลายเป็นรากฐานการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่    รายการ ใดๆ...
Published 03/31/23
ในช่วงเวลาที่คนทั่วไปเริ่มหันมาสนใจ ‘กลศาสตร์ควอนตัม’ มากขึ้น ในฐานะองค์ความรู้สำคัญที่มีส่วนช่วยพลิกโฉมโลกปัจจุบันและอนาคต ย้อนกลับไปไม่กี่ร้อยปีก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์แห่งยุคสมัยอย่าง กาลิเลโอ และ เซอร์ไอแซก นิวตัน ต่างมีบทบาทสำคัญในการคิดค้น ‘กลศาสตร์คลาสสิก’ ที่ว่าด้วยกฎพื้นฐานเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ อันเป็นรากฐานสำคัญของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปหาคำตอบว่ากลศาสตร์คลาสสิกที่ว่านี้คืออะไร...
Published 03/24/23
เคยสงสัยกันไหมว่า ถ้าโลกนี้ไม่มี ‘แบตเตอรี่’ การใช้ชีวิตประจำวันของเราจะเปลี่ยนไปแค่ไหน? รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปทำความรู้จักสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดจากการผสมผสานองค์ความรู้ด้านฟิสิกส์และเคมี ทำหน้าที่กักเก็บและผลิตกระแสไฟฟ้า ไล่ตั้งแต่ต้นกำเนิดในยุคโบราณ วิวัฒนาการในยุคหลัง จนถึงกลไกต่างๆ ที่ทำให้มันกลายเป็นเทคโนโลยีที่มนุษย์ขาดไม่ได้ ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
Published 03/17/23
พูดถึงแรงโน้มถ่วง หลายคนน่าจะนึกถึงการค้นพบของ เซอร์ไอแซก นิวตัน กับลูกแอปเปิ้ลที่ตกใส่หัว (ซึ่งบางตำราบอกว่านั่นเป็นเพียงแค่เรื่องเล่า!) ย้อนไปก่อนหน้านั้น มนุษย์เราสนใจศึกษาแรงประเภทนี้มานานแล้ว ทว่าคอนเซปต์ที่นักวิทยาศาสตร์ยุคแรกๆ เสนอไว้ ถือว่าต่างจากทฤษฎีในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้พาไปทำความรู้จักกับ ‘แรงโน้มถ่วง’ หนึ่งในแรงพื้นฐานที่ทำให้นักฟิสิกส์ปวดหัวมาทุกยุคสมัย เพราะแม้มันจะดูใกล้ตัว แต่ก็ยังมีปริศนาอีกหลายข้อที่หาคำตอบไม่ได้ ดำเนินรายการโดย...
Published 03/10/23
เคยสงสัยกันไหมว่า จักรวาลที่เราดำรงอยู่นั้นเป็นจักรวาลเพียงหนึ่งเดียว หรือเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของจักรวาลอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือการรับรู้อันจำกัดของมนุษย์ แนวคิดเกี่ยวกับ ‘มัลติเวิร์ส’ ที่เราเห็นในภาพยนตร์ไซไฟหรือนิยายวิทยาศาสตร์ มีหลักฐานและทฤษฎีรองรับหรือไม่ หรือเป็นเพียงจินตนาการที่ไร้ข้อพิสูจน์ รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปสำรวจแนวคิด ‘มัลติเวิร์ส’ ที่คาบเกี่ยวทั้งในเชิงฟิสิกส์และปรัชญา พร้อมชวนคิดไปพร้อมๆ กันว่า...
Published 03/03/23
เมื่อพูดถึง ‘ทฤษฎีสัมพัทธภาพ’ คนทั่วไปที่ไม่ได้เรียนสายวิทยาศาสตร์ อาจนึกภาพไม่ออกว่ามันสำคัญอย่างไร ใช้ศึกษาเรื่องอะไรบ้าง แล้วเหตุใดจึงถูกยกให้เป็นหนึ่งในทฤษฎีที่ปฏิวัติวงการวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ยิ่งไปกว่านั้น ทฤษฎีที่ว่านี้ หากแยกแยะกันจริงๆ มีถึง 3 เวอร์ชันด้วยกันคือ ทฤษฎีสัมพัทธภาพแบบคลาสสิก ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ และทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ ขอปูพื้นฐานด้วยการพาไปทำความรู้จัก ‘ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ’ รวมถึงสมการพลิกโลก E = mc2...
Published 02/24/23
ตอนเด็กๆ หลายคนอาจเคยเรียนมาว่า ดาวที่กะพริบอยู่บนฟ้านั้นคือดาวฤกษ์ ส่วนดาวที่แสงนิ่งๆ คือดาวเคราะห์ แต่ถ้าว่ากันตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว ถือว่าไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะหากสังเกตดีๆ จะพบว่า แสงจากดาวเคราะห์บางดวงก็กะพริบได้เหมือนกัน! รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปหาคำตอบว่า แสงระยิบระยับที่เรามองเห็นยามค่ำคืนนั้นเกิดจากอะไร ทำไมดาวบางดวงถึงไม่กะพริบ และมีเรื่องไหนเกี่ยวกับแสงดาวที่เราเคยเข้าใจแบบผิดๆ กันบ้าง
Published 02/17/23
ทุกวันนี้เราพบเห็น ‘เลเซอร์’ ได้ในชีวิตประจำวัน มันแฝงอยู่ในสิ่งของใกล้ตัวอย่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสร้างสีสันในผับ-บาร์ มีพลังงานและความแม่นยำสูงจนวงการแพทย์นำไปใช้ในการผ่าตัด และอื่นๆ อีกมากมาย แต่ตลกร้ายคือ ตอนที่นักฟิสิกส์คิดค้นกลไกของเลเซอร์ได้นั้น เขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะนำมันไปใช้ประโยชน์อย่างไร! รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ ชวนย้อนที่มาที่ไปและกลไกของเลเซอร์ อุปกรณ์ให้กำเนิดแสงที่มีส่วนพลิกโลกอย่างมหาศาล...
Published 02/10/23
เคยสงสัยกันไหมว่า ‘แสง’ มีคุณสมบัติอย่างไร เป็นอนุภาค เป็นคลื่น หรือเป็นอะไรกันแน่ ทำไมเราจึงมองเห็นแต่จับต้องไม่ได้ หากนึกไม่ออก ไม่ต้องกังวลไป เพราะบรรดานักฟิสิกส์ทั้งหลายต่างก็เคยปวดหัวกับคำถามนี้มาแล้ว! รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปหาคำตอบว่าแสงคืออะไร มีคุณสมบัติอย่างไร และการศึกษาค้นคว้าเรื่องแสงตั้งแต่อดีตเรื่อยมานั้น ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของเราทุกวันนี้อย่างไร
Published 02/03/23
รู้หรือไม่ว่า ของขวัญชิ้นหนึ่งที่เด็กชาย ‘อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์’ ได้รับในวัย 5 ขวบ คือสิ่งประดิษฐ์เล็กๆ ที่เรียกว่า ‘เข็มทิศ’ ว่ากันว่านั่นคือครั้งแรกๆ ที่จุดประกายความสงสัยใคร่รู้เกี่ยวกับธรรมชาติ รวมถึงความเป็นนักฟิสิกส์ในตัวเขา เมื่อเข้าสู่วัยทำงาน งานแรกๆ ที่ไอน์สไตน์ทำ คือการเป็นพนักงานจดสิทธิบัตรที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และสิ่งประดิษฐ์ที่เขาคลุกคลีอยู่เสมอก็คือ ‘นาฬิกา’ ว่ากันว่านั่นอาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขาสนใจความลี้ลับของเวลา รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้...
Published 01/27/23
ในทางฟิสิกส์ ‘เวลา’ ถือเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญในการคิดคำนวณปรากฏการณ์ต่างๆ โดยสิ่งประดิษฐ์สำคัญที่ทำให้เวลาสามารถจับต้องและวัดค่าได้ ก็คือ ‘นาฬิกา’ นั่นเอง ทั้งนี้ หากย้อนไปในอดีต รูปลักษณ์และกลไกของนาฬิกาไม่ได้มีหน้าตาอย่างที่เราคุ้นเคยกันทุกวันนี้ โดยหนึ่งในนาฬิกาที่มีบทบาทพลิกโลกคือ Marine Chronometer นาฬิการูปร่างประหลาดที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อการเดินเรือสำรวจโลกโดยเฉพาะ รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปย้อนดูวิวัฒนาการของนาฬิกาในแต่ละยุค ตั้งแต่นาฬิกาแดด นาฬิกาลูกตุ้ม...
Published 01/20/23
เมื่อพูดถึงคำว่า ‘เวลา’ คุณนึกถึงอะไร? ใครบางคนอาจนึกถึงนาฬิกา บางคนอาจนึกถึงการรอคอย และบางคนอาจนึกถึงวลีทำนองว่า “เราทุกคนต่างมีเวลาเท่าๆ กัน” ทว่าในทางฟิสิกส์นั้น เวลาของทุกคนและทุกสรรพสิ่งในเอกภพอาจไม่เท่ากันเสมอไป ขึ้นอยู่กับ ‘ความเร็วในการเคลื่อนที่’ และ ‘แรงโน้มถ่วง’ ณ จุดนั้น ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปสำรวจความลึกลับซับซ้อนของสิ่งที่เรียกว่า ‘เวลา’ ตั้งแต่ความเข้าใจพื้นฐาน ข้อถกเถียงเกี่ยวกับเวลาในทางฟิสิกส์และปรัชญา...
Published 01/13/23
เคยสงสัยกันไหมว่า ‘ระบบสุริยะ’ ของเรานั้น มีขอบเขตสิ้นสุดตรงจุดไหน เหตุใดจู่ๆ ดาวพลูโตที่เคยถูกนับเป็นหนึ่งในดาวเคราะห์จึงถูกลดสถานะ และเมื่อพ้นไปจากระบบสุริยะ เราจะเจอกับอะไรบ้าง? ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปทำความรู้จัก ‘ระบบสุริยะ’ แบบประชิด ในฐานะที่มันเป็นเสมือน ‘บ้าน’ ของพวกเราในจักรวาลอันไพศาล ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD
Published 01/06/23
หลายต่อหลายครั้ง การค้นพบอันยิ่งใหญ่ของโลกใบนี้ ก็มีจุดเริ่มต้นจากคำถามที่เรียบง่าย หนึ่งในนั้นคือคำถามที่ว่า ทำไมท้องฟ้าที่เราเห็น จึงเป็นสีฟ้า? เชื่อหรือไม่ว่า ภาพที่เราเห็นชินตาอยู่ทุกวัน คือการเห็นท้องฟ้าตอนกลางวันเป็นสีฟ้า ตอนพระอาทิตย์ขึ้นและตกเป็นสีแสด และตอนกลางคืนเป็นสีมืดดำ กลับมีเหตุผลทางธรรมชาติอันลึกล้ำกว่าที่ใครคาดคิด ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างสีสันบนท้องฟ้า แสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องผ่านชั้นบรรยากาศ จนถึงกลไกในดวงตาของมนุษย์ ดำเนินรายการโดย...
Published 12/23/22
แม้ว่า ‘ดาวเสาร์’ จะเป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 6 ในระบบสุริยะ ซึ่งว่ากันตามตรงแล้ว ด้วยระยะทางถือว่ามันห่างไกลโลกของเรายิ่งนัก แต่เหตุใดนักดาราศาสตร์จำนวนไม่น้อยจึงให้ความสนใจในการศึกษาดาวดวงนี้อย่างเอาจริงเอาจัง ว่ากันว่าเหตุผลหนึ่งเป็นเพราะ ‘วงแหวน’ ของมันที่มีเสน่ห์เย้ายวน ชวนให้ค้นหาคำอธิบายว่ามันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร แล้วทำไมดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ จึงไม่มีวงแหวนที่ยิ่งใหญ่อลังการแบบนี้ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปสำรวจดาวเสาร์ในแง่มุมที่เราพอจะหาคำตอบได้ในปัจจุบัน พร้อมไขข้อข้องใจว่า...
Published 12/16/22
นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์คนหนึ่งกล่าวไว้ว่า “ไม่แน่ใจว่าสิ่งใดน่ากลัวกว่ากัน ระหว่างการค้นพบสัญญาณสิ่งมีชีวิตนอกโลก กับการไม่พบอะไรเลย” เคยไหมที่มองขึ้นไปท้องฟ้า แล้วสงสัยว่าในความเวิ้งว้างว่างเปล่านั้น มีเผ่าพันธุ์อื่นๆ ที่ดำรงอยู่ร่วมเอกภพกับเราอีกไหม ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปสำรวจสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า ‘มนุษย์ต่างดาว’ รวมถึง ‘UFO’ ที่ยังคงหาข้อพิสูจน์ชัดเจนไม่ได้ว่ามีอยู่จริงหรือไม่ พร้อมหาคำตอบว่า การที่ชีวิตหนึ่งจะถือกำเนิดขึ้นมาได้นั้น...
Published 12/09/22