Episodes
“ล้านนา” ไม่ได้มีเสน่ห์เฉพาะวิถีชีวิตของผู้คน แต่อาหารการกินก็เป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ที่ไม่แพ้ถิ่นแดนอื่นใด   พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และทางตอนเหนือของไทย ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมล้านนาอย่างมาก แต่ในเวลาเดียวกันดินแดนแถบนี้ก็ยังมีการผสมผสานจากชนชาติอื่นๆ ในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะชาวจีน ผ่านการค้าและชาวจีนที่อพยพมาตั้งรกรากที่นี่  ต่างเลือก “รับ ปรับ ใช้” จนทำให้กลายเป็นการรังสรรค์เมนูใหม่ๆที่ไม่ทิ้งกลิ่นอายรสชาติเดิม            สูตรอาหาร ไม่ได้ผูกขาดเพียงหนึ่งเดียว...
Published 12/26/20
อาหาร  สร้างและเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่นที่แตกต่างกัน เป็นแหล่งรวมของภูมิปัญญา การแบ่งปันองค์ความรู้จากหลากหลายสังคมเพื่อหลอมรวมเข้าด้วยกันจนกระทั่งกลายเป็นเมนูหนึ่งจาน อาหาร  ไม่ได้ทำหน้าที่เพียงให้ท้องอิ่ม แต่ยังมีความหมายอื่น ๆหลากหลายมุมมอง  คุณดวงพร ทรงวิศวะ  ผู้ดำเนินรายการ “กินอยู่คือ” ทางไทยพีบีเอส มาไขความคิด อาหารไทยแท้ ๆ มีจริงหรือไม่ และจะกินอย่างไรให้ปลอดภัย  ปลอดโรค  ชวนคุยโดย  โสภิต  หวังวิวัฒนา  
Published 12/19/20
ประเพณีการแต่งงานของไทยสมัยโบราณ มีทั้งความประณีต ละเอียดและซับซ้อนแตกต่างกันไปตามยุคสมัย เป็นพิธีการสำคัญที่ต้องพิถีพิถัน แม้ว่าความรักจะไม่มีพรหมแดน เชื้อชาติและศาสนา ไม่อาจขวางกั้นได้ แต่หลายครั้ง ความรักก็ถูกกีดกันจากการเมืองและความมั่นคง ช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา สมัยสมเด็จพระเพทราชา เคยมีกฎหมายห้ามคนสยามแต่งงานกับคนต่างชาติ (ในความหมายคือ ฝรั่งเศส) เพราะตอนนั้นมีความบาดหมากกับชาวฝรั่งเศส ที่น่าสนใจคือ ชาวจีนและอินเดีย ไม่ได้ถูกนับให้รวมเป็นชาวต่างชาติด้วย ในขณะที่รักต่างเชื้อชาติ...
Published 12/12/20
ในยุคที่ดนตรีไทยเฟื่องฟู ไดัรับความนิยมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เชื้อพระวงศ์ เจ้านายชั้นสูง ต่างอุปถัมภ์เลี้ยงดูวงดนตรีไทย โดยไม่ต้องทำมาอาชีพอื่น ๆ เพียงมุ่งมั่นซ้อมดนตรีให้เต็มที่ จนกระทั่งมาถึงการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมดนตรีไทยเมื่อ พ.ศ. 2481 - 2500 สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี มีทัศนะต่อดนตรีไทยว่าเป็นของโบราณคร่ำครึและไม่เป็นศิวิไลซ์ ประวัติศาสตร์ดนตรีของไทยที่มีกลิ่นอายดนตรีจากวัฒนธรรมร่วมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความเป็นมาน่าสนใจอย่างไร
Published 12/05/20
เมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินประพาสทวีปยุโรป เพื่อเรียนรู้ภูมิศาสตร์วัฒนธรรมในด้านต่าง ๆ เพื่อนำเอาความรู้มาประยุกต์พัฒนาประเทศชาติให้มีความเจริญก้าวหน้า ทั้งการนำเทคโนโลยีการคมนาคมมาใช้ในการก่อสร้างถนนและรถไฟ ตลอดจนการส่งเสริมการศึกษาภาษาต่างประเทศผ่านเจ้าของภาษา ภูมิศาสตร์วัฒนธรรมที่ปรากฎให้เห็นในละครปลายจวัก มีอะไรสอดแทรกและน่าสนใจบ้าง
Published 11/28/20
คุณสุทธิพงษ์ สุริยะ  นักออกแบบแบรนด์ธุรกิจอาหาร การเกษตร และผู้ก่อตั้ง พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต จังหวัดบึงกาฬ อาสาสมัครทำงานให้กับ “โครงการหลวง” เพื่อทำให้อาหารและผลผลิตจากโครงการ ฯ เข้าถึงคนรุ่นใหม่และคนหนุ่มสาว เป็นเจ้าของสโลแกน  “จาก Local สู่เลอค่า” ได้รับ  13 รางวัล จากการส่งหนังสือเกี่ยวกับอาหารเข้าแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศ  หลากหลายสาขา เช่น Local, Innovative, Design, Corporate, People Cuisine, Healthy และ Tourism
Published 11/21/20
ทุกความเปลี่ยนแปลงล้วนมีความหมายและมีคุณค่าในสิ่ง ๆ นั้น การเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยยังคงเกิดึ้นในหลาย ๆ เรื่อง โดยเฉพาะทางด้านสถาปัตยกรรม เช่น วัดวาอาราม โบราณสถาน หรือแม้กระทั่งบ้านเรือน ซึ่งสะท้อนเรื่องการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน จากบ้านที่ทำด้วยไม้ไผ่ซี่ มุงหลังคาด้วยจาก สู่บ้านเรือนไทยหลังใหญ่โตของข้าราชบริพาน จนเข้าสู่การนำสถาปัตยกรรมจากชาติตะวันตกมาใช้จนถึงปัจจุบัน กับผู้รอบรู้ในเรื่องนี้ ศาสตราจารย์ วิบูลย์ ลี้สุวรรณ
Published 11/14/20
“ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง” นี่คือสำนวนที่สะท้อนถึงแฟชั่น การแต่งกาย เสื้อผ้าหน้าผม ที่สืบเนื่องจากยุคสมัยเก่าก่อนกาลสู่ปัจจุบัน เรื่องราวของผ้าไทย ทุกผืนผ้า ทุกรอยต่อ ทุกการถักทอ ล้วนแฝงเรื่องราวไว้นานัปการ ตลอดจนทรงผม เครื่องนุ่ง เครื่องห่ม ความงามภายนอกเหล่านี้ เมื่อศึกษาอย่างละเอียดจากหัวจรดเท้า ย่อมแฝงความนัยคือเรื่องราวในอดีตได้เป็นอย่างดี 
Published 10/24/20
จากภัณฑารักษ์มาสู่งานออกแบบอาหาร (food stylist ) และนักประวัติศาสตร์อาหาร ทำไมเขาถึงหลงใหลในเสน่ห์ของอาหารไทยโบราณโดยเฉพาะอาหารชาววัง ในอาหารหนึ่งจาน ไม่เพียงแค่ทำให้อิ่มท้อง แต่ยังต้องทำให้งามน่าชม แล้วยังมีเรื่องราวที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง รวมทั้งการทำหน้าที่บันทึกประวัติศาสตร์ในช่วงเวลาหนึ่งของอดีตไว้ด้วย  
Published 10/17/20
เชฟบุ๊ค-บุญสมิทธิ์ จากรายการ food work  ท่องเที่ยวไปทั่วไทยเพื่อชิมอาหารท้องถิ่น เสน่ห์อาหารไทยอยู่ตรงไหน และมีความแหวกแนว โดดเด่นไม่ซ้ำใครอย่างไร  ชวนฟังเชฟบุ๊คส์เล่าเรื่องอาหารแปลก ๆแล้ว เชื่อเถอะว่าคุณจะอยากตามรอยสถานที่ที่เชฟบุ๊คไปเที่ยว เพื่อได้ชิมอาหารเหล่านั้นสักครั้งในชีวิต
Published 10/10/20