Episodes
Published 05/24/22
หากมีงานหรือภาระหน้าที่มาก ไม่สามารถปลีกตัวไปปฏิบัติธรรมในรูปแบบต่อเนื่องนานๆ ได้ หรือถ้ามีโอกาสปฏิบัติก็ฟุ้งซ่าน ไม่สามารถเข้าสมาธิได้ จะมีวิธีให้กำลังใจตัวเองอย่างไรให้ไม่เลิกปฏิบัติไปเสียก่อน? การปฏิบัติธรรมไม่ได้จำกัดอยู่ที่อิริยาบถหรือสถานที่ การนั่งสมาธิ การเดินจงกรม คือ การปฏิบัติในรูปแบบที่เราสามารถจัดสรรสิ่งแวดล้อมให้เอื้อที่สุดต่อการภาวนา แต่ในชีวิตประจำวันเราต้องฉลาด เราต้องเก่งในการปรับการปฏิบัติให้เหมาะสมกับบริบท กับสิ่งแวดล้อม กับภาระหน้าที่ของเรา โดยถือหลักสัมมาวายามะ...
Published 05/03/22
คนดีในความหมายของพุทธศาสนาคืออะไร? ที่จริงแล้วไม่ค่อยอยากใช้คำว่า 'คนดี' เพราะว่า 'ความดี' ก็มีเกิดขึ้น ดับไป วันหนึ่งหลายครั้ง อาจจะมี 'ความไม่ดี' เกิดขึ้น ดับไป วันหนึ่งหลายครั้ง ในแต่ละคน เพราะฉะนั้นอาจจะบอกว่า ชาวพุทธเราพยายามให้มีความดีมากขึ้นๆ ให้ความไม่ดีน้อยลงๆ อย่างไรก็ตามคำว่า 'ดี' จะเข้าใจความหมาย ในเมื่อโยงไปถึงสิ่งที่เราถือว่าดีที่สุด มันอาจจะสับสนเหมือนอย่างที่เขาบอกว่า ทุกศาสนาหรือว่าทุกลัทธิสอนให้เราดี นี่มันแปลว่าอะไร มันคืออะไร เพราะว่าในความดีของแต่ละลัทธิแต่ละศาสนา...
Published 04/12/22
อานิสงส์ของศีล ๘ คืออะไร? อานิสงส์แปลว่า ข้อดี หรือว่าประโยชน์ ถ้าเราเปรียบเทียบระหว่างศีล ๕ ศีล ๘ จะสังเกตว่า ศีล ๕ เกี่ยวกับความดีความชั่วโดยตรง ศีล ๘ นี่ท่านเพิ่มจาก ๕ เป็น ๘ โดยเปลี่ยนข้อ ๓ เป็น อพฺรหฺมจริยา นั้น ก็ไม่ได้มุ่งที่จะป้องกันความชั่วโดยตรง อย่างเช่น การทานอาหารหลังเที่ยง ก็ไม่ได้เกี่ยวกับความดีความชั่ว แต่เหตุผลของการเพิ่มจากศีล ๕ เป็น ศีล ๘ ก็เพื่อเอื้อต่อการภาวนา เอื้อต่อการปฏิบัติ เพราะเป็นศีลของผู้ออกจากเรือน ฉะนั้นเราถือว่าเราเป็น อนาคาริก อนาคาริกา...
Published 03/08/22
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าคำสอนของพระพุทธเจ้ามีผลจริง? เริ่มด้วยพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ที่เรามีโอกาสได้กราบ ได้ไหว้ ได้สนทนาด้วย หรือได้ฟังธรรมด้วย เมื่อเราได้สังเกตท่านนานๆ แล้วรู้สึกว่า โอ้...ถ้าเปรียบเทียบกับคนธรรมดานี่ ความโลภ ความเห็นแก่ตัว ความโกรธ ความแค้น ทำไมแทบจะมองไม่เห็นหรือไม่เห็นเลย แล้วสิ่งดีงามทั้งหลายเห็นในตัวท่านนี่เยอะ แล้วท่านก็ยืนยันว่า ที่ท่านเป็นอย่างนี้มันไม่ใช่ว่าเกิดมาอย่างนี้ เกิดมาเพราะท่านปฏิบัติธรรม อันนี้ก็ท่านเป็นตัวอย่างเป็นพยาน...
Published 02/01/22
‘ปฏิบัติธรรม’ หมายถึงอะไร? คำว่า 'ธรรม' หรือ 'ธรรมะ' มีความหมายหลายนัยเหมือนกัน ฉะนั้นการปฏิบัติธรรมก็คือ ธรรมที่เราได้เรียนมาได้ศึกษามาแล้ว ก็เป็นแค่ความทรงจำ พอเราได้อ่าน ได้ฟัง ได้เรียนแล้ว ต้องนำไปปฏิบัติ พอเป็นการนำไปปฏิบัติ คำสั่งสอนในทางการพัฒนาชีวิตของพระพุทธเจ้า นี่ก็เป็นการปฏิบัติธรรม แต่ธรรมก็ยังมีความหมายที่เรียกได้ว่ากว้างที่สุด คือคำว่า 'ธรรม' แปลว่า 'สิ่ง' ธรรมทั้งหลายคือสิ่งทั้งหลาย ถ้ามองในแง่นี้ การปฏิบัติธรรมคือการปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลาย ในทางที่ดีที่สุดหรือทางที่ถูกต้อง...
Published 01/11/22
หากเราชอบคิดวนเวียนเรื่องในอดีตอยู่เรื่อยๆ มีความทุกข์มากแต่ไม่รู้จะแก้ไขอย่างไร เราควรทำอย่างไร? อดีตทั้งหมดเดี๋ยวนี้ก็เป็นแค่สัญญา ความจำ ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปในปัจจุบัน เราก็ต้องพยายามมีสติอยู่ในปัจจุบัน แล้วให้รู้เท่าทันอดีตว่าสักแต่ว่า ความจำ ทีนี้ถ้าจิตใจเราไปปรุงแต่งในความทรงจำ โดยเฉพาะในสิ่งที่กระตุ้นให้รู้สึกละอายใจ หรือว่าเดือดร้อนใจ หรือว่าทุกข์ใจ ก็เป็นการเบียดเบียนตัวเองโดยเปล่าประโยชน์ พระพุทธองค์จึงตรัสไว้ว่า บัณฑิตเป็นผู้ไม่เบียดเบียนตน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น...
Published 12/07/21
พระพุทธเจ้าสอนอะไรในเรื่องการเมืองบ้าง? ในสมัยพุทธกาล ในมัชฌิมาประเทศก็มีระบบการปกครองที่หลากหลาย มีการปกครองด้วยพระมหากษัตริย์เสียส่วนใหญ่ สาธารณรัฐก็เริ่มมีในสมัยนั้น และที่น่าสังเกตคือพระพุทธองค์จะไม่เคยบอกว่า ระบบการปกครองอย่างนี้แหละถูกต้อง อย่างนี้ไม่ถูกต้อง แต่ถ้าพระพุทธองค์เข้าไปในประเทศที่ปกครองด้วยพระมหากษัตริย์ พระองค์ก็จะสอนว่า ในเมื่อมีคนพอใจกับระบบอย่างนี้ ทำอย่างไรถึงจะให้มันดีที่สุด ให้มันสอดคล้องที่สุดกับหลักธรรม ถ้าเข้าไปในประเทศของพวกวัชชี (Vajji) ที่เป็นสาธารณรัฐ...
Published 11/02/21
หากนั่งสมาธิแล้วปวดขา ปวดหลัง ควรทำอย่างไรให้ไม่ปวด หรือควรอดทนกับการปวด? ถ้าเราไม่เคยนั่งขัดสมาธิมาก่อน หรือนานๆ นั่งที หรือว่านั่งแต่ละครั้งไม่กี่วินาที หรือไม่กี่นาที ก็คงจะต้องเจอความปวดหลัง ปวดเอว ปวดขา เป็นธรรมดา ที่จริงการนั่งสมาธิก็ไม่ใช่เพื่อจะไม่รู้สึกอะไร แต่เพื่อจะมีสติรู้เท่าทัน ฉะนั้นการศึกษาเรื่องเวทนา ทุกขเวทนา และการวางใจอย่างไรจึงจะไม่ทุกข์กับทุกขเวทนา ให้เป็นสักแต่ว่าเรื่องของกาย ไม่เข้าถึงจิตใจ อันนี้ก็เรียกว่าเป็นวิชาอันหนึ่งที่นักปฏิบัติธรรมจะต้องสนใจศึกษา...
Published 10/05/21
พอพูดถึงพุทธศาสนามักจะได้ยินเรื่องความทุกข์บ่อยๆ อยากรู้ว่าแล้วในแง่ความสุข พุทธศาสนามองความสุขอย่างไร? ที่จริงก็ไม่ใช่ว่าไม่กล่าวถึง ที่จริงคำว่าทุกข์เราอาจจะแปลได้ว่า ภาวะที่ขาดความสุขที่แท้จริง เดี๋ยวหลายคนบอกว่าไม่เห็นมีความทุกข์อะไร ถ้าเราแปลอย่างนี้ก็ตอบเขาได้ว่า อ้าว...แสดงว่าคุณเข้าถึงความสุขที่แท้จริงแล้วเหรอ ไม่ เขามีความสุขแบบกระท่อนกระแท่น ความสุขผิวเผิน แต่พุทธองค์ก็ตรัสไว้ว่า ความสุขมีหลายประเภท หลายระดับ แล้วความสุขที่เกิดขึ้นโดยสัญชาตญาณที่เรียกว่า กามสุข ความสุขทางเนื้อหนัง...
Published 09/07/21
การใช้ชีวิตฆราวาสให้พอดี ควรมีหลักอย่างไร? ถึงแม้ว่าคำว่า ‘พอดี’ เป็นคำธรรมดา ที่ทุกคนรู้จักตั้งแต่เด็ก ก็ยังเป็นคำที่มีความหมายค่อนข้างจะลึกซึ้ง เพราะไม่ว่าในบริบทไหน ก่อนจะกำหนดความพอดี เราต้องตอบคำถามว่า ‘พอดีเพื่ออะไร’ ก็จะต้องมีจุดหมายปลายทางที่ชัดเจน แล้วจึงจะได้ประเมินว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่ พอดีหรือเอื้อที่สุดต่อการเข้าถึงสิ่งนั้น บางทีคำว่าพอดีอาจจะแปลภาษาอังกฤษว่า ‘optimum’ ก็ได้ อย่างเศรษฐกิจพอเพียง อาตมาก็เคยแปลเป็น optimum economy ไม่ใช่ sufficiency economy ฉะนั้นในชีวิตฆราวาส...
Published 08/03/21
ทำอย่างไรเราถึงจะเป็นกำลังใจและที่ปรึกษาที่ดีให้กับคนรอบข้างได้? ทางพระพุทธศาสนาของเรา เราถือว่าการสร้างประโยชน์ตน สร้างประโยชน์ท่านต้องพร้อมๆ กัน คือควบคู่กันไป เพราะฉะนั้นเราก็ต้องฝึกให้จิตใจตัวเองมีสติ มีกำลัง แล้วจิตใจไม่หวั่นไหวต่อเสียงสรรเสริญนินทา เป็นต้น เป็นผู้ที่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ ในเมื่อเข้าถึงสภาพวิกฤติหรือว่าคนรอบข้างมีอารมณ์กัน เราก็ต้องเป็นคนที่ไม่มีอารมณ์กับเขา เราจึงจะเป็นที่ปรึกษาเขาได้ อย่างเช่น พระสงฆ์ก็สามารถเป็นที่พึ่ง เป็นที่ปรึกษา ของญาติโยมได้ ทั้งๆ...
Published 07/06/21
เราจะระงับความโกรธได้อย่างไร? ถ้าเราโกรธแล้วแสดงออกทางกาย ทางวาจา เราอาจจะรู้สึกดีสักพักหนึ่ง รู้สึกสะใจ แต่ว่าผลก็คือ ความโกรธในจิตใจของเราจะเพิ่มมากขึ้นแล้วจะทำให้เรายับยั้งชั่งใจต่อไปยากขึ้น ในเบื้องต้นสิ่งแรกก่อนอื่น ก็ต้องงดเว้นจากการแสดงออกทางกาย ทางวาจา ไม่เบียดเบียนใครด้วยกาย วาจา เพราะความโกรธ แต่นั่นก็เป็นการปฏิบัติธรรมขั้นศีล แต่มีประโยชน์มาก เพราะคนเราจะตกนรก ไม่ใช่ตกนรกเพราะอารมณ์ในจิตใจ ตกนรกเพราะกาย วาจา ฉะนั้นถ้าเราระงับโกรธได้เฉพาะ กาย วาจา...
Published 06/01/21
ภาวนามีความหมายจริงๆ ว่าอย่างไร? ภาวนา แปลตามรากศัพท์ว่า ทำให้มีขึ้น หรือว่าแปลอีกแง่หนึ่ง คือ พัฒนา ทำให้ดีขึ้น เพราะฉะนั้น การภาวนาก็คือการพัฒนาทางกาย ทางวาจา ทางใจ ทีนี้ชีวิตประจำวันสิ่งแวดล้อมไม่ค่อยจะเอื้อต่อการภาวนา มีสิ่งกดดัน มีสิ่งยั่วยุสารพัดอย่าง แต่เมื่อเราแบ่งเวลาให้การนั่งขัดสมาธิ หลับตา เจริญสติกับลมหายใจ หรือการเดินจงกรม ก็คือเป็นเวลาที่เราให้กับการภาวนา หรือการพัฒนาชีวิตโดยตรง เราพัก เรางด จากเรื่องอื่นทั้งหลายชั่วคราว เพื่อมุ่งต่อการภาวนา ต่อการพัฒนาชีวิตอย่างเดียว...
Published 05/04/21
ทำอย่างไรถึงจะเป็นการตอบแทนบุญคุณของคุณพ่อคุณแม่ที่ดีที่สุด? นอกเหนือจากการดูแล การปรนนิบัติ การรักษาในยามเจ็บไข้ได้ป่วยอะไรทำนองนี้ ที่ว่าเป็นการตอบแทนสามัญ สิ่งที่สูงสุดก็อยู่ที่จิตใจ เพราะว่าพระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า สิ่งสูงสุดของมนุษย์คือการพ้นจากทุกข์ทั้งปวง แล้วคุณธรรมประจำพระอริยเจ้ามี ๔ ข้อ คือ ศรัทธา ศีล จาคะ คือความใจบุญ ใจดี ใจเสียสละ และปัญญา และ ๔ ข้อนี้ยังเป็นคุณธรรมประจำจิตประจำใจของเทวดาด้วย เพราะฉะนั้นถ้าเรามีส่วนช่วยให้พ่อแม่ที่เป็นผู้ไม่มีศรัทธาเกิดมีศรัทธา...
Published 04/06/21
การเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีควรเป็นอย่างไร? เราเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี เราต้องสนใจศึกษาว่า พระพุทธเจ้าสอนอะไรบ้าง เราก็ต้องนำไปใช้ นำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เพื่อตัวเราด้วย เพื่อครอบครัวเราด้วย เพื่อชุมชน สังคม ประเทศชาติด้วย ในการนำคำสอนพระพุทธเจ้าไปประยุกต์ใช้หรือการปฏิบัติ เราก็จะเน้นใน ๓ หัวข้อใหญ่ ก็คือ ทาน ศีล ภาวนา ทาน ก็ไม่ใช่วัตถุอย่างเดียว ทาน นี่ก็คือมีอะไรที่ดี ที่เป็นประโยชน์แก่คนอื่นได้ เราก็แบ่งปันไม่เก็บไว้ใช้คนเดียว ไม่มีโอกาสใส่บาตรนั้นก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่ได้ทำทาน...
Published 03/02/21
ในทุกๆ เช้าที่ตื่นขึ้นมา เราควรเริ่มต้นวันใหม่อย่างไรให้ชีวิตดำเนินไปในทางที่ถูกที่ควร? เดี๋ยวขอถอยหลังก่อน ว่าก่อนนอน... ก่อนนอนนี่ต้องตั้งใจว่า พรุ่งนี้เช้าตื่นขึ้นมาเมื่อไรต้องลุกขึ้นทันที ไม่นอนต่อ จะช่วยป้องกันความขี้เกียจขี้คร้านตอนเช้า ตื่นเช้าแล้ว ถ้าใช้โทรศัพท์มือถือเป็นนาฬิกาปลุก ห้ามเช็คไลน์ ไม่ต้อง เอาทีหลัง ตื่นขึ้นมานี่จิตใจอยู่ในสภาพที่ปลอดโปร่งพอสมควร ไม่น่าจะมีความฟุ้งซ่านวุ่นวายอยู่ในสมองแต่เช้า ฉะนั้นเป็นโอกาสที่ดีที่เราจะได้ภาวนา ที่เราจะได้เจริญสติในรูปแบบ...
Published 02/02/21
ทำไมเราต้องทำบุญ? ไม่ทำก็ได้ แล้วแต่ การทำบุญคือการชำระจิตใจ การทำให้จิตใจสูงขึ้น แล้วเมื่อจิตใจสูงขึ้นก็ย่อมมีความสุข เพราะฉะนั้นบุญก็คือชื่อของความสุข แต่ในภาษาไทยคำว่า ‘ทำบุญ’ มักจะหมายถึงการไปถวายของที่วัด แต่ที่จริงบุญเกิดได้ด้วยการให้ทาน หนึ่ง ด้วยการรักษาศีล หนึ่ง และด้วยการภาวนา เพราะฉะนั้น การรักษาศีลห้าก็ถือว่าเป็นการทำบุญ เพราะเป็นการทำให้บุญเกิดขึ้น ทำให้จิตใจเป็นบุญ ทำให้จิตใจสะอาดขึ้น สูงขึ้น มีความสุขมากขึ้น และการภาวนาก็คือการฝึกเพื่อระงับสิ่งเศร้าหมองในจิตใจ...
Published 12/08/20
หลายๆ ครั้งเรามักคิดว่าคนอื่นไม่เข้าใจเรา และน่าจะเข้าใจเรามากกว่านี้ มีวิธีจัดการกับความคิดแบบนี้อย่างไร? ก็ต้องยอมรับว่าบางทีเราก็น้อยใจเขาว่าเขาไม่เข้าใจเรา แต่ตัวเราก็ยังเข้าใจตัวเราก็ไม่ได้เหมือนกัน แล้วเราจะไปหวังอะไรกับคนอื่น แล้วบางทีเขาอาจจะเห็นบางสิ่งบางอย่างในตัวเราที่เราไม่เห็นก็ได้ อาจจะเป็นจุดบอดของเราก็ได้ อย่าด่วนสรุปว่า เขาเข้าใจเราผิด แต่ดูว่าที่เขามองเรานี่ด้วยเหตุปัจจัยอะไร ทำไมเข้าจึงคิดอย่างนั้น ทีนี้บางคนก็ยังมีนิสัยใจคอไม่ค่อยอยากจะเปิดเผยความรู้สึกภายในใจ...
Published 10/20/20
ถ้าเราไม่ค่อยได้มีโอกาสได้ไปวัด เราสามารถปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง? การปฏิบัติธรรมที่วัดก็ไม่ถึงกับจำเป็นทีเดียว แต่มันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติ คือไปวัด ยิ่งถ้าไปวัดต่างจังหวัดหรือว่าเป็นวัดในป่าอย่างนี้ ก็จะเป็นการออกจากสิ่งแวดล้อมที่คุ้นเคย ถ้าอยู่ที่บ้านสิ่งแวดล้อม ทุกสิ่งรอบๆ ข้างนี่ก็ได้แต่กระตุ้นกิเลสมากกว่ากระตุ้นกุศลธรรม แล้วมันจะทำให้จิตใจเราตกร่องได้ง่าย การที่จะงดจากการใช้โทรศัพท์ใช้อะไรนี่มันยาก เพราะฉะนั้นที่เราออกเป็นบางครั้งบางคราว...
Published 09/08/20
ทำไมพระพุทธเจ้าจึงเปรียบเทียบจิตใจของมนุษย์กับลิง? ก็ดูลักษณะของลิงแทบจะไม่นิ่งเลย กระโดดโลดเต้นอยู่ตลอดเวลา แล้วก็วิ่งไปวิ่งมา ดูเหมือนกับไม่มีจุดหมายปลายทาง ไม่มีจุดประสงค์อะไรที่ชัดเจน คือเคลื่อนไหวเพื่อเคลื่อนไหว ไม่ใช่เคลื่อนไหวเพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากจะกินอะไรซักอย่าง ฉะนั้นจิตใจของมนุษย์ที่ขาดการฝึกอบรมก็เป็นอย่างนี้ พระพุทธองค์ก็เปรียบเทียบพฤติกรรมหรือว่า นิสัยของลิงเหมือนคนฟุ้งซ่าน คนขาดสมาธิ แล้วอีกข้อหนึ่งคือเป็นคำเปรียบเทียบของหลวงพ่อชา...
Published 08/04/20
รู้สึกโลกนี้ไม่น่าอยู่เลย สังคมก็มีปัญหามาก รู้สึกสิ้นหวัง ควรทำอย่างไรดี? สังคมมันก็เป็นอย่างนี้ตั้งแต่ไหนแต่ไรมา ทุกยุคทุกสมัย เราไม่ได้เกิดโดยบังเอิญ ไม่ได้ถูกบังคับให้มาเกิด เราเลือกมาเกิดที่นี่ เลือกมาเกิดเป็นมนุษย์แล้ว สังคมไม่น่าอยู่ก็พยายามทำให้สังคมดีขึ้นสิ อย่างน้อยสังคมรอบข้าง ครอบครัว ญาติมิตร เพื่อนฝูง คนรอบข้าง ให้เรามีส่วนในการทำให้โลกที่ไม่ค่อยน่าอยู่ น่าอยู่มากขึ้น ถ้าเราสิ้นหวัง นั่นก็เป็นแค่ความคิดที่เกิดขึ้นเป็นครั้งเป็นคราว...
Published 06/02/20
ทำบุญอย่างไรให้โชคดีถูกหวยบ้าง? ถ้าทำบุญอยากได้ มันก็ไม่เป็นบุญ เพราะว่าบุญคือเรื่องการชำระสันดาน ชำระจิตใจ ถ้าทำบุญมีเงื่อนไข ไม่ใช่การทำบุญ ก็เป็นการแลกเปลี่ยน แล้วก็ให้โดยหวังว่าจะได้อะไรเป็นเครื่องตอบแทน ฉะนั้นถ้าสนใจเรื่องการได้เลข แล้วก็ไปฟังเทศน์เพื่อจะได้เลข ก็คงไม่ได้ธรรมะอะไรเท่าไร แล้วจิตใจมันก็จะเป็นบาปมากกว่าบุญ ทีนี้การที่เราจะถูกลอตเตอรี่ได้เงินได้ทองนั้น จะนำไปสู่ความสุขจริงหรือเปล่า ถ้าคนเราไม่รักษาศีล คนเราไม่รู้จักบริหารอารมณ์ตัวเอง ถึงจะได้เงินได้ทองแล้ว...
Published 03/03/20
ในชีวิตประจำวันที่ค่อนข้างจะยุ่งวุ่นวาย เราควรทำใจอย่างไรให้ใจสบายได้ตลอดทั้งวัน? การเริ่มต้นวันใหม่ด้วยการทำวัตร สวดมนต์ นั่งสมาธิ เป็นการเตรียมใจ เพื่อจะได้ดำเนินชีวิตในแต่ละวันด้วยจิตใจที่ไม่หวั่นไหว ไม่วุ่นวาย ไม่ฟุ้งซ่านจนเกินไป แต่ในชีวิตประจำวันเอง เราก็ต้องพยายามมีสติในทุกอิริยาบถในทุกเรื่อง สติต้องมีตลอด แตว่าเครื่องระลึกของสติ หมายถึงว่า เราจะมีสติกับอะไรบ้าง คือต้องเปลี่ยนให้เหมาะสม อย่างเช่น เวลาอยู่คนเดียวอาจจะมีสติกับการเคลื่อนไหว เวลาเราขับรถไปที่ทำงาน...
Published 02/04/20