Episodes
‘ข่าวอาชญากรรม’ มักเป็นข่าวที่ได้รับความนิยมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทุกสื่อต่างนำเสนอข่าวอาชญากรรมแทบจะทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นข่าวทะเลาะวิวาท ปล้น ชิง ฆ่า ลักทรัพย์ แต่ที่ผ่านมาผู้ชมและคนทำงานด้านสื่อมวลชนก็เริ่มตั้งคำถามถึง ‘การละเมิดสิทธิในการนำเสนอข่าวอาชญากรรม’ มากขึ้น ส่งผลให้การทำงานสื่อก็ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา.อลงกรณ์ เหมือนดาว บรรณาธิการรายการข่าวสามมิติ และอดีตบรรณาธิการข่าวอาชญากรรม สถานีโทรทัศน์ไอทีวี...
Published 04/30/24
Published 04/30/24
ท่ามกลางภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา พฤติกรรมของผู้ชมก็เปลี่ยนไปไม่ต่างกัน วิดีโอกลายเป็นอีกหนึ่งในรูปแบบสื่อที่ได้รับความนิยมมากขึ้น ไม่ว่ารูปแบบของสื่อจะเปลี่ยนไปแค่ไหน แต่หน้าที่ของสื่อที่ต้องร่วมตอบคำถามของสังคมก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิม เพราะมนุษย์ต่างมีเรื่องสงสัยมากมายและหลากหลายอย่างมาก ตั้งแต่ ‘A-Z ในภาษาอังกฤษมาจากไหน?’ ไปจนถึง ‘เรื่องราวเกี่ยวกับมาตรา 112’ เพจ ‘พูด’ มักเลือกตอบคำถามเหล่านั้นมาตอบด้วยท่าทีสนุกสนาน ทำให้งานหลายๆ ชิ้นของเพจ ‘พูด’ ได้รับความสนใจอย่างมาก...
Published 04/04/24
ในยุคที่มีทั้งสื่อโทรทัศน์และสื่อออนไลน์ ส่งผลให้สื่อมีบทบาท วิธีคิด และวิธีการทำงานแตกต่างกัน กาย-พงศ์เกษม สัตยาประเสริฐ ปัจจุบันเขาเป็นผู้ประกาศข่าวที่ Thairath TV ตลอดระยะเวลาเกือบสิบปีที่ผ่านมาเขาเคยทำงานหน้าจอทั้งสื่อโทรทัศน์ และสื่อออนไลน์อย่าง Voice TV นอกจากบทบาทการเป็นผู้ประกาศข่าว กาย-พงศ์เกษม สัตยาประเสริฐ ยังเคยก้าวเท้าเข้าสู่วงการการเมืองไทยในฐานะโฆษกของพรรคไทยรักษาชาติ โดยบอกกับตัวเองว่า “จะไม่หันหลังกลับมาอีก”...
Published 03/06/24
อินเดียในสายตาคนไทยเป็นแบบไหน? คลิปร้านสตรีทฟู้ดที่ใช้มือตักตวงอาหาร, สำรับเมนูบนโต๊ะที่ประกอบด้วยเครื่องเทศหลากชนิด, ซีรีส์ที่มีตัวละครแสดงอารมณ์เด่นชัด และเนื้อเรื่องสุดแสนมหัศจรรย์ ฯลฯ หรือบางคนอาจจะเห็นความหลากหลาย ท้าทาย ดินแดนที่มีอะไรให้ค้นหาไม่มีสิ้นสุด และเป็นจุดหมายของการผจญภัยเพื่อทำความรู้จักอินเดียมากกว่าที่เห็นในสื่อ สำหรับแพท–พัทริกา ลิปตพัลลภมองเห็นอินเดียเป็นคอมฟอร์ตโซน ไม่ว่าจะสุขหรือเศร้า ถ้าใจต้องการเครื่องเยียวยา อินเดียจะเป็นคำตอบนั้น การเดินทางไป-กลับแดนภารตะกว่า 30...
Published 11/01/23
ในฐานะนักข่าวที่ติดตามประเด็นสังคม สนใจนโยบายสาธารณะ และชอบสำรวจน่านน้ำของข้อมูล ‘อินทร์แก้ว โอภานุเคราะห์กุล’ มองเห็นว่าหลายประเด็นปัญหาในสังคมยังคงวนกลับมาถกเถียงกันไม่จบสิ้น แต่นั่นคือพลวัตของสังคมที่สื่อก็ต้องทำหน้าที่นำเสนอและผลักดันให้เกิดการโต้เถียงและความเปลี่ยนแปลงต่อไป PRESSCAST Ep.39 ชวนฟังประสบการณ์ทำงานจากอินทร์แก้ว โอภานุเคราะห์ ในฐานะผู้สื่อข่าวออนไลน์ตลอดเกือบครึ่งทศวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะในบริบทการทำงานในยุคที่สังคมเจอความท้าทายด้วยประเด็นแหลมคม...
Published 09/05/23
“การทำข่าวเลือกตั้งทำให้เห็นการเมืองไทยแบบที่อ่านหนังสือร้อยเล่มก็ไม่มีทางเห็น” สนามข่าวเลือกตั้งปี ’66 คึกคักไปด้วยเวทีดีเบต บทสัมภาษณ์แคนดิเดต และการถกเถียงนโยบายจากพรรคต่างๆ การแข่งขันในสนามเลือกตั้งสูง การแข่งขันในหน้าสื่อก็ไม่ต่างกัน ทั้งเร็ว แรง เข้มข้น และแนวทางหลากหลายจนคนดูแทบตามไม่ทัน แต่หากย้อนกลับไปดูการทำข่าวเลือกตั้งในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา ด้วยพัฒนาการของภูมิทัศน์การเมืองที่เปลี่ยนไป ทำให้วิธีการทำงานข่าวของสื่อเปลี่ยนไปเช่นกัน จากยุคที่นักข่าวนำเสนอได้เพียงเหตุการณ์รายวัน...
Published 05/10/23
“ถ้าเราพูดถึงสิทธิสตรี บางคนอาจจะบอกว่าได้ยินเรื่องนี้มาจนเบื่อแล้ว เมื่อไหร่จะขยับไปพูดเรื่องอื่น แต่คุณอย่าลืมว่ายังมีคนในพื้นที่อื่นๆ ที่ยังไม่เข้าใจว่าสิทธิสตรีคืออะไร ตัวเขาเองยังเผชิญอยู่กับการกดทับบางอย่าง ไม่ว่าจะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว หรือบางคนที่มีเพศสภาพเป็นหญิงแต่ยังเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนวิธีคิดแบบปิตาธิปไตยอยู่...
Published 03/29/23
ในวันที่โลกผันผวน สังคมซับซ้อน สื่อออนไลน์เจอความท้าทายการทำงานไม่ต่างกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม Presscast Ep.36 ชวน ธัญ–ธัญวัฒน์ อิพภูดม บรรณาธิการบริหาร The MATTER คุยเรื่องการทำงานสื่อออนไลน์บนความผันผวนของอัลกอริทึม การทำข้อมูลข่าวสารให้ตอบโจทย์กับสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และการทำงานของสื่อบนแนวคิด Work Life Balance เพื่อรักษาสุขภาพกายใจคนทำงานสื่อ ดำเนินรายการโดย สุดารัตน์ พรมสีใหม่ #The101World #TheMATTER #สื่อไทย
Published 02/22/23
ต้อนรับบอลโลกปี 2022 รายการ Presscast อีพีนี้ชวนทุกคนเกาะติดสนามการทำข่าวกีฬาไปกับ แจ็คกี้-อดิสรณ์ พึ่งยา คอลัมนิสต์ นักข่าวกีฬา และผู้บรรยายฟุตบอลที่คนไทยคุ้นชื่อมากว่า 30 ปี ตั้งแต่ปี 2535 อดิสรณ์ค่อยๆ เป็นที่รู้จักในหมู่แฟนบอลในฐานะนักข่าวกีฬาประจำ ‘สยามสปอร์ต’ สื่อกีฬาในตำนานของแฟนๆ กีฬาเมืองไทย โดยอดิสรณ์ใช้นามปากกา ‘แจ็คกี้’ จนเป็นที่คุ้นหูในวงการ หลังจากนั้นเขาได้เดินทางไปทำข่าวกีฬาที่สหราชอาณาจักร ใกล้ชิดกับต้นตำรับลีกฟุตบอล...
Published 11/22/22
“เราอยู่ในสังคมนี้ ทุกอย่างที่เราทำมันส่งผลต่ออีกคนเสมอ [...] เราอยากให้ทุกคนรู้ว่า เราเป็นส่วนหนึ่งกับสังคม สิ่งที่เราทำหรือสิ่งที่เลือกไม่ทำส่งผลกระทบต่อสังคมเสมอ เราอยากให้ Brandthink เล่าเรื่องนี้”  หลังจากออกจากการทำงานประจำในวัยเลขสี่ ต๊ะ-จักรพันธุ์ ขวัญมงคลเปลี่ยนไปรับบทฟรีแลนซ์นักเขียนและเปิดบริษัทส่วนตัว เขาบอกกับคนรอบตัวว่าจะไม่รับงานประจำอีกแล้ว แต่ 4 เดือนที่แล้วเขาเพิ่งเข้าทำงานใหม่ในตำแหน่งบรรณาธิการบริหาร Brandthink ทุกอย่างเกิดด้วยความไม่ได้ตั้งใจและตั้งใจไปพร้อมๆ กัน...
Published 10/31/22
โลกที่เคลื่อนไปด้วยข้อมูลข่าวสารไหลผ่านหน้าฟีดอย่างรวดเร็ว คนทำงานสื่อต้องวิ่งไล่ตามให้ทันทุกประเด็นและกระแส แต่หลายครั้งก็ทำได้เพียงการรายงานเพียงแค่ว่าเกิดอะไรขึ้น ไม่มีเวลามากพอที่จะเจาะปัญหาด้วยข้อมูลเชิงลึก Rocket Media Lab จึงตั้งใจทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลติดตามประเด็นสังคม ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยเลือกประเด็นวิจัยที่มี ‘คุณค่าข่าว (newsworthy)’ นำเสนอทั้งฐานข้อมูลและบทวิเคราะห์ ซึ่งไม่ได้มีเพียงประเด็นสังคมการเมืองเท่านั้น แต่ประกอบด้วยประเด็นวัฒนธรรมที่สังคมกำลังถกเถียงกันอยู่ด้วย...
Published 09/27/22
Lanner เกิดจากการรวมตัวของคนรุ่นใหม่ที่มองเห็นฉากทัศน์การเมืองที่เปลี่ยนไปในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการลุกขึ้นมาส่งเสียงถึงอนาคตของคนรุ่นใหม่ ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในกรุงเทพฯ เท่านั้น แต่ในภูมิภาคอื่นๆ ก็มีการเคลื่อนไหวอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะในภาคเหนือที่มีทั้งคนรุ่นใหม่ นักวิชาการ ประชาชนร่วมออกมาพูดคุยถึงบ้านเมืองที่ฝันหลายครั้ง แต่ยังมีบางประเด็นของท้องถิ่นที่ยังส่งต่อความคิด ส่งเสียงความฝันดังไม่ถึงส่วนกลาง สุดท้ายปัญหาที่พูดถึงกันมานานหลายปีก็ไม่ได้รับการติดตามประเด็นอย่างต่อเนื่อง...
Published 06/29/22
ท่ามกลางสนามการทำงานสื่อไทยที่ส่วนใหญ่ยังคงนำเสนอเรื่องผู้พิการด้วยภาพจำเดียว คือ คนพิการเป็นคนน่าสงสาร ถ้าสนับสนุนคนพิการจะได้รับบุญกุศลตามหลักศาสนาที่ตัวเองยึดถือ สื่อออนไลน์อย่าง ThisAble.Me เลือกที่จะนิยามว่าตัวเองเป็น ‘เพจสื่อสารประเด็นคนพิการที่เฟี้ยว?’ เหตุผลที่พวกเขา ‘เฟี้ยว’ ไม่ใช่เพราะละเลยประเด็นคุณภาพชีวิตคนพิการ แต่ ThisAble.Me อยากชี้ให้ทุกคนเห็นว่าปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะความพิการ แต่โครงสร้างสังคมต่างหากที่ไม่เอื้ออำนวยให้ผู้พิการมีชีวิตเท่าเทียมกับคนอื่น...
Published 05/24/22
ใครหลายคนคุ้นชื่อ ‘จิรเดช โอภาสพันธ์วงศ์’ ในฐานะนักเขียนและนักสัมภาษณ์ในนามปากกา ‘jirabell’ เจ้าของหนังสือ 6 เล่ม อย่าง เราไม่ได้อยู่คนเดียวอยู่คนเดียว, ความทรงจำอยู่ที่ไหน ความคิดถึงอยู่ที่นั่น, Lonely Land ดินแดนเดียวดาย, The Fairy Tale of Underfox, รักเขาเท่าทะเล และ Between Hello and Goodbye ครู่สนทนา . 2-3 ปีที่แล้ว เขาเปลี่ยนบทบาทจากงานถนัดมือมาสู่ตำแหน่งบรรณาธิการบริหาร a day ซึ่งเจ้าตัวยอมรับว่าเป็นงานที่ทำให้ได้ออกจากคอมฟอร์ตโซน เปลี่ยนตัวตนข้างใน...
Published 04/26/22
ในยุคที่สำนักข่าวต้องปรับตัวไปตามแพลตฟอร์มดิจิทัลกันมาหลายปี เกิดรูปแบบการเสพข่าวและคอนเทนต์ใหม่หลายอย่าง ‘นักข่าว’ ผู้ทำหน้าที่รายงานและเป็น ‘Gatekeeper’ หรือผู้รักษาประตูข่าวก็ต้องปรับตัวไปตามยุคสมัย เราจึงได้เห็นการรายงานข่าวบนแอคเคาต์โซเชียลมีเดียส่วนตัวของนักข่าว ทั้งรุ่นใหม่และรุ่นเก๋า จนบางคนก็กลายมาเป็น ‘อินฟลูเอนเซอร์’ แห่งวงการสื่อที่มีคนกดติดตามเพื่อรับข่าวสารมากมาย  เอก–ธนกร วงษ์ปัญญา หรือ เอก THE STANDARD เป็นหนึ่งในนักข่าวการเมืองไทยที่สื่อสารข่าวต่างๆ...
Published 03/22/22
“ถ้าเรายังเป็นสื่ออยู่ในสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำ ไม่ยุติธรรม ไม่เท่าเทียม สื่อมีหน้าที่ที่ต้องเป็นปากเป็นเสียงให้กับคนที่โดนทำร้าย คนที่โดนกดขี่ คนที่ต่อสู้เพื่อความยุติธรรม เพราะความเป็นธรรมสำคัญกว่า”  ตลอด 30 ปีของการทำงานสื่อมวลชน ‘สนิทสุดา เอกชัย’ อดีตบรรณาธิการบทความ และบรรณาธิการเซ็คชั่น Outlook แห่ง Bangkok Post ผลิตเนื้อหาสารคดีที่สื่อสารประเด็นสิทธิมนุษยชนออกมาให้คนอ่านได้ทำความเข้าใจสังคมไทยได้อย่างแหลมคม และเปิดมุมมองใหม่ๆ ในสังคม ตั้งแต่ช่วงปี 2530 ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแรงงานพม่า...
Published 02/22/22
2-3 ปีมานี้ สังคมไทยเผชิญกับความยากลำบากในหลายด้าน ทั้งโรคระบาด ค่าครองชีพ ปัญหาการเมือง และอื่นๆ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดบรรยากาศของความเครียด ความเศร้า และความตื่นตระหนกปกคลุมไปทั่วสังคม สื่อจะทำอย่างไรเมื่อจำเป็นต้องรายงานข่าวเหล่านี้อย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องระมัดระวังผลกระทบต่อสุขภาพใจของคนในสังคมด้วย    . อีกด้านหนึ่ง สื่อจะต้องดูแลใจตัวเองอย่างไร ในฐานะคนที่เป็นด่านหน้าในการรับข้อมูลข่าวสารประเด็นเปราะบาง และอาจส่งผลกระทบต่อจิตใจในระหว่างทำงาน...
Published 01/18/22
“นี่คือสื่อที่เกิดจากความโกรธและความรัก” คือประโยคที่ ‘วรพจน์ พันธุ์พงศ์’ ผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการ nan dialogue ตอบกลับมาเมื่อเราถามว่าสื่อออนไลน์ท้องถิ่นแห่งนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ในวันที่เสียงของประชาชนถูกทำให้เงียบลง และเสียงของประชาชนที่ไม่ได้อยู่ในใจกลางเมืองนั้นเงียบยิ่งกว่า บ้างยอมจำนนกับสิ่งที่เกิดขึ้น บ้างสู้ยิบตาเท่าที่เรี่ยวแรงและพละกำลังจะมี ดูเหมือนว่าวรพจน์จะเป็นคนอย่างหลัง ต้นเดือนสิงหาคม 2564 ด้วยความโกรธต่อสถานการณ์บ้านเมืองและความรักในอาชีพสื่อมวลชน...
Published 01/10/22
เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยได้ยินคำกล่าวทำนองที่ว่า “ปัจจุบันเรากำลังอยู่ในยุคของทะเลข้อมูล”  . ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นทำให้การขุดคุ้ย ตลอดจนนำเสนอข้อมูลเป็นได้อย่างเจาะลึกและหลากหลาย แต่เหมือนอย่างที่เหรียญมีสองด้าน ด้วยปริมาณข้อมูลอันมหาศาลก็ทำให้หลายครั้งข้อมูลดีๆ จมหายไป หรือบ้างก็ยากและซับซ้อนจนเกินกว่าจะทำความเข้าใจ  . แต่ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมานี้ เราเห็นความพยายามในการนำเสนอข้อมูลแบบใหม่ ที่เปลี่ยนข้อมูลฮาร์ดๆ ขมๆ ให้กลายเป็นเรื่องแมสๆ สนุกๆ แต่ยังคงความเข้มข้นของข้อมูลไว้เหมือนเดิม...
Published 11/09/21
ประเด็นเรื่อง ‘สิทธิเสรีภาพในการทำงานของสื่อ’ เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่เป็นที่ถกเถียงกันในสังคมมาโดยตลอด นับตั้งแต่การเกิดขึ้นของขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชน หลายครั้งที่พบว่าสื่อถูกจำกัดขอบเขตในการทำงาน เช่น การสั่งห้ามไลฟ์ในบางพื้นที่ การสั่งห้ามนำเสนอบางข่าวสาร ตลอดจนการถูกยิงด้วยกระสุนยางขณะการทำข่าวการชุมนุม โดยเฉพาะในการรายงานข่าวม็อบดินแดง เช่นเหตุการณ์ เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2564 เจ้าหน้าที่ตำรวจมีการออกกำหนดว่าอนุญาตให้เฉพาะ ’สื่อมวลชนที่มีสังกัด’ เท่านั้นที่จะสามารถทำงานในพื้นที่ได้...
Published 09/30/21
“อะไรคือความตลกร้ายที่สุดของการเมืองไทย” “การยกย่องผู้ร้ายเป็นพระเอก และการผลักประชาชนที่กำลังเรียกร้องความยุติธรรม สวัสดิการ ความเป็นอยู่ที่ดีไปเป็นผู้ร้าย” หากมองภาพประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ผ่านมา อาจกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องราวสุดตลกร้ายที่คนไทยต้องพบเจอปัญหาซ้ำๆ เป็นวงจรอุบาทว์ อย่างการรัฐประหาร การใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล ความล้มเหลวเรื่องการจัดการปัญหาปากท้อง ฯลฯ  สิ่งหนึ่งซึ่งช่วยบันทึกเหตุการณ์เหล่านี้อย่างมีสีสัน ทำให้คนเข้าใจถึงปัญหาสำคัญของสังคมได้ง่ายขึ้น...
Published 08/17/21
คลื่นลูกใหม่ไล่หลังคลื่นลูกเก่าฉันใด คนรุ่นใหม่ก็นำพาความเปลี่ยนแปลงใหม่มาสู่สังคมฉันนั้น– วงการสื่อมวลชนเป็นอีกสังคมที่เกิดความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจากนักข่าวรุ่นใหม่ แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา คนรุ่นใหม่ต่างพากันตื่นตัวเรื่องการเมืองและออกมาเคลื่อนไหวกันอย่างชัดเจน เมื่อคนเหล่านี้มาอยู่ในวงการสื่อแล้ว จะนำพาอะไรใหม่ๆ หรือจะเห็นอะไรที่สื่อไทยควรเปลี่ยนใหม่บ้าง ภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ์ ชวน ‘วศินี พบูประภาพ’ อดีตนักกิจกรรมทางการเมือง ผู้ผันตัวมาสู่เส้นทางนักข่าวสังกัด workpointTODAY...
Published 07/13/21
‘The MATTER’ เมื่อหลายปีก่อนคือสื่อที่ตั้งตัวจากการเล่าเรื่องราวทั่วไปในสังคมด้วยลีลากวนๆ ชวนจิกกัดให้พอแสบคัน จนกระทั่งคนข่าวสายเข้มอย่าง ‘พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์’ เข้ามารับบทบรรณาธิการ The MATTER จึงเริ่มปรับเปลี่ยนไปเป็นสำนักข่าวออนไลน์  จากหัวใจหลักในการนำเสนอของ The MATTER คือต้องเล่าข่าวและเรื่องราวที่สำคัญ เกี่ยวข้องกับชีวิตผู้อ่านด้วยน้ำเสียงมีชีวิตชีวา ทำให้หลายปีต่อมา The MATTER เติบโตเป็นสื่ออันดับต้นๆ ของโลกออนไลน์ที่คนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่เลือกอ่าน และมีผู้ติดตามกว่า 1...
Published 06/08/21