Episodes
หรือการ 'หาว' จะเป็นโรคติดต่อ?
Published 05/29/24
Published 05/29/24
มาทำความรู้จักกับ Alter Ego หรือจิตวิทยาการสร้างตัวตนใหม่ เอาไว้เผชิญหน้ากับสถานการณ์ยากๆ หรือเอาไว้เสริมความมั่นใจในยามที่เราวิตกกังวลกัน
Published 01/31/24
มีใครเป็นบ้าง เวลาขึ้นรถแล้วเหมือนโดนคำสาป แค่รถเริ่มออกตัวสตาร์ท เหมือนถูกปิดสวิซให้หลับทันที แม้ว่าเราจะนอนหลับมาเพียงพอแล้วก็ตาม ซึ่งอาการนี้เขามีชื่อเรียกด้วยนะ
Published 12/01/23
นักจิตวิทยาอธิบายว่าการดูหนังเรื่องเดิมซ้ำๆ อาจสะท้อนสภาพจิตใจว่าลึกๆ แล้วเรากำลังโหยหาในสิ่งที่ ‘คาดการณ์ได้’ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่กำลังมีความวิตกกังวล
Published 09/13/23
เมื่อคืนปาร์ตี้สนุกสุดเหวี่ยง ตื่นขึ้นมาอีกที่…เอ๊ะ เราว๊าปมาอยู่นี่ได้ไง? มาทำความเข้าใจ ‘อาการเมาจนภาพตัด’ เกิดขึ้นได้ยังไง และมันเกิดอะไรกับสมองของเราบ้าง
Published 07/27/23
หลายคนเข้าใจว่ายาแก้อักเสบฆ่าเชื้อโรคได้ และ ยาฆ่าเชื้อก็สามารถรักษาอาการอักเสบได้ ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้...เป็นความเชื่อที่ผิด! มาดูกันว่ายา 2 กลุ่มนี้แตกต่างกันยังไง เอาแบบเคลียร์ๆ ชัดๆ ให้เข้าใจกันเลย
Published 05/30/23
ใครมีแพลนจัดบ้านครั้งใหญ่ อย่าลืมใส่แมสก์กันนะ!
Published 03/30/23
นั่งอยู่ด้วยกันหลายคน แต่ทำไมยุงถึงเลือกกัดเราแค่คนเดียว?  งานวิจัยล่าสุดพบว่าอาจะเป็นเพราะกรดคาร์บอกซิลิก(carboxylic acids) ซึ่งเป็นกรดไขมันตามธรรมชาติบนผิวหนังของมนุษย์เรา ใครมีมากก็ดึงดูดยุงได้มาก ส่วนใครจะมีกรดไขมันตัวนี้มากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์ซะด้วย ฉะนั้นใครเกิดมาเป็นที่รักของยุงตั้งแต่เด็กๆ ลองสังเกตุว่า จะกี่ปีผ่านไปยุงก็ยังชอบกัดเหมือนเดิม แนะนำให้พกสเปรย์กันยุงติดกระเป๋าไว้เลย
Published 03/20/23
รวม TikTok Viral Trend สุดบ้ง…อย่าหาทำ!  เข้า TikTok ทีไร รู้ตัวอีกทีเวลาหายไปเป็นชั่วโมง เพราะมีทั้งความบันเทิง มีทั้ง Life Hack เจ๋งๆ รวมถึง ชาเลนจ์ต่างๆ ที่กลายเป็นกระแส แต่บางชาเลนจ์เสี่ยงต่อสุขภาพ ชีวิต และทรัพทย์สินซะเหลือเกิ๊นนน 
Published 02/16/23
งานวิจัยจาก Charles Sturt University พบว่าสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ ในปัจจุบันส่งผลให้เกิดกลุ่มคนที่เป็น ‘โรคกลัวความเงียบ’ หรือ Sedatephobia เพิ่มสูงขึ้น หลายคนใช้ชีวิตด้วยการเปิดทีวีทิ้งไว้แต่ไม่ได้ดูด้วยซ้ำ เพียงแค่อยากให้มีเสียงในห้อง ให้รู้สึกอุ่นใจเท่านั้น!
Published 01/30/23
Love-Hate Relationship ไม่ใช่ความสัมพันธ์ที่เดี๋ยวรักเดี๋ยวเกลียดแบบที่หลายคนเข้าใจ  Dr. Berit Brogaard นักปรัชญาผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการรับรู้ ได้อธิบายไว้ใน Psychology Today ว่ามันคือการที่เรารักใครสักคน แต่ดันรู้สึกเกลียดพฤติกรรมซ้ำซากบางอย่างของเขา หรือตอบสนองความรักของเราไม่มากเท่าที่เราคาดหวังไว้ ยกตัวอย่างเช่นเราคาดหวังให้แฟนบอกรักเราทุกวัน ลงรูปคู่บ่อยๆ หรือมีมาตรฐานในการแสดงความรักให้ได้อย่างที่เราทำ แต่เมื่อเราผิดหวัง...
Published 01/23/23
เคยมั้ยฝนตกทีไรรู้สึกเหงาๆ ดาวน์ๆ บอกไม่ถูก ยิ่งช่วงหน้าฝนฟ้าหม่นจนเหมือนใส่ฟิลเตอร์ประกอบกับเพลงเศร้าอยู่ตลอดเวลา ใครเคยมีอารมณ์เหงาๆ แบบนี้เวลาฝนตก คุณไม่ได้เผชิญความเหงาเพียงลำพัง เพราะมีผลวิจัยพบว่าสภาพอากาศและแสงสว่าง มีผลต่อสารเคมีในสมองและอารมณ์ของเราได้เหมือนกัน!
Published 01/10/23
ใครเคยหงุดหงิดแฟนเพราะคำตอบไม่ตรงใจ เวลาให้ช่วยเลือกสีลิปสติกบ้าง🫢💄 การที่ได้คำตอบแบบส่งๆ หรือตอบไม่ได้ว่าลิปสติกแต่ละเฉดสีมันต่างกันยังไง อาจไม่ใช่เรื่องของความไม่ใส่ใจซะทีเดียว เพราะการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของ Brooklyn College พบว่าวิวัฒนาการในการดำรงชีวิต อาจส่งผลให้ผู้หญิงมีความสามารถในการแยกเฉดสีได้ดีกว่าผู้ชาย
Published 10/19/22
ลูซิดดรีม (LUCID DREAM) คือความฝันรูปแบบหนึ่งที่ผู้ฝันจะรู้สึกตัวว่ากำลังอยู่ในความฝัน ซึ่งนักจิตวิทยาพบว่าคนเราสามารถฝึกฝนในการควบคุมความฝันได้ด้วย!
Published 10/10/22
เคยมั้ย? ตื่นขึ้นมากลางดึกเพราะ ‘เหงื่อชุมตอนนอน’ แม้ว่าจะเปิดแอร์เย็นฉ่ำแล้วก็ตาม นอกจากันจะการขัดจังหวะการนอนแล้ว ยังต้องเหนื่อยเปลี่ยนผ้าปูเตียงแบบยกเซ็ต ซึ่งการเหงื่อออกตอนนอน เป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากอุณหภูมิในห้องนอนร้อนเกินไป ผ้าห่มหน้าไป หรือฝันร้ายแบบสุดๆ แต่ถ้ามันไม่ใช่ปัญหาเบสิคพวกนั้นล่ะ? รู้มั้ยว่าอาการเหงื่อออกระหว่างนอน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพได้เหมือนกัน
Published 09/30/22
ใครเคยเป็นมั่ง? หลอนว่ามือถือสั่น แต่จริงๆ แล้วคิดไปเอง ทุกวันนี้สมาร์ทโฟนแทบจะกลายเป็นหนึ่งในอวัยวะสำคัญของเราไปแล้ว ขาดกระเป๋าตังค์ได้…แต่มือขาดไป เป็นเรื่อง!
Published 09/14/22
รู้หรือไม่? น้ำตาตอนเศร้า vs น้ำตาแห่งความสุข รสชาติต่างกัน น้ำตาของเราประกอบไปด้วยน้ำ 98% อีก 2% คือไขมัน โปรตีน และแร่ธาตุต่างๆ อย่างเช่นเกลือโซเดียม เกลือโพแทสเซียมทำให้น้ำตาของเราจึงมีรสชาติเค็ม แต่เคยสังเกตมั้ยรสชาติของน้ำตาที่เกิดจากความเศร้า มีรสเค็มกว่าน้ำตาที่ไหลออกมาด้วยความปิติยินดี เพราะอารมณ์ของเราส่งผลต่อความเค็มของน้ำตาด้วยเหมือนกัน!
Published 09/12/22
โรคอยากขโมย…โรคชื่อประหลาดที่มีอยู่จริง! โรคอยากขโมย (Kleptomania) เป็นโรคทางจิตเวชซึ่งถูกจัดอยู่ในกลุ่มความผิดปกติในการควบคุมตนเอง (Impulse Control Disorder) โดยผู้ป่วยจะมีพฤติกรรมการขโมยเล็กๆ น้อยๆ เพื่อเติมเต็มความสุขในใจ แม้ว่าของชิ้นนั้นจะไม่ได้มีมูลค่าสูงก็ตาม แล้วก็ไม่ได้ขโมยเพราะลำบากหรือต้องการของเหล่านั้นจริงๆ ซะด้วย บอกเลยว่าแม้แต่คนดังระดับโลกหรือผู้นำประเทศ ก็เคยตกเป็นข่าวอื้อฉาวด้วยพฤติกรรมชอบขโมยมาแล้ว แต่ถ้าชอบขโมยแฟนคนอื่น…อันนี้ไม่เกี่ยวน้า😅
Published 08/29/22
หนึ่งในความซัฟเฟอร์ของการเป็น “ผู้หญิง” นั่นก็คือการมีประจำเดือน เพราะนอกจากจะเป็นสาเหตุที่ทำให้อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่ายแล้ว บางคนยังมีอาการปวดท้องน้อยจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันไปอี๊กกก สาวๆ เคยสงสัยมั้ยว่าทำไมเวลามีประจำเดือน มันมักจะมาเป็นแพ็คคู่กับอาการท้องเสีย บางทีก็แยกไม่ออกว่า เอ๊ะ…นี่เรากำลัง ‘ปวดท้องประจำเดือน’ หรือ ‘ปวดท้องอึ’ กันแน่ บอกเลยว่างานนี้สาวๆ ไม่ได้มโนไปเอง มาฟังเหตุผลจากสูตินรีแพทย์ได้ใน Healthy Digest เอพิโสดนี้เลย!
Published 08/22/22
หลายคนชอบบอกว่าคนหน้าคล้ายกันมักจะเป็นเนื้อคู่กัน แต่จริงๆ แล้วมันมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่ซัพพอร์ตแนวคิดนี้อยู่เหมือนกันนะ
Published 08/11/22
มาฟังหลักจิตวิทยา 5 ข้อ ที่ช่วยทำให้การลดน้ำหนักของเราเป็นเรื่องง่ายกว่าเดิม!
Published 08/01/22
มีใครชอบตั้งนาฬิกาปลุกติดๆ กัน ห่างกัน 5-10 นาที ให้พอได้เก็บเกี่ยวการนอนโค้งสุดท้าย ถ้าการกดเลื่อนนาฬิกาปลุกเป็นหนึ่งใน morning routine ของคุณ…ต้องฟัง Healthy Digest เอพิโสดนี้แล้วล่ะ!
Published 07/21/22
บ้านใครมีผู้สูงอายุชอบเก็บสะสมของที่ไม่จำเป็น อย่างเช่นขวดน้ำ เสื้อผ้าเก่า ถุงต่างๆ จนบ้านรกรุงรังไปหมด สมาชิกในบ้านเตือนแล้วก็ไม่ฟัง บางทีทะเลาะกันจนกลายเป็นซีนดราม่าในครอบครัวไปอี๊กกก โรคเก็บสะสมของ (Hoarding Disorder) ถูกจัดเป็นโรคทางจิตเวชกลุ่มเดียวกับโรคย้ำคิดย้ำทำ (DSM 5) พบได้มากในผู้สูงอายุระหว่าง 55-94 ปี ซึ่งจากประชากรทั้งหมด พบว่ามีคนเป็นโรคเก็บสะสมของอยู่ 2-6% ถ้าสงสัยว่าเป็นโรคนี้ ลองเช็คซิว่ามีอาการแบบนี้รึเปล่า #เช็คลิสต์โรคเก็บสะสมของ ✅ ไม่สามารถตัดใจทิ้งสิ่งของได้ -...
Published 07/11/22
Karoshi Syndrome คือภาวะการทำงานหนักจนเสียชีวิต ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่พบว่า เกิดจากภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง และการฆ่าตัวตาย จากสถิติปี 2020 ในประเทศญี่ปุ่น มีเคสร้องเรียนเรื่องการเสียชีวิตจากการทำงานหนักมากถึง 2,835 เคส เลยทีเดียว
Published 06/30/22