Episodes
อ.ประมวล เพ็งจันทร์ นักเขียนรางวัลศรีบูรพา เป็นอดีตอาจารย์สอนวิชาปรัชญาในมหาวิทยาลัย ที่ตัดสินใจลาออกจากราชการก่อนวัยเกษียณ แล้วออกเดินเท้าจากจังหวัดเชียงใหม่ ไปที่เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อค้นหาวิธีหลุดพ้นจากความโลภ โกรธ หลง ที่เป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์ ตามความเชื่อของพุทธศาสนา จนเป็นที่มาของหนังสือเดินสู่อิสรภาพที่เป็นแรงบันดาลใจให้คนหนุ่มสาว ได้ค้นหาความหมายของการใช้ชีวิต ep.นี้อาจารย์เล่าย้อนถึงเส้นทางชีวิตตั้งแต่วัยเยาว์ จนถึงวันที่เป็นสูงวัย พบเจอจุดพลิกผันในชีวิตมากมาย...
Published 06/02/23
คุณสมพร อินทรประยงค์ หรือ ซิกแนล ผู้หลงใหลในงานฝีมือต่างๆ เช่น การเย็บผ้า ปักผ้า และอื่นๆ ด้วยชีวิตในวัยเด็กที่ต้องพึ่งพาตัวเอง ทำให้เธอต้องสร้างสรรค์เสื้อผ้าของใช้ต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า กลายเป็นความแปลกและแตกต่าง แม้จะโดนล้อเลียนจากเพื่อนๆ แต่เธอกลับทำให้จุดด้อยกลายเป็นจุดเด่น และกล้าที่จะทำงานใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นอยู่เสมอ จนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว การสั่งสมประสบการณ์ด้วยการลงมือทำ ทำให้ผลงานของเธอก้าวสู่เวทีวงการแฟชั่นระดับโลกมาจนถึงวันนี้ ไปติดตามรับฟังกันเลยค่ะ
Published 05/26/23
ปัญหาการพลัดตกหกล้ม เป็นความเสี่ยงที่ทำให้ผู้สูงอายุได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตได้ และยังส่งผลกระทบต่อครอบครัว ที่ต้องมีภาระเพิ่มขึ้นในการดูแลผู้สูงอายุที่หกล้ม ep.นี้ คุณชนิษฐา ตียะพาณิชย์ นักกายภาพบำบัด ศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อม รพ.จุฬาฯ มาอธิบายถึงสาเหตุของการหกล้มในผู้สูงวัยและผู้สูงวัยที่ภาวะสมองเสื่อม เช่น ปัญหาด้านสายตา กล้ามเนื้ออ่อนแรง และการควบคุมร่างกายที่ถดถอย อันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการล้ม และวิธีการทำกายภาพบำบัดเพื่อฟูกล้ามเนื้อของผู้สูงวัยเพื่อป้องกันการล้ม...
Published 03/31/23
Ep. นี้คุยกับ ครูดล ธนวัชร์ เกตน์วิมุต ประธานเครือข่ายชีวิตสิกขาและผู้ก่อตั้งธนาคารสติ เพื่อเยียวยาผู้คนจากความทุกข์ของชีวิต จากอดีตมนุษย์เงินเดือนที่แสวงหาสะสมเงินทองและความสำเร็จ ไปถึงวันที่เขาตั้งคำถามกับตัวเองว่า มีชีวิตอยู่เพื่ออะไร และตัดสินใจลาออกจากงานเพื่อค้นหาคำตอบนั้น ด้วยการทำหน้าที่ครูสอนโยคะที่สอดแทรกเรื่องธรรมมะและการเจริญสติ และในยุคที่ผู้คนให้ความสำคัญกับวัตถุนิยมและความสะดวกสบายของชีวิต ครูดล พยายามชักชวนให้ผู้คนเห็นความสำคัญของทรัพย์ที่มองไม่เห็น ทั้งความรู้จักพอ ความกตัญญู...
Published 03/24/23
ทุกปีในช่วงเปลี่ยนฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูร้อน ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน จะถูกปกคลุมด้วยละอองฝุ่น PM 2.5 ซึ่งเกิดจากการกระบวนการเผาไหม้ทางการเกษตร ไฟป่า การทำอุตสาหกรรม ท่อไอเสียรถยนต์ และอื่นๆ หมอกฝุ่นที่ปะปนมากับอากาศส่งผลร้ายต่อสุขภาพมากมายรวมไปถึงสมองของมนุษย์ ep. นี้ รศ.นพ.สุขเจริญ ตั้งวงศ์ไชย หัวหน้าศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อม รพ. จุฬาฯ จะมาอธิบายว่าฝุ่น PM 2.5 ทำร้ายสุขภาพผู้สูงวัยได้อย่างไร และมีผลเสียต่อสมองอย่างไร ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว...
Published 03/17/23
คุณชรัส เฟื่องอารมย์ เป็นศิลปินที่อยู่ในวงการเพลงมายาวนานร่วม 50 ปี เป็นทั้งนักร้อง นักแต่งเพลง และทำงานเบื้องหลังศิลปินหลายคน มีอัลบั้มรวมเพลงกับศิลปินหลากหลาย ผลงานที่โด่งดังเป็นที่จดจำอย่างเช่น ทั้งรู้ก็รัก, เพราะมีเธอ, ผีเสื้อ เป็นต้น บทเพลงมากมายของเขาโด่งดังจากอดีตและข้ามเวลามาถึงปัจจุบัน และล่าสุดผลงานของเขามีชื่อว่า “ไม่แก่เกินไปที่จะรัก” เป็นบทเพลงรักแทนใจผู้สูงวัย ซึ่งแรงบันดาลใจของเพลงนี้มีที่มาอย่างไร และมุมมองความรักของเขาในวันสูงวัยจะเป็นเช่นไร ไปติดตามรับฟังกันเลยค่ะ
Published 03/10/23
คุณดี้ ชนานา นุตาคม นักแสดงที่คร่ำหวอดในวงการมายาวนานกว่า 40 ปี มีผลงานแสดงมากมาย เธอร่วมงานกับนักแสดงรุ่นลูกไปถึงรุ่นหลาน มีวิธีการปรับตัวปรับใจให้เข้ากับยุคสมัย และยังดูแลรูปร่างและสุขภาพ ให้แข็งแรงและสมส่วนอยู่เสมอ ด้วยการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องมาถึง 40 ปี ส่งผลให้เธอคงความอ่อนเยาว์และสดใส อย่างที่ผลิตภัณฑ์ความงามใดๆ ก็ทำไม่ได้ ความหลงใหลในการออกกำลังกาย ทำให้เธอค้นพบความสุขของการใช้ชีวิตอย่างไร ไปติดตามรับฟังกันเลยค่ะ
Published 03/03/23
ep.นี้ มารู้จักโรคจิตเวชที่มาพร้อมยุคสมัย นั่นคือ โรคชอบเก็บสะสมสิ่งของ Hoarding Disorder กับ รศ.นพ.สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย หัวหน้าศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อม และจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดด้านผู้สูงอายุ รพ.จุฬาลงกรณ์ โดยโรคนี้มีความเกี่ยวข้อกับโรคจิตเวชหลายประเภท ตั้งแต่โรคจิตเภท ซึมเศร้า วิตกกังวล ไปจนถึงภาวะสมองเสื่อมในกลุ่มผู้สูงอายุ นำไปสู่พฤติกรรมเก็บของข้าวที่ไม่เกิดประโยชน์ไว้มากมาย จนกลายเป็นปัญหาและอันตรายต่อชีวิตประจำวัน กระทบต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง คุณหมอทิ้งท้ายด้วยวิธี How To ทิ้ง...
Published 02/24/23
ep. นี้ คุยกับดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ ที่ปรึกษาทางธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน นักเขียนและวิทยากรรับเชิญ เขาเคยใช้ชีวิตเพื่อทำงานอย่างหนัก ละเลยการดูแลสุขภาพ จนเกิดผลเสียกับร่างกายและเจ็บป่วยบ่อย แล้วจุดเปลี่ยนก็เกิดขึ้น เมื่อไปตรวจสุขภาพแล้วผลออกมาว่า อายุของร่างกาย แก่กว่าอายุจริงไปร่วม 20 ปี ทำให้เขาตัดสินใจเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างจริงจัง โดยเริ่มจากการศึกษาข้อมูลด้านสุขภาพและศาสตร์ชะลอวัยอย่างถ่องแท้ ปรับวงจรชีวิตใหม่ ทั้งลดการกินอาหาร เพิ่มการออกกำลังกายด้วยการวิ่ง...
Published 02/17/23
ep.นี้ คุยกับ รศ.ดร.วรากร สามโกเศศ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในวัย 75 เขายังคงทำงาน โดยไม่มุ่งหวังผลตอบแทนที่เป็นตัวเงิน แต่เป็นการทำงานตอบแทนคืนสู่สังคม โดยเฉพาะงานเขียนที่เป็นอาหารสมองของตนเองและผู้ติดตาม ในช่วงอายุ 60 ปีเขาเริ่มต้นลงทุนกับสุขภาพ ด้วยการกินอาหารคุณภาพขึ้น และออกกำลังกายด้วยการเดินวันละ 45 นาที กว่า 15 ปี ที่ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ผลที่ได้คือสุขภาพที่แข็งแรง ห่างไกลโรคภัย เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด ไปรับฟังรายละเอียดกันเลยค่ะ 
Published 02/10/23
“ไม่ได้ยินพูดดังๆ หน่อย” “ว่าอะไรนะ” คำพูดเหล่านี้อาจเป็นคำที่ผู้สูงวัยใช้บ่อยขึ้นตามอายุ เพราะเมื่ออายุมากขึ้น ความเสื่อมถอยจะเกิดกับอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึง “หู” ที่เสื่อมลงตามวัย ทำให้การได้ยินน้อยลง หรือเรียกง่ายๆ ว่า “หูตึง” นั่นเอง ep.นี้ รศ.นพ.สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย หัวหน้าศูนย์ดูแลศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อม และจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ รพ.จุฬาลงกรณ์ มาให้ข้อมูลว่าภาวะหูตึง หรือหูเสื่อม เป็นสาเหตุให้สมองเสื่อมถอยมากขึ้นได้อย่างไร และวิธีสังเกตว่ามีอาการหูตึงเกิดขึ้นแล้ว...
Published 02/03/23
ep.นี้ คุยกับ "ลุงอ๊อด" ดร. ดำเนิน ยาท้วม อายุ 66 ปี และ "ป้าอ้อย" สนธยา ยาท้วม อายุ 65 ปี คู่ชีวิตที่มีฝันเดียวกันคือ “เที่ยวรอบโลก” ทั้งคู่วางแผนการเงินเพื่อท่องเที่ยวตั้งแต่ยังทำงานประจำเป็นครู และหลังเกษียณก็เริ่มวางแผนออกเดินทางทั้งที่ไม่มีประสบการณ์ แต่ด้วยพลังของความฝันที่เกิดจากความขาดโอกาสในวัยเรียน ผลักดันให้ทั้งคู่เดินทางไปถึงกว่า 90 ประเทศทั่วโลก แม้จะต้องเจอความยากลำบาก แต่ก็ทำให้สีสันในวัยเกษียณมีคุณค่าและเติมเต็มความฝันที่ขาดหายไปได้...
Published 01/27/23
โรคสมองเสื่อม กำลังเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่มาพร้อมกับสังคมสูงวัยทั่วโลก มีงานวิจัยทางการแพทย์และผลิตภัณฑ์สุขภาพมากมายที่ออกสู่ท้องตลาด โดยมีจุดขายเรื่องการบริหารสมองชะลอความเสื่อมถอย ep.นี้มาฟังคำแนะนำจาก รศ.นพ.สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย หัวหน้าศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อม รพ.จุฬาลงกรณ์ฯ คุณหมอแนะนำวิธีการบริหารสมองเพื่อเพิ่มพลังสำรอง รองรับชีวิตในวัยสูงอายุ ซึ่งเป็นวิธีที่ทำได้ในชีวิตประจำวัน และไม่ต้องเสียเงินซื้อผลิตภัณฑ์ราคาแพงๆ ที่สำคัญต้องเป็นวิธีที่ไม่ยากจนเกินไป และสร้างความสุข...
Published 01/20/23
ep.นี้ คุณมนัสวัฑฒก์ ชุติมา หรือ ขิม ผู้บริหาร โอลด์ เชียงใหม่ หรือ ศูนย์วัฒนธรรมฯ เชียงใหม่ และตลาดเกษียณมาร์เก็ต มาบอกเล่าถึงจุดเริ่มต้นเปิดตลาดนัดผู้สูงอายุที่ จ.เชียงใหม่ เพื่อให้ชาวเกษียณได้ออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ เธอเล่าว่าพ่อค้าแม่ค้าส่วนใหญ่ เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ชีวิตที่มากคุณค่า ดังนั้นการออกร้านขายของจึงไม่ได้หวังผลตอบแทนเป็นตัวเงิน แต่เป็นการแบ่งปัน พูดคุย สร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ที่ช่วยรักษาวัฒนธรรมท้องถิ่นของเชียงใหม่ให้ยั่งยืนด้วย...
Published 01/13/23
อารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความโกรธ ความกลัว ความพึงพอใจ ความไม่พอใจ และอื่นๆ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต ขึ้นอยู่ที่มากระทบหรือกระตุ้นความรู้สึกของเรา ซึ่งการแสดงออกของอารมณ์เหล่านี้ นอกจากจะเป็นการระบายความรู้สึกออกมาแล้ว ก็ยังเป็นวิธีการสื่อสารความรู้สึกนึกคิดให้ผู้อื่นรับรู้ จึงมักส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับคนใกล้ตัว เพราะทำให้เกิดความเข้าใจหรือขัดใจกันได้ นอกจากนี้บางคนก็มีความสับสนและแสดงความรู้สึกอย่างไม่ตรงไปตรงมา โดยเฉพาะความโกรธและความกลัว ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน...
Published 01/06/23
รศ.นพ.ปัญญา ไข่มุก แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อและวิทยาศาสตร์การกีฬา ในวัย 70 ปีเศษ ยังคงทำงานในฐานอาจารย์แพทย์ และผู้บริหารองค์กรด้านสุขภาพรณรงค์เรื่องลดความอ้วนให้คนไทย เพื่อลดโรคเรื้อรังต่างๆ และในฐานะบุคคลต้นแบบคุณหมอมีคาถาประจำตัวว่า "ร่างกายจะแข็งแรงต้องเคลื่อนไหว จิตใจจะแข็งแกร่งต้องสงบนิ่ง" ผลจากการปฏิบัติตามแนวทางนี้ทำให้สุขภาพกายใจแข็งแรง เข้าใจการเปลี่ยนแปลงแห่งวัย และยังมีสูตรความสุขของการเป็นผู้สูงวัยให้เป็นที่รักของคนรอบข้างอีกด้วย รายละเอียดจะเป็นอย่างไร ไปติดตามฟังใน...
Published 12/30/22
ep. นี้คุยกับ ศ.เกริก ยุ้นพันธ์ อดีตข้าราชการครู สาขาวรรณกรรมสำหรับเด็ก นักวาดภาพนิทานเยาวชน และผู้ก่อตั้ง ‘พิพิธภัณฑ์ล้านของเล่น เกริก ยุ้นพันธ์’ จากจุดเริ่มต้นที่เห็นพิพิธภัณฑ์ในต่างประเทศ เป็นแรงบันดาลใจให้เขาเก็บสะสมของเล่นเพื่อเปิดพิพิธภัณฑ์ของเล่นเด็กในเมืองไทย กว่า 40 ปีเขาสะสมของเล่นได้มากถึง 300,000 ชิ้น และเปิดพิพิธภัณฑ์ในฝันมาได้นาน 16 ปี ของเล่นบางชิ้นมีที่มาที่อยู่ในความทรงจำไม่เคยลืมเลือน และของบางชิ้นก็ทำให้ผู้มาเยือนได้แบ่งปันเรื่องราวในความทรงจำร่วมกัน...
Published 12/23/22
ep.นี้ รศ.นพ.สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย หัวหน้าศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ มาบอกเล่าถึงข้อควรระวังในการใช้กัญชาเพื่อบรรเทาอาการต่างๆ โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้สูงวัย ซึ่งมีความเสี่ยงมากกว่ากลุ่มอื่นๆ เนื่องจากมีความถดถอยของสมองอยู่แล้ว ทำให้อาจได้รับอันตรายจากการใช้กัญชาที่ผลิตโดยไม่ได้มาตรฐาน จึงควบคุมปริมาณสารส่งผลต่อสมองไม่ได้ ทำให้อาจเกิดอันตรายจากการพลัดตกหกล้ม อาการหลอน และเกิดภาวะยาตีกันได้ ไปรับฟังรายละเอียดกันเลยค่ะ
Published 12/16/22
คุณพรวรินทร์ นุตาวงศ์ อดีตนางพยาบาลวิชาชีพ ที่ใช้ชีวิตหลังเกษียณทำหน้าที่อาสาสมัครดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ให้ทำตามความต้องการสุดท้ายได้สำเร็จ โดยมีจุดเริ่มต้นจากการดูแลสามีที่ป่วยเป็นมะเร็ง แม้จะเป็นพยาบาลแต่ก็ไม่ง่ายเลยเมื่อคู่ชีวิตต้องเจ็บป่วยร้ายแรง เธอจึงใช้พลังของการ "กอดบำบัด" เยียวยาจิตใจและประคับประคองให้สามีผ่านพ้นโรคร้ายมาได้ จากนั้นจึงใช้การกอดบำบัดผู้ป่วยและญาติคนอื่นๆ ไปจนถึงการช่วยเหลือผู้ป่วยระยะท้ายให้ทำตามความปรารถนาสุดท้าย มาถอดบทเรียนวิชาชีวิตจากนางฟ้าชุดขาวที่ดูแลผู้คนมากมาย...
Published 12/09/22
ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย นักเขียน นักเดินทาง และนักเล่าเรื่องผ่านสื่อสาธารณะทุกรูปแบบที่มีผู้ติดตามมากมาย ep.นี้เขามาเล่าถึงจุดเริ่มต้นของการเลือกเส้นทางการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเลตั้งแต่จบชั้น ม.3 ทั้งที่สมัยนั้นแทบไม่มีใครรู้จักอาชีพนี้ และอยู่ในเส้นทางนี้มายาวนานจนใกล้เกษียณ เห็นความเปลี่ยนแปลงของสภาวะโลกร้อนที่เป็นจุดอันตรายของระบบนิเวศ และใช้วิธีการสื่อสารเพื่อเผยแพร่ข้อมูลงานด้านวิทยาศาตร์ทางทะเลสู่สาธารณะ...
Published 12/02/22
ep. นี้คุยกับคุณเพ็ญพิชชา ชูชื่น นักจิตวิทยาคลินิก ศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มาทำความรู้จักกับวิชาชีพนักจิตวิทยา ที่มีบทบาทหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม ตั้งแต่การทำแบบทดสอบเพื่อประเมินภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุและญาติที่ทำหน้าที่ผู้ดูแล คำแนะนำในการเตรียมตัวเพื่อเข้ารับการประเมิน และคำแนะนำสำหรับผู้ดูแลที่ต้องรับมือกับภาวะอารมณ์ของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม และส่วนตัวของเธอทำไมจึงเลือกมาเป็นนักจิตวิทยาและได้เรียนรู้อะไรจากวิชาชีพนี้บ้าง ไปติดตามรับฟังกันเลยค่ะ
Published 11/25/22
ep.นี้คุยกับ รศ.นพ.สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย หัวหน้าศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อมและจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ คุณหมออธิบายถึงกลไกด้านอารมณ์ที่เรียกว่า “ความกลัว” ซึ่งเป็นสิ่งที่ติดตัวมนุษย์และพัฒนาตามช่วงวัย มีประโยชน์กับการมีชีวิตรอดหากอยู่ในระดับที่พอเหมาะ แต่หากมีมากเกินไปและความวิตกกังวลร่วมด้วย ก็อาจนำไปสู่การใช้ชีวิตที่ไม่ปกติสุข หรือร้ายแรงถึงขั้นเป็นความเจ็บป่วยทางจิตใจได้ โดยเฉพาะกับผู้สูงวัยที่ต้องเผชิญความกลัวหลายอย่าง เช่น กลัวการพลัดพราก กลัวความโดดเดี่ยว...
Published 11/17/22
ดีเจอ้อย นภาพร ไตรวิทย์วารีกุล เป็นนักจัดรายการวิทยุชื่อดัง และเป็นนักเขียนที่มีผู้ติดตามผลงานมากมาย อีกบทบาทหนึ่งคือการเป็นผู้ดูแลผู้สูงวัยในครอบครัวหลายคน ซึ่งแต่ละคนมีอาการเจ็บป่วยที่แตกต่างกันไป เธอใช้มุมมองเชิงบวกและความเข้าใจ รับมือความเจ็บป่วยและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังใช้วิธีบริหารจัดการเพื่อผ่อนหนักเป็นเบา และดูแลตัวเองไม่ให้เหนื่อยล้าจนเกินไป ความเจ็บป่วยของคนรอบตัวทำให้เธอมองเห็นแง่งามของความสัมพันธ์ในครอบครัวได้อย่างไร ไปติดตามรับฟังกันเลยค่ะ
Published 11/11/22
ep.นี้คุยกับคุณนัยนา นาควัชระ ครูสอนดนตรี นักเขียน นักแปลหนังสือธรรมะ และยังมีชีวิตอีกหลายแง่มุมที่น่าสนใจ เธอได้รับโอกาสสำคัญโดยแปลงานเขียนขององค์ทะไลลามะ บุคคลสำคัญของโลก และได้เข้าเฝ้าพระองค์ที่เมืองธรรมศาลา ประเทศอินเดีย อีกบทบาทของเธอที่น่าสนใจก็คือ เป็นผู้สูงอายุที่ดูแลผู้สูงอายุกว่าในครอบครัว เธอฝากข้อคิดที่ทำให้ตัวเธอและคุณพ่อคุณแม่ที่อายุกว่า 80 และ กว่า 90 ปี ยังแข็งแรงใช้ชีวิตได้อย่างสดใส คือการให้เวลากับการใช้ชีวิตในพื้นที่โล่งกว้าง อยู่กับธรรมชาติอย่างสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มพลังชีวิต...
Published 11/04/22
ความอ้างว้างโดดเดี่ยว เป็นหนึ่งในความกังวลของกลุ่มผู้สูงวัยและผู้ป่วยระยะท้าย ep. นี้คุณวรรณา จารุสมบูรณ์ ประธานกลุ่ม peaceful death และประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนกรุณา จะมาเล่าประสบการณ์ราว 20 ปีที่เผยแพร่แนวคิดการมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าและตายอย่างสงบสุข ผ่านเครื่องมือการสื่อสารหลากหลายและเครือข่ายทางการแพทย์เพื่อการดูและผู้ป่วยแบบประคับประคอง รวมทั้งยังมีการสร้างชุมชนกรุณาเพื่อสร้างเครือข่ายทางสังคม เพื่อการดูแลกันและกัน...
Published 10/28/22